คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 419

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้กับการซื้อขาย: สิทธิเกิดขึ้นเมื่อใด, อายุความเท่าไร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 ห้ามฟ้อง ในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือ ล้ำจำนวนจากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ เวลาส่งมอบ ดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดินที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อ ต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจ อ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้อง เรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้าม มิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่า ตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้ มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินซื้อขายกัน ให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้ จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้ว แต่โจทก์เพิ่งมา รู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อ ได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการ ทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงิน คืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขาย เป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายจึงต้องถือ อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน ตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบ ที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว และที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอก คำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อย เพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับ วินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินขาดจำนวน: พิจารณาจากวันที่รู้สิทธิและอายุความทั่วไปสิบปี
ป.พ.พ.มาตรา 467 ห้ามฟ้องในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนจากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดินที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้วแต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกันเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถืออายุความทั่วไปสิบปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 225 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้ vs. สัญญาซื้อขาย: ศาลยืนตามคำตัดสินเดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 ห้ามฟ้อง ในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ ดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดิน ที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่อง จากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้อง เรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วน คืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมาย ที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์ คืนฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน กันเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดิน ที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์ จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้ว แต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่อง จำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก หนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการ ออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้อง เรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกัน เป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถือ อายุความทั่วไปสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับ โจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน ตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่ จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกัน เป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้ นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: เริ่มนับจากวันที่รู้สิทธิ กรณีซื้อขายขาดตกบกพร่อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลยเกินไปคืนซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่องจึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 467 มาบังคับมิได้ กรณีต้องนำอายุความในมูลลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายคือโจทก์ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้ว จึงแก้ไขในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536ดังนั้น อายุความ 1 ปี ย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไป คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้: อายุความ 1 ปี นับจากวันที่ทราบเนื้อที่ดินที่ถูกต้อง หลังการรังวัดใหม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลย เกินไปคืน ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูล อันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็น การฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 กำหนดอายุความของลาภมิควรได้ไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหาย คือ โจทก์ทั้งสองรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์ทั้งสองเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ทั้งสองชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้ว จึงแก้ไข ในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536ดังนั้น อายุความ 1 ปี ย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไป คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: เริ่มนับเมื่อทราบสิทธิหรือ 10 ปีนับแต่เกิดสิทธิ ไม่ใช่เรื่องทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลยเกินไปคืน ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่อง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 มาบังคับมิได้ กรณีต้องนำอายุความในมูลลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายคือโจทก์ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้วจึงแก้ไขในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้น อายุความ1 ปีย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไปคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินที่ได้รับเกินจากการโอนเงินซ้ำซ้อน และอายุความลาภมิควรได้เริ่มต้นเมื่อตรวจพบข้อผิดพลาด
