คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 406

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่อาจอ้างความสุจริตได้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 2 จึงหมดอำนาจที่จะจัดการหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินแก่ผู้คัดค้านในวันที่29 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจดทะเบียนจำนองจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 แก่ผู้คัดค้านจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่าก. คือ จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ แม้ผู้รับจำนองจะสุจริต
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 2 จึงหมดอำนาจที่จะจัดการหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินแก่ผู้คัดค้านในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจดทะเบียนจำนองจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 24 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 แก่ผู้คัดค้านจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่า ก.คือ ร. จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้
เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมายที่ดิน สัญญาเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันจึงบังคับไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ดังนั้นการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยภายในกำหนดเวลาห้ามโอนเป็นการกระทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมาหลังจากทำสัญญาแล้วจะได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ใช้บังคับอยู่เดิมมิให้ใช้บังคับกับที่ดินในกรณีเช่นคดีนี้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่อาจบังคับได้เพราะสัญญาจำนองจะมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 707ประกอบด้วย มาตรา 681 ดังนั้น จึงไม่อาจบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจำนองได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับจำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้วเป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ตามคำให้การของจำเลยด้วย คดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง สัญญาจำนองที่ผูกพันกับสัญญาจะซื้อจะขายก็ไม่อาจบังคับได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้ภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ดังนั้นการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยภายในกำหนดเวลาห้ามโอนเป็นการกระทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมาหลังจากทำสัญญาแล้วจะได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้บังคับอยู่เดิมมิให้ใช้บังคับกับที่ดินในกรณีเช่นคดีนี้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก ดังนั้นเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่อาจบังคับได้เพราะสัญญาจำนองจะมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 707 ประกอบด้วย มาตรา 681 ดังนั้น จึงไม่อาจบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจำนองได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ จึงต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์
แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว เป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ ตามคำให้การของจำเลยด้วยคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8108/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินที่ชำระไป
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3)และตามมาตรา 1305 บัญญัติไว้ว่าจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกา จึงไม่อาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับ อ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้น สามารถซื้อขายและโอนกันได้โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณ-สมบัติของแผ่นดินซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และ อ.เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 119 เดิม ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ ขึ้น คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกันนั่นเอง จึงไม่มีกรณีการรอนสิทธิและการส่งมอบทรัพย์สินขาดตก-บกพร่อง แต่อย่างไรก็ตามเงินราคาที่ดินพิพาทที่ อ.รับไปจากโจทก์ทั้งสองเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของอ.จึงต้องคืนเงินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะแล้วถือเสมือนไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากฝ่ายจำเลยโดยอ้างผลแห่งการผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8108/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินที่ชำระไป
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) และตามมาตรา1305 บัญญัติไว้ว่าจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกา จึงไม่อาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับ อ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้น สามารถซื้อขายและโอนกันได้โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และ อ. เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิมย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ ขึ้น คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกันนั่นเอง จึงไม่มีกรณีการรอนสิทธิและการส่งมอบทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง แต่อย่างไรก็ตามเงินราคาที่ดินพิพาทที่ อ.รับไปจากโจทก์ทั้งสองเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ อ.จึงต้องคืนเงินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะแล้วถือเสมือนไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากฝ่ายจำเลยโดยอ้างผลแห่งการผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมกู้ยืมเงินผ่านตัวกลางเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดทางกฎหมายบริษัทเงินทุน ผู้รับเงินต้องคืน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัทภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟ้องซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา8แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522พ.ศ.2526แต่จำเลยที่1และบริษัทภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่1แล้วนำเงินไปให้บริษัทภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่งโดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงินกล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่1และบริษัทก.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกันและดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ1ให้ผู้คัดค้านทั้งแปดแล้วจำเลยที่1ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่1ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใดๆจากผู้คัดค้านทั้งแปดแม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทภ.ไม่ได้เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่1จำเลยที่1ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่1และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่1ได้อีกซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35ที่แก้ไขใหม่อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการกระทำทั้งหลายของจำเลยที่1ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัทภ.จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150นิติกรรมที่จำเลยที่1อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ต่อผู้คัดค้านที่1และที่จำเลยที่1ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใดๆให้ผู้คัดค้านที่2ถึงที่8ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอนและต้องถือว่าบริษัทภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่1ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่1เสียเปรียบซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่1หาใช้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่1แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงกฎหมายธุรกิจเงินทุนโดยใช้ตัวกลางและอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทำให้โมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัท ภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522มาตรา 35 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แต่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำเงินไปให้บริษัท ภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่ง โดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกัน และดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 1 ให้ผู้คัดค้านทั้งแปด แล้วจำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่ 1 ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากผู้คัดค้านทั้งแปด แม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัท ภ.ไม่ได้ เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1จำเลยที่ 1 ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 35 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัท ภ.จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ต่อผู้คัดค้านที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใด ๆให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอน และต้องถือว่าบริษัท ภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่ 1 หาใช่เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะ: สิทธิเรียกร้องทรัพย์สินพิจารณาจากลาภมิควรได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม คู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของสัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องนอกเหนือจากคืนสู่ฐานะเดิม พิจารณาตามลาภมิควรได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมคู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่ง
of 45