พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินมรดก: การครอบครองปรปักษ์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
พ.เจ้ามรดกมิได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ก่อนตาย เมื่อ พ.ตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของ พ.และตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของพ.ผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ.ไม่สามารถขอรับโอนมรดกได้ เพราะจำเลยไปขอออก น.ส.3 ในชื่อจำเลยเสียก่อน ดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทหรือไม่
การที่โจทก์เพิ่งมาขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ.เจ้ามรดกและฟ้องเป็นคดีนี้เพื่อเรียกที่ดินคืนจากจำเลยโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ พ.หลังจาก พ.ตายนานถึง 8 ปีเศษ ทั้งการที่ที่ฝ่ายโจทก์เข้าไปเก็บมะพร้าวในที่ดินพิพาทโดยถือวิสาสะในฐานะญาติมากกว่าเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวตั้งแต่ พ.ตายตลอดมาโดยมีเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจนไปขอออก น.ส.3โดยโจทก์ไม่ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทหรือโต้แย้งแต่ประการใด ดังนี้จำเลยย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 และ 1369
การที่โจทก์เพิ่งมาขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ.เจ้ามรดกและฟ้องเป็นคดีนี้เพื่อเรียกที่ดินคืนจากจำเลยโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ พ.หลังจาก พ.ตายนานถึง 8 ปีเศษ ทั้งการที่ที่ฝ่ายโจทก์เข้าไปเก็บมะพร้าวในที่ดินพิพาทโดยถือวิสาสะในฐานะญาติมากกว่าเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวตั้งแต่ พ.ตายตลอดมาโดยมีเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจนไปขอออก น.ส.3โดยโจทก์ไม่ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทหรือโต้แย้งแต่ประการใด ดังนี้จำเลยย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 และ 1369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การยึดถือเพื่อตนและการขาดการโต้แย้งสิทธิ
พ. เจ้ามรดกมิได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ก่อนตายเมื่อพ.ตายที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของพ.และตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างประเด็นแห่งคดีมาให้คำฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของพ. ผู้ตายโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพ.ไม่สามารถขอรับโอนมรดกได้ เพราะจำเลยไปขอออก น.ส.3 ในชื่อจำเลยเสียก่อนดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทหรือไม่ การที่โจทก์เพิ่งมาขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของพ.เจ้ามรดกและฟ้องเป็นคดีนี้เพื่อเรียกที่ดินคืนจากจำเลยโดยอ้างว่าเป็นมรดกของพ.หลังจากพ.ตายนานถึง8 ปีเศษ ทั้งการที่ที่ฝ่ายโจทก์เข้าไปเก็บมะพร้าวในที่ดินพิพาทโดยถือวิสาสะในฐานะญาติมากกว่าเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวตั้งแต่พ.ตายตลอดมาโดยมีเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจนไปขอออก น.ส.3โดยโจทก์ไม่ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทหรือโต้แย้งแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และ 1369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและสัญญาจะซื้อจะขาย: ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องเมื่อมีการตกลงกันก่อนการจดทะเบียน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากมารดาโจทก์เพื่อปลูกสร้างเป็นสถานที่ประกอบการค้าอาหาร มีกำหนด 5 ปีนับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท ต่อมามารดาโจทก์ได้ทำบันทึกตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและข้อความในบันทึกดังกล่าวเข้าแบบเป็นหนังสือตกลงจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้ก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนมรดกที่ดินแปลงพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าได้เพราะสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยได้ยกเลิกไปโดยปริยายและเกิดข้อผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มารดาโจทก์ผู้จะขายตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้โจทก์จะต้องไปบังคับว่ากล่าวแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิการฟ้องขับไล่และค่าเสียหายเมื่อมีการตกลงซื้อขายก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุด
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากมารดาโจทก์เพื่อปลูกสร้างเป็นสถานที่ประกอบการค้าอาหาร มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตกลงค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท ต่อมามารดาโจทก์ได้ทำบันทึกตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและข้อความในบันทึกดังกล่าวเข้าแบบเป็นหนังสือตกลงจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้ก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนมรดกที่ดินแปลงพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าได้เพราะสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยได้ยกเลิกไปโดยปริยายและเกิดข้อผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มารดาโจทก์ผู้จะขายตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้โจทก์จะต้องไปบังคับว่ากล่าวแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4376/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของมรณะของโจทก์ระหว่างพิจารณาคดี และการบังคับคดีชำระหนี้ด้วยการโอนทรัพย์สิน
แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโดยไม่มีทายาทขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42 วรรคสองให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบความได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีข้อเท็จจริงมาสู่ศาลว่าคู่ความได้มรณะลงระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น คดีนี้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงมาสู่สำนวนศาลระหว่างคดีค้างพิจารณาของศาลฎีกาว่าโจทก์ถึงแก่กรรม ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาและได้อ่านให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลย จำเลยจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและจำหน่ายคดีจากสารบบความมิได้
เมื่อตามคำพิพากษาจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้ราคาที่ดินแทนได้ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ได้เท่านั้น มิใช่ให้จำเลยเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และคดีนี้ทายาทของโจทก์ยังสามารถเข้าดำเนินการแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีได้ จำเลยก็ต้องโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ทายาทโจทก์ จะขอใช้ราคาที่ดินแทนจำเลยมิได้
เมื่อตามคำพิพากษาจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้ราคาที่ดินแทนได้ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ได้เท่านั้น มิใช่ให้จำเลยเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และคดีนี้ทายาทของโจทก์ยังสามารถเข้าดำเนินการแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีได้ จำเลยก็ต้องโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ทายาทโจทก์ จะขอใช้ราคาที่ดินแทนจำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินส.ค.1 ก่อนเสียชีวิต: ที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า บ.ได้ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส.ค.1 ให้แก่บุตรทั้งห้าคนของตนโดยได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้บุตรทั้งห้าครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ปี 2500 จนกระทั่ง บ.ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2525 ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของ บ.อีกต่อไปดังนั้นเมื่อ บ.ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ บ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ บ.และให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ.เพื่อโจทก์จะได้นำที่ดินพิพาทไปแบ่งปันให้แก่ทายาทของ บ.ต่อไป และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกที่ดินที่เป็นทรัสต์ก่อนใช้ พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์ 2478: กฎหมายที่ใช้บังคับ
