คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 419

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยสำคัญผิด, ฟ้องซ้ำ, อายุความ และสิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คดีก่อนโจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันและได้ใช้หนี้แทนจำเลยไป แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลย โดยสำคัญผิดว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระแทน โดยอาศัยหลักลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นการอาศัยเหตุต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เพิ่งจะรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลพิพากษาในคดีก่อนว่าสัญญาที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยนั้นไม่ผูกพันโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีก่อน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2492)
การชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 นั้น ต้องถือหลักว่ารู้หรือไม่รู้ตามความรู้เห็นของผู้ชำระเป็นประมาณ ไม่ถือเอาผลในกฎหมายว่ามีความผูกพันกันอยู่จริงหรือไม่เป็นเกณฑ์ เพียงแต่ผู้ชำระสำคัญผิดว่าตนมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้นั้น แม้ตามกฎหมายผู้ชำระจะไม่ต้องผูกพันก็จะถือว่าผู้ชำระรู้อยู่แล้วไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไปโดยสำคัญผิด โจทก์ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 409

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ, อายุความ, และการชำระหนี้โดยสำคัญผิด: สิทธิไล่เบี้ยตามลาภมิควรได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันและได้ใช้หนี้แทนจำเลยไป แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยโดยสำคัญผิดว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระแทนโดยอาศัยหลักลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นการอาศัยเหตุต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เพิ่งจะรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลพิพากษาในคดีก่อนว่าสัญญาที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยนั้นไม่ผูกพันโจทก์ อายุความ 1 ปีจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีก่อน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2492)
การชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407นั้น ต้องถือหลักว่ารู้หรือไม่รู้ตามความรู้เห็นของผู้ชำระเป็นประมาณ ไม่ถือเอาผลในกฎหมายว่ามีความผูกพันกันอยู่จริงหรือไม่เป็นเกณฑ์ เพียงแต่ผู้ชำระสำคัญผิดว่าตนมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้นั้น แม้ตามกฎหมายผู้ชำระจะไม่ต้องผูกพันก็จะถือว่าผู้ชำระรู้อยู่แล้วไม่ได้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไปโดยสำคัญผิด โจทก์ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 409

