คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1599

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์และสัญญาประนีประนอมยอมความ การบังคับตามสัญญาและการแบ่งแยกค่าใช้จ่าย
โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาโดยสงบและเปิดเผยจนถึงวันที่ พ.บิดาจำเลยทั้งสองร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของ พ. โจทก์กับ พ.ได้ตกลงกันให้ พ.เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้ว พ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมา พ.ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของ พ.และ พ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับ พ.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อ พ.บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย
ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าเดิมจำเลยที่ 1 ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรก แต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอน จึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ทำให้จำเลยที่ 1 กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี เมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม สมควรให้เสียภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่า ๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้ไม่มีสิทธิโดยตรงและผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่กรรม ส.ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. ต่อมา ช.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ดังนี้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม กองมรดกของ ช.ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรม ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. มิได้เป็นบุตรของ ช.เจ้ามรดกไม่ปรากฏว่า ช.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ช.โดยตรง อีกทั้ง ช.มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้ว ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ ส.มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของ ช.คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของ ส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่า อ.ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช.ผู้เยาว์ และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่า ผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทน ดังนั้น แม้ต่อมานางสาว ช.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้าน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาว ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: การพิสูจน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องและผู้คัดค้าน รวมถึงการตั้งผู้จัดการมรดกที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. เมื่ออ. ถึงแก่กรรมส. ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับช. ต่อมาช. ถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ดังนี้เมื่อช.ถึงแก่กรรมกองมรดกของช. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรมผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. มิได้เป็นบุตรของช. เจ้ามรดกไม่ปรากฎว่าช. จดทะเบียนร้องผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของช.โดยตรงอีกทั้งช. มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้วผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ การที่ส. มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของช. คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้นซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่าอ. ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช. ผู้เยาว์และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่าผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทนดังนั้นแม้ต่อมานางสาวช. ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะและอ. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้านแต่เมื่อปรากฎว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้วล. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาวช.เป็นผู้จัดการมรดกของช.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองและการสืบทอดมรดก
จ.ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จ.จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 จึงตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการส่งมรดกไปยังทายาท
จ.ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วจ.จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599และ1600จึงตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดก: การครอบครองของทายาทและสิทธิในการเข้าทำประโยชน์
ล.มิได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่โจทก์ เมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมตกเป็นมรดกแก่ทายาททุกคน แม้โจทก์จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงก็ตาม แต่ที่ดินในส่วนของ ล.ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทุกคน โจทก์จึงหาได้สิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ไม่จำเลยทั้งสามเป็นบุตรของ ล.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ที่เป็นทรัพย์มรดกนั้น จึงมีสิทธิที่จะเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสาม
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.นั้น ล.ได้ยกให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ล. แต่ ล.ไม่ได้ยกให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.เป็นมรดกของ ล.จึงเป็นการวินิจฉัยโดยผลของกฎหมาย เพราะถึงแม้จะไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โดยผลของกฎหมายแล้วเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ล.นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมรดก: สิทธิของทายาทและการครอบครองแทนทายาท
ล.มิได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่โจทก์ เมื่อล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล. ย่อมตกเป็นมรดกแก่ทายาททุกคน แม้โจทก์จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงก็ตาม แต่ที่ดินในส่วนของ ล.ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทุกคน โจทก์จึงหาได้สิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ไม่จำเลยทั้งสามเป็นบุตรของ ล. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ที่เป็นทรัพย์มรดกนั้น จึงมีสิทธิที่จะเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสาม โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล. นั้น ล.ได้ยกให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ล. แต่ล. ไม่ได้ยกให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.เป็นมรดกของ ล.จึงเป็นการวินิจฉัยโดยผลของกฎหมาย เพราะถึงแม้จะไม่ได้วินิจฉัยไว้แต่โดยผลของกฎหมายแล้วเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล. ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ล.นั่นเองจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995-5996/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าที่ยังไม่เกิดผลผูกพันเมื่อผู้ให้คำมั่นเสียชีวิต ไม่เป็นมรดกผูกพันทายาท
สัญญาเช่ามีข้อความว่า "มีกำหนดเวลาการเช่า10ปีและให้ผู้เช่ายินยอมต่อสัญญาให้ผู้เช่า2ครั้งครั้งละ10ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป"ข้อความตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของย.ว่าจะให้โจทก์เช่าที่ดินต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาเมื่อโจทก์ไม่ได้สอนงอรับก่อนย.ตายและโจทก์รู้แล้วว่าย ตายก่อนจะครบกำหนด10ปีตามสัญญาเช่ากรณีต้องบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา130วรรคสอง(ที่แก้ไขใหม่มาตรา169วรรคสอง)มาใช้บังคับคำมั่นของย ย่อมไม่มีผลบังคับแม้สัญญาเช่าข้อ3จะระบุให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันไปถึงทายาทผู้รับพินัยกรรมของย. ด้วยก็ตามแต่เมื่อคำมั่นของย. ไม่มีผลบังคับเสียแล้วก็ไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันจำเลยในฐานะทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995-5996/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าที่ไม่มีผลผูกพันทายาทเมื่อผู้ให้คำมั่นเสียชีวิตก่อนครบกำหนด
สัญญาเช่ามีข้อความว่า"มีกำหนดเวลาการเช่า10ปีและผู้ให้เช่ายินยอมต่อสัญญาให้ผู้เช่า2ครั้งครั้งละ10ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป"ข้อความตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของย.ว่าจะให้โจทก์เช่าที่ดินต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาเมื่อโจทก์ไม่ได้สนองรับก่อนย.ตายและโจทก์รู้แล้วว่าย.ตายก่อนจะครบกำหนด10ปีตามสัญญาเช่ากรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา130วรรคสอง(ที่แก้ไขใหม่มาตรา169วรรคสอง)มาใช้บังคับคำมั่นของย.ย่อมไม่มีผลบังคับแม้สัญญาเช่าข้อ3จะระบุให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันไปถึงทายาทผู้รับพินัยกรรมของย.ด้วยก็ตามแต่เมื่อคำมั่นของย.ไม่มีผลบังคับเสียแล้วก็ไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันจำเลยในฐานะทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995-5996/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าที่ดินไม่ผูกพันทายาทเมื่อผู้ให้คำมั่นเสียชีวิตก่อนครบกำหนด
สัญญาเช่ามีข้อความว่า "มีกำหนดเวลาการเช่า 10 ปี และให้ผู้เช่ายินยอมต่อสัญญาให้ผู้เช่า 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป" ข้อความตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของ ย.ว่าจะให้โจทก์เช่าที่ดินต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ได้สอนงอรับก่อน ย.ตาย และโจทก์รู้แล้วว่า ย ตายก่อนจะครบกำหนด 10 ปี ตามสัญญาเช่า กรณีต้องบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่มาตรา 169 วรรคสอง) มาใช้บังคับ คำมั่นของ ย ย่อมไม่มีผลบังคับ แม้สัญญาเช่าข้อ 3 จะระบุให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันไปถึงทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ย. ด้วยก็ตาม แต่เมื่อคำมั่นของ ย. ไม่มีผลบังคับเสียแล้ว ก็ไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันจำเลยในฐานะทายาท
of 39