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ที่ดินโฉนดตามคำร้องขอเป็นทรัพย์ของ ล. ล.ตาย พ.ศ.2480 หรือ 2481 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้ร้องไปขอรับมรดก แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดการให้ได้ต้องมีผู้จัดการมรดกเสียก่อนนั้น แต่ตามสำเนาโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวมีข้อความว่า โฉนดที่ดินฉบับนี้...ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเจ้าพนักงานออกโฉนดดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2462 แสดงให้เห็นว่า ล.มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นทรัสตีของที่ดินแปลงนี้ซึ่งใช้เป็นป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของ ล.อันจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทรัสต์ที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 ซึ่งเป็นวันใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 มาตรา 1686 ย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้ได้เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลัง การมีชื่อ ล.เป็นทรัสตีในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งได้ทำก่อนวันใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 กรณีจึงต้องใช้กฎหมายก่อน ป.พ.พ.บรรพ 6 บังคับ คือ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2459 มาตรา 8 ที่กำหนดว่า ถ้าผู้ใดเป็นทรัสตีในเรื่องที่ดินมีโฉนดแผนที่แล้วให้มีอำนาจมาจดทะเบียนชื่อให้มีข้อความบ่งชัดในหลังโฉนดว่าเป็นทรัสตีด้วย ดังนี้ ข้อความที่บันทึกไว้ในโฉนดที่ดินที่ว่าโฉนดที่ดินฉบับนี้...ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจึงเป็นหลักฐานเพียงพอที่ฟังได้ว่ามีการตั้งทรัสตีขึ้นจริง เพราะตามกฎหมายเรื่องทรัสต์ขณะนั้นยังไม่ปรากฏว่าการตั้งทรัสตีจะต้องทำเป็นตราสารตามแบบพิธีอย่างใดเป็นพิเศษกรณีไม่จำต้องมีการจัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าพิพาทมรดก: การท้าความถูกต้องของทรัพย์มรดกที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่18มีนาคม2525โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วนและให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกจำเลยให้การต่อสู้คดีว่านางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลยต. พ. และส.แล้วตั้งแต่ปี2518ขณะนางตุ้น ยังมีชีวิตอยู่และจำเลยต. พ.และส. ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี2518จนถึงปี2533หลังจากนางตุ้นตายแล้วจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้น มาเป็นจำเลยต. พ. และส. เท่านั้นไม่เกี่ยวกับทายาทอื่นอันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยต.พ. และส. แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้วซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วยการที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ คู่ความตกลงท้ากันว่าถ้าย. ล. ผ. ส. นายวินนายวัน และถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาลถ้ามี4คนขึ้นไปยื่นยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ถ้ามี4คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น หรือไม่ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทนปรากฎว่าย. และนายวัน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบล. ผ.ส. และนายวิน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วนถ. สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทรัพย์สินว่าเป็นมรดกหรือไม่ และผลของการยอมรับข้อเท็จจริงเบื้องต้นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2525 โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้ และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วน และให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า นางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลย ต. พ.และ ส.แล้วตั้งแต่ปี 2518 ขณะนางตุ้นยังมีชีวิตอยู่และจำเลย ต. พ.และ ส.ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2533 หลังจากนางตุ้นตายแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้นมาเป็นจำเลย ต. พ. และ ส.เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับทายาทอื่น อันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ต. พ. และ ส.แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้ว ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วย การที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ
คู่ความตกลงท้ากันว่า ถ้า ย. ล. ผ. ส. นายวิน นายวันและ ถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาล ถ้ามี 4 คน ขึ้นไปยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ ถ้ามี 4 คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นหรือไม่ ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทน ปรากฏว่า ย.และนายวันสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบ ล. ผ. ส.และนายวินสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วน ถ.สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่า ถ้า ย. ล. ผ. ส. นายวิน นายวันและ ถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาล ถ้ามี 4 คน ขึ้นไปยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ ถ้ามี 4 คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นหรือไม่ ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทน ปรากฏว่า ย.และนายวันสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบ ล. ผ. ส.และนายวินสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วน ถ.สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของทายาทผู้จัดการมรดกในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้คำสั่งศาลก่อนหน้าจะแสดงกรรมสิทธิ์ให้จำเลยไปแล้ว
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีชื่อ พ.เป็นเจ้าของร่วมกับ ฟ.มารดาจำเลยพ.เป็นมารดาของ ท.บิดาโจทก์ พ.และ ท.ถึงแก่ความตายแต่โฉนดพิพาทยังมีชื่อ พ.ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกของ พ.และ ท. เมื่อ ฟ.ถึงแก่ความตาย ป.บิดาจำเลยรับโอนมรดกที่ดินส่วนของนาง ฟ.แล้วป.ขายฝากที่ดินเฉพาะส่วนของตนจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวคืนจาก ส.แล้วโอนขายให้แก่ ศ. หลังจากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างว่า พ.ยกที่ดินส่วนของ พ.ให้จำเลยและจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยที่ พ.ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทคนหนึ่งของ พ.ซึ่งมิใช่คู่ความในกระบวน-พิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทส่วนของ พ.โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง (2) เมื่อ พ.ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลย ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พ.เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้านเมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกัน ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (1)
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พ.เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้านเมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกัน ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (1)