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี, อายุความลาภมิควรได้, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศนำเขามาในราชอาณาจักร และได้ชำระราคาการค้าตามที่จำเลยได้เรียกเก็บให้แก่กรมศุลกากร ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนี้การกระทำของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรแม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนจำเลยก็ไม่ใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างฎีกา 869/2520)
โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและต่อสู้ด้วยว่าคดีขาดอายุความ ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน โจทก์อุทธรณ์ในประเด็นนี้ขึ้นมา ดังนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยได้ มิใช่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยรับชำระไปจากโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้ และจำเลยก็ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฉะนั้นการฟ้องเรียกภาษีดังกล่าวคืน จึงมิใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (อ้างฎีกาที่ 869/2520 และ 1164/2520)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาต่อมาตาม มาตรา 227, 247 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 ข คือเรื่องละ 50 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ซึ่งเกินไป เมื่อศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ซื้อขาย vs. จ้างทำของ และสิทธิคืนภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์จำหน่ายรองเท้าโดยผลิตเองบ้าง สั่งซื้อรองเท้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศบ้าง และสั่งทำจากร้านต่าง ๆ ในประเทศบ้าง นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าสำหรับรองเท้าที่ทำในประเทศ จะเข้าลักษณะสัญญาประเภทใด ก็ย่อมต้องดูเจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกัน เมื่อได้ความว่าโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าตกลงกันเป็นเรื่องซื้อขายและปรากฏด้วยว่าผู้ทำรองเท้าเหล่านั้นได้ยื่นรายรับแสดงการชำระภาษีการค้า ในฐานะผู้ผลิตต่อกรมสรรพากร และชำระค่าภาษีไปแล้ว จึงสนับสนุนให้เห็นเจตนาของโจทก์กับร้านเหล่านั้นว่ามุ่งที่จะก่อนิติสัมพันธ์กันในทางซื้อขาย มิใช่เรื่องเจตนาจ้างทำของ ส่วนที่มีข้อตกลงให้ร้านผู้ทำรองเท้าต้องทำรองเท้าตามชนิดขนาด ลักษณะ แบบ และวัสดุที่โจทก์กำหนด จะผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้อื่นไม่ได้ ร้านผู้ทำร้องเท้าต้องประทับตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์บนรองเท้า และหีบห่อและต้องยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจการผลิตรองเท้า ก็เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาซื้อขายอาจตกลงกำหนดเป็นข้อบังคับกันได้ ตามพาณิชโยบายของทั้งสองฝ่าย หาทำให้เจตนาของคู่สัญญาแปรเปลี่ยนไปไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อรองเท้าดังกล่าว ไม่ใช่ผู้ผลิต โจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตรองเท้านั้น
การที่กรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์ และโจทก์ได้ทำไปตามการประเมินนั้น ไม่ใช่เรื่องกรมสรรพากรได้ทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจำอ้างกฎหมายได้ กรณีไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 และ เมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ถ้าหากกรมสรรพากรไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมาย ก็ต้องคืนให้โจทก์โดยเฉพาะคดีนี้ กรมสรรพากรเคยยอมคืนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้โจทก์แล้ว โดยมอบให้หักเอาจากเงินค่าภาษี ที่โจทก์ต้องชำระแก่กรมสรรพากร ดังนี้ กรมสรรพากรจะอ้างว่าได้ครอบครองเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไปอย่างเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น ย่อมรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: สัญญาซื้อขาย vs. จ้างทำของ และสิทธิในการอุทธรณ์การประเมินภาษี
โจทก์จำหน่ายรองเท้าโดยผลิตเองบ้าง สั่งซื้อรองเท้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศบ้าง และสั่งทำจากร้านต่างๆ ในประเทศบ้างนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าสำหรับรองเท้าที่ทำในประเทศจะเข้าลักษณะสัญญาประเภทใด ก็ย่อมต้องดูเจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกัน เมื่อได้ความว่าโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าตกลงกันเป็นเรื่องซื้อขายและปรากฏด้วยว่าผู้ทำรองเท้าเหล่านั้นได้ยื่นรายรับแสดงการชำระภาษีการค้า ในฐานะผู้ผลิตต่อกรมสรรพากร และชำระค่าภาษีไปแล้วจึงสนับสนุนให้เห็นเจตนาของโจทก์กับร้านเหล่านั้นว่ามุ่งที่จะก่อนิติสัมพันธ์กันในทางซื้อขาย มิใช่เรื่องเจตนาจ้างทำของ ส่วนที่มีข้อตกลงให้ร้านผู้ทำรองเท้าต้องทำรองเท้าตามชนิดขนาด ลักษณะ แบบ และวัสดุที่โจทก์กำหนดจะผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้อื่นไม่ได้ ร้านผู้ทำรองเท้าต้องประทับตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์บนรองเท้า และหีบห่อและต้องยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจการผลิตรองเท้าก็เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาซื้อขายอาจตกลงกำหนดเป็นข้อบังคับกันได้ ตามพาณิชโยบายของทั้งสองฝ่ายหาทำให้เจตนาของคู่สัญญาแปรเปลี่ยนไปไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อรองเท้าดังกล่าวไม่ใช่ผู้ผลิตโจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตรองเท้านั้น
การที่กรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์และโจทก์ได้ชำระไปตามการประเมินนั้น ไม่ใช่เรื่องกรมสรรพากรได้ทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ กรณีไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 และเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ถูกต้องถ้าหากกรมสรรพากรไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมายก็ต้องคืนให้โจทก์โดยเฉพาะคดีนี้กรมสรรพากรเคยยอมคืนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้โจทก์แล้วโดยยอมให้หักเอาจากเงินค่าภาษี ที่โจทก์ต้องชำระแก่กรมสรรพากร ดังนี้กรมสรรพากรจะอ้างว่าได้ครอบครองเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไปอย่างเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น ย่อมรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุดิบนำเข้าเพื่อผลิตสินค้า ไม่ถือเป็นรายได้จากการค้า ไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อขาย ไม่ถือว่าโจทก์มีรายรับจากการประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เรียกคืนจากกรมสรรพากรได้ ไม่ใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระเกินเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามกฎหมาย
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่างๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่างๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบนำเข้าที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่ากรณีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีที่ชำระโดยมิชอบ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของผู้ประกอบการ
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจกท์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน สิทธิเรียกร้องไม่เป็นลาภมิควรได้ และการประเมินภาษี
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรการที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจทก์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลักจึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้นกรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
of 22