คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 419

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินบำนาญหลังถูกไล่ออก: ประเด็นอายุความลาภมิควรได้และการคำนวณระยะเวลา
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2533 เป็นเงินทั้งสิ้น 178,293.75 บาท และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2530 ดังนั้น การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการ จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการและ พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใด กรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 419การจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์ และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป และจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยรับเอาเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406 จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 ถือว่าโจทก์รู้ความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้น ดังนั้น เงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปี คือตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินหนึ่งปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การคืนเงินบำนาญหลังไล่ออกจากราชการ, ระยะเวลาที่โจทก์รู้สิทธิ, และข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่30กันยายน2530จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2530เป็นต้นมาจนถึงวันนี้15พฤศจิกายน2533และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่16พฤศจิกายน2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่30กันยายน2530การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษจำเลยออกจากราชการจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมายการที่จำเลยรับเงินบำนวญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใดกรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1ปีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตร419การจ่ายเงินบำนาญและเงินค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายมิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้วโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปและจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไปการที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่30พฤศจิกายน2534จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ห้ามมิให้ฟ้องคดีเพื่อกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533ถือว่าโจทก์รู้ว่าความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้นดังนั้นเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปีคือตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่25พฤศจิกายน2534จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าที่ดิน: ลาภมิควรได้ vs. ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง
สัญญาซื้อขายระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ประมาณ65 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา ในราคาไร่ละ 4,300 บาท เป็นเงิน 2,838,000 บาทย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนาถือเอาเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนเนื้อที่ดิน ไม่ใช่เป็นการซื้อขายเหมาที่ดินกันทั้งแปลง 
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนจำนวน 1,133,802.50 บาทคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกัน กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องจำเลยให้คืนเงินดังกล่าวฐานลาภมิควรได้ มิใช่เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 467 มาบังคับไม่ได้ ต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 419 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์รู้ว่าที่ดินขาดจำนวนเมื่อเดือนเมษายน 2535 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามที่ตกลงซื้อขายกัน ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าที่ดินบางส่วนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องลาภมิควรได้ขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่เป็นสาระสำคัญ ฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ขาดอายุความ
สัญญาซื้อขายระบุว่า ซื้อขายที่ดินเนื้อที่ประมาณ 65 ไร่ราคาไร่ละ 4,300 บาท แสดงว่าคู่สัญญาเจตนาถือเอาเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินไม่ใช่เป็นการซื้อขายเหมาที่ดินกันทั้งแปลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ มิใช่ฟ้องให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้ จึงไม่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะจาก พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ และอายุความการเรียกคืนเงิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ ข้อที่ว่าโจทก์รู้หรือไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกัน แต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่น จึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่น ดังนั้น เงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืน เมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง
ที่พิพาทราคา 250,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน 410,000 บาท จึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอน อายุความคืนเงิน และการคำนวณดอกเบี้ย
ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ข้อที่ว่าโจทก์รู้หรือไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกันแต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่นจึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้นเมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน1ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่นดังนั้นเงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนเมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง ที่พิพาทราคา250,000บาทการที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน410,000บาทจึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7588/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยจากการน้ำท่วมทำให้ส่งมอบงานล่าช้า ไม่ต้องเสียค่าปรับ
เงินส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างถมดินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์แต่จำเลยหักไว้เป็นค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาการปรับถมพื้นที่ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยตามกำหนดนัดได้เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ไม่ใช่ลาภมิควรได้ไม่อยู่ในบังคับอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419 แม้ฝนจะตกทุกปีในฤดูฝนแต่สำหรับปลายปี2526ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูงกว่าปีก่อนเป็นเหตุให้น้ำท่วมบริเวณที่ดินที่จะถมดังนั้นแม้โจทก์จะหาแหล่งดินอื่นมาถมได้แต่เมื่อบริเวณที่จะถมน้ำท่วมและเส้นทางขนส่งลำเลียงดินน้ำท่วมโจทก์ก็ไม่อาจทำการถมดินให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้กรณีดังกล่าวถือได้ว่่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7588/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยกับการหักค่าปรับในสัญญาจ้างเหมา การเรียกร้องเงินค่าจ้าง
เงินส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างถมดินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์แต่จำเลยหักไว้เป็นค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาการปรับถมพื้นที่ ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยตามกำหนดนัดได้ เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ไม่ใช่ลาภมิควรได้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
แม้ฝนจะตกทุกปีในฤดูฝน แต่สำหรับปลายปี 2526 ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูงกว่าปีก่อน เป็นเหตุให้น้ำท่วมบริเวณที่ดินที่จะถม ดังนั้นแม้โจทก์จะหาแหล่งดินอื่นมาถมได้ แต่เมื่อบริเวณที่จะถมน้ำท่วมและเส้นทางขนส่งลำเลียงดินน้ำท่วม โจทก์ก็ไม่อาจทำการถมดินให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้สมบูรณ์ แม้สัมปทานสิ้นสุดก่อนเงื่อนเวลา ชำระเงินแล้วต้องคืน
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372 วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป.ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่) นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้ สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับชำระล่วงหน้า ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นายป.ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา219วรรคหนึ่งก็ตามแต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา372วรรคหนึ่ง แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนายป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นายป. ได้หลังจากวันที่31พฤษภาคม2535ก็ตามแต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัยโดยจะโทษจำเลยหรือนายป. ไม่ได้จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป เมื่อนายป. ชำระเงิน8,000,000บาทอันเป็นการชำระหนี้ของนายป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วนายป.จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้เมื่อนายป.ตายสิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนายป. จึงเป็นมรดกของนายป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนายป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา63ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่นทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นในพระราชบัญญัติป่าไม้ฯบัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วยสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯอันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ใหม่) นายป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายและเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406วรรคหนึ่งการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา406ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419
of 22