พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การยินยอมและผลผูกพันตามระเบียบธนาคาร
เอกสารหมาย จ.73 มีข้อความตอนต้นทางด้านหน้าว่า'แบบขอเปิดบัญชีฝากกระแสรายวัน' แต่มีข้อความตอนท้ายของด้านเดียวกันว่า ฯลฯ ข้าพเจ้า(จำเลย)ได้ทราบระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารไทยพัฒนา จำกัด (โจทก์) ตามที่ระบุไว้ด้านหลังของแบบขอเปิดบัญชีและคำเตือนในสมุดเช็คแล้ว และตกลงรับที่จะปฏิบัติและยอมเข้าผูกพันตามระเบียบการดังกล่าวโดยตลอดฯลฯ' และมีข้อความในระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 11 ซึ่งอยู่ด้านหลังของเอกสารดังกล่าวว่า' ... ถ้าทางธนาคาร(โจทก์) ได้อนุมัติให้จ่ายตามเช็คที่สั่งจ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่คงเหลืออยู่ในบัญชี...ผู้ฝากคงตกลงยินยอมรับผิดชดใช้ให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนพร้อมด้วยดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีอีกโสดหนึ่งด้วย' กับข้อ 20 ซึ่งอยู่ในด้านเดียวกันมีข้อความว่า 'เมื่อธนาคารได้ยินยอมเปิดบัญชีเงินฝากให้ผู้ฝากรายใดตามที่ขอมาแล้ว. เป็นอันถือว่าผู้ฝากรายนั้นได้ยอมรับปฏิบัติตามระเบียบการนี้โดยทุกประการ' จำเลยลงชื่อเป็นผู้ขอเปิดบัญชีในตอนท้ายของด้านหน้าแห่งเอกสารนี้ซึ่งมีข้อความในด้านนี้เกี่ยวข้องไปถึงข้อความทางด้านหลัง โดยใช้ข้อความว่า 'ข้าพเจ้าได้ทราบระเบียบการ ฯลฯตามที่ระบุไว้ด้านหลัง ฯลฯ ดีแล้ว และตกลงที่จะปฏิบัติและยอมเข้าผูกพันตามระเบียบดังกล่าวโดยตลอด ฯลฯ' แล้วมีข้อความที่ผู้ฝากตกลงยินยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ธนาคารอนุมัติให้จ่ายตามเช็คที่สั่งจ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่คงเหลือในบัญชีทั้งยอมปฏิบัติตามระเบียบด้านหลังเอกสารดังกล่าวเมื่อมีการตกลงกันเช่นนี้ เรียกได้ว่าเอกสารหมาย จ.73 เป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลย ซึ่งโจทก์จำเลยต้องผูกพัน เมื่อจำเลยรับว่าเบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงิน 99,531.03 บาท ไปจากธนาคารโจทก์ และจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 15ต่อปีนับแต่วันฟ้อง จำเลยก็ต้องรับผิดชำระเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การยินยอมผูกพันตามระเบียบธนาคารที่ระบุในเอกสารเปิดบัญชี
เอกสารหมาย จ.73 มีข้อความตอนต้นทางด้านหน้าว่า'แบบขอเปิดบัญชีฝากกระแสรายวัน' แต่มีข้อความตอนท้ายของด้านเดียวกันว่า ฯลฯ ข้าพเจ้า(จำเลย)ได้ทราบระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารไทยพัฒนา จำกัด (โจทก์) ตามที่ระบุไว้ด้านหลังของแบบขอเปิดบัญชีและคำเตือนในสมุดเช็คแล้วและตกลงรับที่จะปฏิบัติและยอมเข้าผูกพันตามระเบียบการดังกล่าวโดยตลอดฯลฯ' และมีข้อความในระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 11 ซึ่งอยู่ด้านหลังของเอกสารดังกล่าวว่า' ถ้าทางธนาคาร(โจทก์) ได้อนุมัติให้จ่ายตามเช็คที่สั่งจ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่คงเหลืออยู่ในบัญชีผู้ฝากคงตกลงยินยอมรับผิดชดใช้ให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนพร้อมด้วยดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีอีกโสดหนึ่งด้วย' กับข้อ 20 ซึ่งอยู่ในด้านเดียวกันมีข้อความว่า 'เมื่อธนาคารได้ยินยอมเปิดบัญชีเงินฝากให้ผู้ฝากรายใดตามที่ขอมาแล้ว เป็นอันถือว่าผู้ฝากรายนั้นได้ยอมรับปฏิบัติตามระเบียบการนี้โดยทุกประการ' จำเลยลงชื่อเป็นผู้ขอเปิดบัญชีในตอนท้ายของด้านหน้าแห่งเอกสารนี้ซึ่งมีข้อความในด้านนี้เกี่ยวข้องไปถึงข้อความทางด้านหลัง โดยใช้ข้อความว่า 'ข้าพเจ้าได้ทราบระเบียบการ ฯลฯ ตามที่ระบุไว้ด้านหลัง