คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 419

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การฟ้องร้องต้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้สิทธิ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ฐานลาภมิควรได้ว่า จำเลยได้เงินจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ในเรื่องลาภมิควรได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์รู้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยเมื่อวันที่ 24กันยายน 2529 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2531 พ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ. มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การฟ้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ฐานลาภมิควรได้ว่า จำเลยได้เงินจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และมีคำขอบังคับให้จำเลย คืนเงินตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 ในเรื่องลาภมิควรได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์รู้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2529แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2531 พ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การฟ้องข้ามปีหนึ่งนับแต่วันที่ทราบสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ฐานลาภมิควรได้ว่า จำเลยได้เงินจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419ในเรื่องลาภมิควรได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์รู้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2529 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2531 พ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช่าและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้ขาดอายุความไม่อาจนำมาขอรับชำระได้
ปัญหาที่ว่ามูลหนี้ซึ่งเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความจึงนำมาขอรับชำระหนี้ไม่ได้นั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาว่าหนี้ใดเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าส่งมอบคลังสินค้าที่เช่าให้เจ้าหนี้ผู้เช่ามีพื้นที่น้อยไปกว่าที่จำเลยที่ 1 มีคำเสนอให้เช่าและตามสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิรับค่าเช่าจากเจ้าหนี้ได้ตามส่วนพื้นที่ที่ให้เช่าตามความเป็นจริงเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 466ส่วนค่าเช่าที่รับไว้เกินโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ในขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกิน จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าหนี้มีสิทธินำคดีไปฟ้องเรียกคืนในฐานเป็นลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนค่าเช่าดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2528 ก็แสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนนับแต่วันนั้นแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 28 กันยายน 2530 จึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลา 1 ปี คดีขาดอายุความต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 แล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้: การให้การไม่ชัดเจนและการระบุฐานฟ้อง
คำให้การของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าสมนาคุณตอบแทนคืนเมื่อเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการเบิกเงินของจำเลยนั้น เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดย ผิดหลง โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายมาในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืน: ลาภมิควรได้ vs. ติดตามทรัพย์คืน การให้การชัดเจนของจำเลยมีผลต่อการวินิจฉัยอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย เนื่องจากโจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยหลงผิด จำเลยให้การว่าไม่ต้องคืนเงินแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกิน1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการเบิกเงินของจำเลย ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว ส่วนอายุความที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้นั้น ต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเอง โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยหลงผิด โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน เมื่อโจทก์ทำหนังสือทวงถามจำเลยฉบับลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2530ถือว่าโจทก์ทราบว่ามีสิทธิเรียกเงินคืนตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 4 มีนาคม 2531 จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 419.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืน: ลาภมิควรได้ vs. ติดตามทรัพย์คืน การให้การของจำเลยต้องชัดแจ้งเหตุขาดอายุความ
คำให้การของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว เพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าสมนาคุณตอบแทนคืนเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการเบิกเงินของจำเลยนั้น เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยผิดหลงโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายมาในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าจากการดัดแปลงรถยนต์: ผู้ประกอบการค้าคือผู้ผลิตรถยนต์ที่ดัดแปลง
ย. ดัดแปลงหรือจัดให้ผู้อื่นดัดแปลงรถยนต์กระบะบรรทุกให้เป็นรถยนต์นั่งและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงลักษณะรถเมื่อเดือนสิงหาคม2529 จึงถือได้ว่า ย. เป็นผู้ประกอบการค้าในฐานะผู้ผลิต มีหน้าที่เสียภาษีการค้าของเดือนสิงหาคม 2529 อันเป็นเดือนภาษีนั้นโจทก์ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2530 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ด้วยในขณะนั้น จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินค่าภาษีการค้าที่ชำระไปคืนได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเสียภาษีการค้ากรณีดัดแปลงรถยนต์กับแบบแสดงรายการการค้าต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลย เจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจทก์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้ อันจะขาดอายุความ 1 ปี โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ 7 มีนาคม 2532 แต่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2531 เป็นการเกินไปกว่าคำขอไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้า: การฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา ไม่ใช่ลาภมิควรได้, อายุความ 10 ปี, และข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นนายหน้าเพื่อชี้ช่องให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองตกลงให้จำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าติดต่อเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขง และข้อความที่ว่าแต่ผู้เดียว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียวนั่นเอง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเพื่อให้โจทก์คนหนึ่งคนใดเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสองฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาโอนสิทธิการเช่าเมื่อการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย และสิทธิในการคืนเงินมัดจำ
จำเลยทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินจากวัดให้โจทก์ และโจทก์ได้ชำระเงินค่าโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยบางส่วนแล้ว ข้อสัญญามีว่าหากจำเลยโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้จำเลยต้องชำระค่าปรับ เมื่อปรากฏว่าจำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากทางวัดไม่ยินยอมให้โอน ดังนี้ ถือได้ว่าการชำระหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตอบแทนกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลย เงินที่ต้องคืนเนื่องจากการเลิกสัญญามิใช่ลาภมิควรได้ จะนำอ:ายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาใช้บังคับมิได้.
of 22