จำเลยเปิดบัญชีกับโจทก์สองบัญชี เป็นบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ที่สาขาย่อยสะพานปลาระนอง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ลูกค้าของจำเลยนำเช็คธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวนเงิน 1,000,000 บาท พร้อมเงินสด59,518 บาท มาฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยโดยวิธีโอนเงินจากสาขาระนองมายังสาขาย่อยสะพานปลาระนอง สาขาระนองดำเนินการโอนเงินแล้ว ปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ว่าการสื่อสารปลายทางขัดข้อง ลูกค้าของโจทก์จึงนำเช็คพร้อมเงินสดจำนวนดังกล่าวกลับไป แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองในวันเดียวกัน ต่อมาโจทก์ตรวจสอบบัญชีของโจทก์พบว่าเกิดการผิดพลาดเพราะสาขาระนองสามารถโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยในวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ได้ บัญชีของจำเลยจึงมีรายการซ้ำซ้อน ทำให้เงินในบัญชีของจำเลยเพิ่มขึ้น 1,059,518 บาท ดังนี้ เมื่อลูกค้าของจำเลยรับเช็คและเงินสดคืนไปจากโจทก์สาขาระนองและนำมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองแล้ว สาขาระนองของโจทก์จึงไม่ต้องโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีก การที่เกิดการผิดพลาดโดยสาขาระนองของโจทก์โอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีกและจำเลยรับเงินจำนวนที่โอนมาไว้โดยที่จำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันจากลูกค้าของจำเลยแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับเงินจากโจทก์ไว้โดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินมาทั้งหมดให้โจทก์ และอายุความเรื่องลาภมิควรได้ในกรณีเช่นนี้ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ฝ่ายตรวจสอบบัญชีของโจทก์ตรวจพบในวันที่ 24 มีนาคม 2538โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเงินผิดพลาดและอายุความลาภมิควรได้ จำเลยต้องคืนเงินที่รับเกินมาทั้งหมด
จำเลยเปิดบัญชีกับโจทก์สองบัญชี เป็นบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ที่สาขาย่อยสะพานปลาระนอง เมื่อวันที่ 28ธันวาคม 2537 ลูกค้าของจำเลยนำเช็คธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนเงิน 1,000,000 บาท พร้อมเงินสด 59,518 บาท มาฝากเข้า บัญชีออมทรัพย์ของจำเลยโดยวิธีโอนเงินจากสาขาระนอง มายังสาขาย่อยสะพานปลาระนอง สาขาระนอง ดำเนินการโอนเงินแล้วปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ว่าการสื่อสารปลายทางขัดข้อง ลูกค้าของโจทก์จึงนำเช็คพร้อมเงินสดจำนวนดังกล่าวกลับไป แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อย สะพานปลาระนอง ในวันเดียวกัน ต่อมาโจทก์ตรวจสอบบัญชีของโจทก์พบว่าเกิดการผิดพลาดเพราะสาขาระนองสามารถโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้า บัญชีเงินฝากของจำเลยในวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ได้บัญชีของจำเลยจึงมีรายการซ้ำซ้อน ทำให้เงินในบัญชีของจำเลย เพิ่มขึ้น 1,059,518 บาท ดังนี้ เมื่อลูกค้าของจำเลยรับเช็ค และเงินสดคืนไปจากโจทก์สาขาระนองและนำมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองแล้ว สาขาระนอง ของโจทก์จึงไม่ต้องโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อย สะพานปลาระนองอีก การที่เกิดการผิดพลาดโดยสาขาระนอง ของโจทก์โอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยที่สาขาย่อยสะพานปลาระนองอีกและจำเลยรับเงินจำนวนที่โอนมาไว้โดยที่จำเลยได้รับเงิน จำนวนเดียวกันจากลูกค้าของจำเลยแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับ เงินจากโจทก์ไว้โดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินมา ทั้งหมดให้โจทก์ และอายุความเรื่องลาภมิควรได้ในกรณีเช่นนี้ ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่ฝ่ายตรวจสอบบัญชีของโจทก์ตรวจพบ ในวันที่ 24 มีนาคม 2538 โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อขายที่ดินเวนคืน: 10 ปีตามหลักสัญญา ไม่ใช่ 1 ปีตามลาภมิควรได้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ในการที่โจทก์เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางด่วนมีสาระสำคัญว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย 4 ตารางวา ตารางวาละ 150,000 บาทรวมเป็นเงิน 600,000 บาท ถ้ามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วหากปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาโจทก์จะจ่ายค่าที่ดินเพิ่มให้แก่จำเลยตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ลดลงตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนี้จำนวนเงิน ที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี เป็นเงิน ที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญา หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์ เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้อันโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 ไม่ แต่เป็นกรณีไม่มีกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินตามสัญญาซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มิใช่ลาภมิควรได้ ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วโดยมีข้อตกลงกันว่า หากปรากฏในภายหลังว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมีมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์จะจ่ายค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่จำเลย แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อมีการรังวัดที่ดินแล้วพบว่าจำนวนเนื้อที่ดินมีน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำนวนเงินที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี จึงเป็นเงินที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินที่ชำระไว้ล่วงหน้าตามสัญญาซื้อขายที่ดินอันเกี่ยวด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เช่นกรณีพิพาทนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญาซื้อขาย
of 22