ฯลฯ ดีแล้ว และตกลงที่จะปฏิบัติและยอมเข้าผูกพันตามระเบียบดังกล่าวโดยตลอด ฯลฯ' แล้วมีข้อความที่ผู้ฝากตกลงยินยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ธนาคารอนุมัติให้จ่ายตามเช็คที่สั่งจ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่คงเหลือในบัญชีทั้งยอมปฏิบัติตามระเบียบด้านหลังเอกสารดังกล่าวเมื่อมีการตกลงกันเช่นนี้ เรียกได้ว่าเอกสารหมาย จ.73 เป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลย ซึ่งโจทก์จำเลยต้องผูกพันเมื่อจำเลยรับว่าเบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงิน 99,531.03 บาท ไปจากธนาคารโจทก์และจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 15ต่อปีนับแต่วันฟ้อง จำเลยก็ต้องรับผิดชำระเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การผูกพันตามระเบียบธนาคารที่ระบุในเอกสารขอเปิดบัญชี
เอกสารหมาย จ.73 มีข้อความตอนต้นทางด้านหน้าว่า.'แบบขอเปิดบัญชีฝากกระแสรายวัน' แต่มีข้อความตอนท้ายของด้านเดียวกันว่า. ฯลฯ ข้าพเจ้า(จำเลย)ได้ทราบระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารไทยพัฒนา จำกัด (โจทก์).ตามที่ระบุไว้ด้านหลังของแบบขอเปิดบัญชีและคำเตือนในสมุดเช็คแล้ว. และตกลงรับที่จะปฏิบัติและยอมเข้าผูกพันตามระเบียบการดังกล่าวโดยตลอดฯลฯ'. และมีข้อความในระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 11 ซึ่งอยู่ด้านหลังของเอกสารดังกล่าวว่า.'... ถ้าทางธนาคาร(โจทก์) ได้อนุมัติให้จ่ายตามเช็คที่สั่งจ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่คงเหลืออยู่ในบัญชี...ผู้ฝากคงตกลงยินยอมรับผิดชดใช้ให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนพร้อมด้วยดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีอีกโสดหนึ่งด้วย'. กับข้อ 20 ซึ่งอยู่ในด้านเดียวกันมีข้อความว่า 'เมื่อธนาคารได้ยินยอมเปิดบัญชีเงินฝากให้ผู้ฝากรายใดตามที่ขอมาแล้ว. เป็นอันถือว่าผู้ฝากรายนั้นได้ยอมรับปฏิบัติตามระเบียบการนี้โดยทุกประการ'. จำเลยลงชื่อเป็นผู้ขอเปิดบัญชีในตอนท้ายของด้านหน้าแห่งเอกสารนี้ซึ่งมีข้อความในด้านนี้เกี่ยวข้องไปถึงข้อความทางด้านหลัง โดยใช้ข้อความว่า 'ข้าพเจ้าได้ทราบระเบียบการ ฯลฯตามที่ระบุไว้ด้านหลัง ฯลฯ ดีแล้ว. และตกลงที่จะปฏิบัติและยอมเข้าผูกพันตามระเบียบดังกล่าวโดยตลอด ฯลฯ'. แล้วมีข้อความที่ผู้ฝากตกลงยินยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ธนาคารอนุมัติให้จ่ายตามเช็คที่สั่งจ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่คงเหลือในบัญชีทั้งยอมปฏิบัติตามระเบียบด้านหลังเอกสารดังกล่าวเมื่อมีการตกลงกันเช่นนี้. เรียกได้ว่าเอกสารหมาย จ.73 เป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลย. ซึ่งโจทก์จำเลยต้องผูกพัน. เมื่อจำเลยรับว่าเบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงิน 99,531.03 บาท ไปจากธนาคารโจทก์. และจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 15ต่อปีนับแต่วันฟ้อง. จำเลยก็ต้องรับผิดชำระเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์ตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเรือนโมฆะ ลาภมิควรได้ และอายุความฟ้องเรียกคืน
เมื่อสัญญาซื้อขายเรือนเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เงินซึ่งผู้ขายรับไว้ตามสัญญานั้นก็เป็นลาภมิควรได้ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือภายในสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเรือนโมฆะ ลาภมิควรได้ อายุความ 1 ปี
