คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 419

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม, อายุความ, การยอมรับข้อเท็จจริงของจำเลย, และการพิสูจน์หลักฐานในคดีแพ่ง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทราบข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2522 ส่วนการบอกกล่าวติดตามทวงถาม ให้จำเลยคืนเงินตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องนั้น หาจำต้องแสดงหลักฐานการบอกกล่าวในคำฟ้องด้วยไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์แสดงข้ออ้างในคำฟ้องว่ารถยนต์คันพิพาทของจำเลยซึ่งโจทก์เช่าเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่น โจทก์นำเข้าซ่อมและจำเลยได้รับรถคืนไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยขอเบิกค่าเช่าหลังจากรับรถคืนไปแล้ว โจทก์หลงเชื่อโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไป ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 จำเลยจะต้องให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธ เมื่อจำเลยไม่ให้การปฏิเสธก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับ ศาลรับฟังข้ออ้างของโจทก์ตามฟ้องได้อยู่แล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบหรือพิสูจน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจสอบพบเรื่องที่จำเลยรับเงินไปโดยไม่มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายแล้วจึงได้รายงานให้ ล. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 6 มีนาคม2522ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เพิ่งรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2522. โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2523 ยังไม่พ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้, การยอมรับข้ออ้าง, และการรู้สิทธิเรียกร้องของโจทก์
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทราบข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2522ส่วนการบอกกล่าวติดตามทวงถามให้จำเลยคืนเงินตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องนั้นหาจำต้องแสดงหลักฐานการบอกกล่าวในคำฟ้องด้วยไม่ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์แสดงข้ออ้างในคำฟ้องว่ารถยนต์คันพิพาทของจำเลยซึ่งโจทก์เช่าเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่นโจทก์นำเข้าซ่อมและจำเลยได้รับรถคืนไปแล้วแต่เมื่อจำเลยขอเบิกค่าเช่าหลังจากรับรถคืนไปแล้วโจทก์หลงเชื่อโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 จำเลยจะต้องให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธเมื่อจำเลยไม่ให้การปฏิเสธก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับศาลรับฟังข้ออ้างของโจทก์ตามฟ้องได้อยู่แล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบหรือพิสูจน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจสอบพบเรื่องที่จำเลยรับเงินไปโดยไม่มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายแล้วจึงได้รายงานให้ล.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 6 มีนาคม2522ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เพิ่งรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2522. โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่6 มีนาคม 2523 ยังไม่พ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในกรณีซื้อขายที่ดินขาดเนื้อที่: ฟ้องเรียกเงินคืนไม่ใช่ฟ้องขาดตกบกพร่อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนคืน โดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามที่ตกลงซื้อขายกันมิใช่ฟ้องในข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนจึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 มาปรับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินคืนจากชำระหนี้ฐานละเมิดเกินจำนวนที่ต้องรับผิด
โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยเนื่องจากมูลหนี้ฐานละเมิดที่โจทก์ ทำเงินของจำเลยขาดบัญชีไป การชำระเงินในลักษณะเช่นนี้ย่อมมีผลตามกฎหมายขึ้นทันทีว่า ถ้าโจทก์ชำระเงินเกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิด จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วน ที่เกินให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ สิทธิของโจทก์ที่จะ เรียกเงินคืนจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระเงินแก่ จำเลยแล้ว นับแต่วันนั้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน กว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินคืนจากหนี้ละเมิด: การชำระหนี้ก่อนฟ้องทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องเงินเกินชำระทันที
โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยเนื่องจากมูลหนี้ฐานละเมิดที่โจทก์ทำเงินของจำเลยขาดบัญชีไป การชำระเงินในลักษณะเช่นนี้ ย่อมมีผลตามกฎหมายขึ้นทันทีว่า ถ้าโจทก์ชำระเงินเกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิด จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเงินคืนจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยแล้ว นับแต่วันนั้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากการซื้อขายหุ้น และการใช้เอกสารหลักฐานที่ไม่ติดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของบริษัท อ. ให้แก่สามีโจทก์ แต่จำเลยไม่โอนหุ้นที่ตกลงซื้อขายให้แก่สามีโจทก์จนกระทั่งสามีโจทก์ได้ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของสามีไม่ประสงค์จะซื้อหุ้นดังกล่าวอีก ทั้งการซื้อขายหุ้นมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นแล้ว ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อหุ้นแก่โจทก์ ดังนี้เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และกรณีไม่ใช่ลาภมิควรได้เพราะการที่จำเลยรับเงินค่าซื้อหุ้นไว้จากสามีโจทก์เป็นการรับไว้ โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงนำกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาใช้แก่คดีนี้ไม่ได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2519 ข้อ 19 มิได้กำหนดให้ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
ข้อที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: เริ่มนับเมื่อทราบสัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์เพิ่งทราบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่ขายฝาก เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมิน การอุทธรณ์ และการฟ้องร้อง ส่งผลต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ทำให้จำนวนเงินค่าภาษีขาดไปต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีที่ขาดไปนี้ได้ถึงกำหนดชำระแล้ว ตั้งแต่วันที่โจทก์ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68 และ 69 คือภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ภาษีรายพิพาทเป็นภาษีเงินได้สำหรับระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2495 ถึง 2500 ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2496, 30 พฤษภาคม 2497, 30 พฤษภาคม 2498, 29 พฤษภาคม 2499, 30 พฤษภาคม 2500 และ 30 พฤษภาคม 2501 ตามลำดับ อายุความจึงเริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระของแต่ละปีเป็นต้นไป เพราะเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เพิ่มเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2505 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีได้จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี และการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่าดีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ถ้าผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีอากรค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยอมเป็นเหตุให้อายุความสุดุดหยุดลง ส่วนการที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2515 นั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งประเมินเรียกเก็บภาษีเป็นเพียงข้อวินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องหรือไม่เท่านั้น จะนับอายุความจากวันครบกำหนดชำระภาษีจนถึงวันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าเกิน 10 ปี ขาดอายุความหาได้ไม่ และกรณีที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินดังกล่าว ทั้งฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีนี้สืบเนื่องกันมา ถือได้ว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรจำเลยที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้รายพิพาทจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 167
เงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรจำเลยไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและกรมสรรพากรจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ ซึ่งฝ่ายจำเลยถือว่ามีสิทธิเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และโต้เถียงเช่นนั้นตลอดมา ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีดังกล่าวคืน จึงไม่ใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับที่จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์ได้เสียภาษีเพิ่มสำหรับรอบระยะบัญชี 2495 และ 2496 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โดยจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ แต่ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มน้อยกว่าที่ชำระไปแล้ว โจทก์จึงชำระภาษีเกินกว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเป็นเงิน 727,340.86 บาท ดังนี้ กรมสรรพากรจำเลยต้องคืนเงินภาษีจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวให้โจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้นำภาษีที่โจทก์ชำระเกินไว้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่โจทก์จะต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2497 และ 2498 ได้ เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้เช่นที่บัญญัติในมาตรา 18 ทวิ, 60 ทวิ คือให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการและภาษีที่เรียกเก็บ
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ ทั้งสิทธิเรียกร้องในหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จะหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: การรู้สิทธิและพยานหลักฐาน
ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระทำเพื่อชำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษโดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นนั้น
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240(3),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: การรู้และอยู่ในฐานะที่จะรู้
ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระทำเพื่อชำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์มา โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษ โดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นกัน
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3), 247
of 22