พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากสัญญาซื้อขายที่ไม่สุจริต
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 419 ว่า ในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน 1 ปี แล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น หรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน 1 ปี แต่ก็พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกัน โจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3 ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรก การกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญา-ซื้อขาย คือวันที่ 15 มกราคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535จึงพ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องลาภมิควรได้: สิทธิเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ว่าในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นซึ่งหมายความว่าถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน1ปีแล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นหรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน1ปีแต่ก็พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกันโจทก์บรรยายฟ้องว่าน.ส.3ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่15มกราคม2525ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรกการกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายคือวันที่15มกราคม2525โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่20กุมภาพันธ์2535จึงพ้น10ปีฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องลาภมิควรได้: สิทธิเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ว่าในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นซึ่งหมายความว่าถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน1ปีแล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นหรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน1ปีแต่ก็พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกันโจทก์บรรยายฟ้องว่าน.ส.3ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่15มกราคม2525ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรกการกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายคือวันที่15มกราคม2525โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่20กุมภาพันธ์2535จึงพ้น10ปีฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องลาภมิควรได้: นับแต่วันรู้สิทธิหรือวันที่สิทธิเกิด ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินอันเป็นลาภมิควรได้โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ขอออกน.ส.3ทับที่ดินของบุคคลภายนอกวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์เป็นการแสดงว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรกและโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนจากจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวเมื่อโจทก์ฟ้องคดีพ้น10ปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องลาภมิควรได้: สิทธิเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 ว่า ในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน 1 ปี แล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น หรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน 1 ปี แต่ก็พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกันโจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3 ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรก การกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายคือวันที่ 15 มกราคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2535 จึงพ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้าเพิ่มเติมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลพร้อมเงินเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติตามที่ได้ประเมินจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เงินประกันค่าอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยให้แก่โจทก์นั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องแย้งเรียกค่าอากรขาเข้าคืนจึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 การที่จำเลยเรียกคืนเงินอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยไปตามที่โจทก์ประเมินและแจ้งให้ชำระเพิ่มนั้น มิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ซึ่งสิทธิเรียกร้องจะสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสุดท้าย แต่เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินและแจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว และธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระแทนจำเลย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่) และการนับอายุความนั้นให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปอายุความสิทธิเรียกร้องเงินค่าอากรขาเข้าคืนของจำเลยจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2532 ที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินให้แก่โจทก์ จำเลยนำคดีมาฟ้องแย้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2535ยังไม่พ้น 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ และจำเลยมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าอากรขาเข้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เรียกเก็บไปในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสุดท้าย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยได้ทวงถามและโจทก์ผิดนัดหรือไม่ แต่จำเลยขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินสมนาคุณที่จ่ายโดยผิดระเบียบ และเหตุลาภมิควรได้
จำเลยใก้การว่า โจทก์ทราบข้อทักท้วงของกระทรวงการคลังแล้วไม่ฟ้องภายใน 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ส่วนอายุความที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ จะต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใด เป็นหน้าที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเอง
โจทก์เบิกเงินจากคลังจ่ายสมนาคุณแก่จำเลยโดยผิดระเบียบราชการเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินจำนวนนี้ การที่จำเลยรับเงินไปเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 41
โจทก์เบิกเงินจากคลังจ่ายสมนาคุณแก่จำเลยโดยผิดระเบียบราชการเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินจำนวนนี้ การที่จำเลยรับเงินไปเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลาภมิควรได้: การเบิกจ่ายเงินสมนาคุณผิดระเบียบและสิทธิในการเรียกคืน
จำเลยให้การว่า โจทก์ทราบข้อทักท้วงของกระทรวงการคลังแล้วไม่ฟ้องภายใน 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ส่วนอายุความที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้จะต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใด เป็นหน้าที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเอง โจทก์เบิกเงินจากคลังจ่ายสมนาคุณแก่จำเลยโดยผิดระเบียบราชการเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินจำนวนนี้ การที่จำเลยรับเงินไปเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินเดือนซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย และอายุความการเรียกคืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่ชอบ
คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกเงินเดือนซึ่งจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ในระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2518 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2521 คืนโดยได้แจ้งจำนวนยอดรวมทั้งหมดแล้ว ถือว่าชัดแจ้งพอที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ ถ้ายอดจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องมานั้นมากกว่าที่จำเลยได้รับ จำเลยก็ชอบที่จะต่อสู้มาในคำให้การได้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้รับเดือนละเท่าใด หักภาษีแล้วเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยได้รับเงินเดือนทั้งจากโจทก์และกรุงเทพมหานครเป็นการฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 ซึ่งกำหนดให้จำเลยรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียว เป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์คืนได้ คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนซึ่งเงินเดือนที่จำเลยได้รับจากโจทก์นั้นเกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วการที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จำเลยจึงจำต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่สิทธินั้นได้มีขึ้นดังนั้นเงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินสิบปีจึงขาดอายุความ จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการรับเงินเดือนสองตำแหน่งโดยมิชอบ เป็นลาภมิควรได้ ฟ้องคืนได้เฉพาะส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2517 จำเลยได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรับเงินเดือนในอัตราของตำแหน่งครูต่อมาจำเลยได้สอบคัดเลือกเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2518 โดยรับเงินเดือนในอัตราชั้นตรี โดยจำเลยได้เงินเดือนสองตำแหน่งตลอดมาจนจำเลยออกจากราชการของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2521 ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 มาตรา 28 บัญญัติให้ข้าราชการรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียวนั้น หมายความรวมทั้งกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองตำแหน่งหรือหลายตำแหน่งด้วย และถึงแม้การไปดำรงตำแหน่งมากกว่าหนึ่งตำแหน่งของจำเลยจะมิได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนทั้งสองตำแหน่งได้ ฉะนั้น จำเลยยังไม่ได้แสดงเจตนาว่าจะเลือกรับเงินเดือนในตำแหน่งใด และโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะให้จำเลยรับเงินเดือนทางใด และขอคืนในอัตราของตำแหน่งใดก่อนจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนได้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ อายุความสำหรับเรียกทรัพย์คืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น มาตรา419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้น เงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น