เมื่อสัญญาซื้อขายเรือนเป็นโมฆะ เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เงินซึ่งผู้ขายรับไว้ตามสัญญานั้นก็เป็นลาภมิควรได้ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องฟ้องเรียกคืน หรือภายในสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการครอบครองแทนเจ้าของเดิม: สิทธิในที่ดินหลังคำพิพากษา
พ. ฟ้อง บ. หาว่าบุกรุกที่นามือเปล่าของตน ขอให้ห้ามมิให้เกี่ยวข้อง บ. ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ.ในระหว่างพิจารณา ศาลสั่งให้ประมูลค่าเช่านาพิพาทสำหรับปีนั้น(พ.ศ.2496) ฝ่ายใดให้ค่าเช่าสูงก็จะได้ทำนา ให้นำเงินค่าเช่ามาวางศาลไว้ชำระให้ผู้ชนะคดี พ.เป็นฝ่ายประมูลได้ ได้เข้าทำนาพิพาท ปีต่อมาพ.ก็ทำนาพิพาทอีกโดยไม่ยอมประมูลค่าเช่าและเป็นฝ่ายทำนาพิพาทตลอดมา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ.2500 ซึ่งวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของ พ. พิพากษายืนให้ยกฟ้อง วันที่ 10 ตุลาคม 2503 บ. จึงร้องต่อศาลว่า พ.ยังไม่ออกจากที่พิพาท ขอให้เรียกมาว่ากล่าวพ.แถลงว่าที่พิพาทเป็นของพ. โดยทางครอบครองปรปักษ์แล้วตั้งแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลให้ บ. ทราบ ดังนี้ การที่ พ. ครอบครองที่พิพาทในระหว่างเป็นความกันอยู่ จะถือว่าครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ได้ การที่ได้เข้าครอบครองใน พ.ศ.2496 ก็โดยการประมูลทำนาได้คือ โดยความยินยอมของ บ. ค่าเช่าที่วางศาลก็เพื่อให้แก่ผู้ชนะคดี จึงถือว่าเข้าครอบครองแทนผู้ชนะคดีนั่นเอง เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องของ พ. แม้จะไม่ได้ชี้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ. แต่ พ. ก็ เถียงไม่ได้ว่า บ. ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาท เพราะผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน พ. ว่า บ. มี สิทธิในที่พิพาทดีกว่า การที่ พ. ครอบครองที่พิพาทภายหลังจากวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ก็เป็นการครอบครองสืบต่อมาจากการครอบครองในระหว่างคดี ต้องถือว่าครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดีอยู่นั่นเอง จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ในเมื่อ พ.มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือหรืออาศัยอำนาจใหม่จากบุคคลภายนอก พ. จะอ้างอายุความการแย่งการครอบครองตามมาตรา 1375 มาใช้ยัน บ.ไม่ได้ บ.มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
การที่ พ. เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ. อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิด เพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ. มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดี การที่ บ. ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ ปี พ.ศ.2497เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะการที่ พ. ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของ บ. นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปี ซึ่ง บ. ย่อมจะรู้ได้แล้วว่าผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
การที่ พ. เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ. อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิด เพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ. มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดี การที่ บ. ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ ปี พ.ศ.2497เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะการที่ พ. ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของ บ. นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปี ซึ่ง บ. ย่อมจะรู้ได้แล้วว่าผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าสมาชิกสมาคมที่มิได้จดทะเบียนชอบด้วยกฎหมาย เข้าลักษณะลาภมิควรได้
การฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จำเลยแต่ละคนเป็นกรรมการ แต่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมนั้นถ้าจำเลยรับเงินค่าเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นจึงถือได้ว่า เป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นลาภมิควรได้อย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าสมาชิกสมาคมฌาปนกิจที่ไม่จดทะเบียนชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นลาภมิควรได้
การฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จำเลยแต่ละคนเป็นกรรมการ แต่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมนั้น ถ้าจำเลยรับเงินค่าเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น จึงถึงได้ว่าเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นลาภมิควรได้อย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ: การนับวันสุดท้ายในกรณีวันหยุดราชการ ศาลฎีกาชี้ว่าสามารถนำมาตรา 161 มาใช้ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191 นั้น หมายความว่าคู่กรณีจะตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงอายุความตามกฎหมายให้สั้นเข้ามาหรือให้ยาวออกไปไม่ได้ แต่อายุความก็เป็นระยะเวลาอย่างหนึ่งเหมือนกัน จึงนำความในมาตรา 161 มาใช้ได้ เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันหยุด ก็ให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาจ้างทำของ, อายุความ, และการชำระเงินก่อนส่งมอบงาน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "โดยหนังสือนี้ กรมโยธาเทศบาล (โดยหลวงสัมฤทธิวิศวกรรม อธิบดีกรมโยธาเทศบาล) ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขุมพร (โดยนายแสวง ทิมทอง) เป็นโจทก์ฟ้องนายชิต เทศพิทักษ์ ผู้รับเหมาก่อสร้างสะพานฯ ซึ่งไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขฯ เป็นเหตุให้สะพานฯ ชำรุดและพัง ฯลฯ" เป็นการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร โดยตำแหน่งหน้าที่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ไม่ใช่มอบอำนาจให้นายแสวง ทิมทอง เป็นส่วนตัว ฟ้องจำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 35/2504)
กรมโยธาเทศบาลมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทน ปลัดจังหวัดในฐานะผู้รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ที่ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นนั้น หมายถึง การฟ้องร้องในเมื่อได้รับมอบการที่ว่าจ้างนั้นแล้ว
การที่ผู้จ้างชำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างไปก่อนงานเสร็จโดยยังมิได้รับมอบงานที่ทำ งานนั้นวินาศลงและผู้ว่าจ้างเรียกเงินคืน เป็นกรณีเรียกเงินฐานผิดสัญญา มิใช่ฐานลาภมิควรได้จะนำอายุความตามมาตรา419 มาใช้ไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 35/2504)
กรมโยธาเทศบาลมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทน ปลัดจังหวัดในฐานะผู้รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ที่ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นนั้น หมายถึง การฟ้องร้องในเมื่อได้รับมอบการที่ว่าจ้างนั้นแล้ว
การที่ผู้จ้างชำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างไปก่อนงานเสร็จโดยยังมิได้รับมอบงานที่ทำ งานนั้นวินาศลงและผู้ว่าจ้างเรียกเงินคืน เป็นกรณีเรียกเงินฐานผิดสัญญา มิใช่ฐานลาภมิควรได้จะนำอายุความตามมาตรา419 มาใช้ไม่ได้