พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมรดกของผู้ปกครองเด็ก, อายุความมรดกมีผู้จัดการ, การแบ่งมรดกสินส่วนตัวและสินร่วม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ค. เป็นผู้ปกครองของเด็กชาย ท.คดีถึงที่สุดแล้วค. ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กชาย ท.จำเลยไม่อาจโต้แย้งในคดีนี้ว่าค. ไม่มีอำนาจเป็นผู้ปกครองเด็กชาย ท. ได้ ฟ้องระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของเจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่มีสิทธิได้รับมรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คนและเป็นผู้ใด หากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่าจำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งตามฟ้องไม่ถูกต้องจำเลยต้องให้การต่อสู้ไว้ และเมื่ออ่านฟ้องประกอบใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาด ที่ถูกต้องเป็นตามใบมรณบัตรแนบท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ทรัพย์ที่เจ้ามรดกกับ ส. เป็นเจ้าของร่วมกัน ต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกตกได้แก่เด็กชาย ท. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับส่วนของเจ้ามรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งสี่คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อรวมแล้วเด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับจำนวน 5 ใน 8 ส่วน กรณีทรัพย์มรดกมีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทไม่จำต้องฟ้องเรียกทรัพย์มรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาเช่า, กิจการร้านค้า, และการใช้ชื่อร้านค้าเป็นมรดก: สิทธิเฉพาะตัวที่ไม่ตกทอด
ส. เป็นผู้เช่าตึกแถวพิพาทโดยมิได้มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นสัญญาเฉพาะตัวของ ส.เมื่อส. ตาย สัญญาเช่าย่อมระงับไปไม่ตกทอดไปยังทายาท สิทธิในการเช่าตึกแถวพิพาทจึงมิใช่มรดกของ ส. การประกอบกิจการร้านขายยานั้นเป็นเพียงการงานอาชีพ อันเป็นกิจการเฉพาะตัวของผู้ที่ประกอบกิจการโดยแท้และย่อมไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท เมื่อผู้เริ่มประกอบกิจการตาย แล้วมีผู้ประกอบกิจการต่อมาจนถึงจำเลยและสามี ก็เป็นกิจการเฉพาะตัวของผู้ประกอบการ มิใช่การจัดการมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิในกิจการร้านขายยาที่จำเลยประกอบอยู่ ไม่อาจที่จะเรียกเอาส่วนแบ่งหรือรายได้จากกิจการร้านขายยาดังกล่าว ชื่อร้านขายยาพิพาทมิได้มีการจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้ากรณีเป็นเรื่องสิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกซึ่งก็มีสิทธิใช้นามนั้นมิให้ใช้นามดังกล่าวหรือเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้นามนั้นได้ ในเมื่อจำเลยมิได้ใช้ไปในทางที่เสื่อมเสียต่อนามนั้นและมิได้ห้ามหรือขัดขวางมิให้โจทก์ใช้นามนั้นแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกและการมีอำนาจฟ้องร้องทางภารจำยอม แม้ยังมิได้เปลี่ยนชื่อในโฉนด
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาโดยทางมรดก แม้จะยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อ ในโฉนด ที่ดินดังกล่าวมาเป็นของตนก็ถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ให้เปิดทางภารจำยอมได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าทางพิพาทตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินโจทก์จำเลยกว้างยาวเพียงใด ทั้งมีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องด้วย เป็นคำฟ้องที่บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินมรดกที่ผู้จัดการมรดกทำโดยมิชอบ โดยทายาทมีสิทธิขัดขวางได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นทายาทร่วมด้วย การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกมาเป็นของตนตามลำพังแล้วนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวกับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 การจำนองจึงเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้มาเมื่อ ล.เจ้ามรดกตาย ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ล. และเป็นผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนจำเลยที่ 2ต้องเสียเปรียบ จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ล. ซึ่งมีทายาทด้วยกัน 11 คนการที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 11 ส่วนจึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท 10 ใน 11 ส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนจำนองทรัพย์มรดก - ความสุจริตของผู้รับจำนอง - สิทธิของทายาท - การแบ่งสิทธิเรียกร้อง
คำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องระบุว่า ท.กับพวกรวม 7 คนโดย จ.ผู้รับมอบอำนาจและข้าพเจ้า ท.กับพวกรวม 7 คน ปรากฏตามรายชื่อและที่อยู่ท้ายคำฟ้องนี้ พร้อมทั้งแนบรายชื่อและที่อยู่ของโจทก์ทั้งเจ็ดมาด้วย ส่วนตามคำฟ้องเดิมโจทก์ได้แนบหนังสือมอบอำนาจมาท้ายคำฟ้องด้วยว่า โจทก์ทั้งหกได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้รับมรดกของ ล.เจ้ามรดกเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการดังจะกล่าวต่อไปนี้แทนข้าพเจ้าจนเสร็จการ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ฟ้องคดีแทน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และจำเลยที่ 1 เป็นทายาทของ ล.เจ้ามรดกโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกร่วมกัน การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล และได้จัดการโอนมรดกมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามลำพังแล้วนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวไว้กับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอมย่อมเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 การจำนองดังกล่าวจึงเป็นกิจการที่ได้นำไปนอกชอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จะนำอายุความตามมาตรา 1754มาบังคับมิได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของล.ที่ตกได้แก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งเจ็ดไว้กับจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 รับจำนองไว้โดยไม่สุจริต จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ล.ซึ่งมีทายาทด้วยกัน 11 คนรวมทั้งโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท 1 ใน 11 ส่วน จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งเจ็ดและทายาทอื่นซึ่งรวมแล้วเพียง10 ใน 11 ส่วนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาและการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่งและบำเหน็จค่านายหน้าไม่เกิด
สัญญาร่วมงานขายไม้ซุงสัก ระหว่างบริษัท ก. กับจำเลยทั้งสองระบุว่า ในการแบ่งกำไรการร่วมงานขายไม้ซุงสัก จำเลยที่ 2 จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินสด 15 ล้านบาท ไม่ว่ากิจการจะขาดทุนหรือไม่และบริษัท ก. จะต้องจ่ายเงินคืนแก่จำเลยที่ 2 ในยอดเงินลงทุนทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ส่วนสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. ในฐานะส่วนตัวและผู้รับสัญญาแทน ล. ระบุว่า ตามสัญญาร่วมงานดังกล่าวส.และล.เป็นผู้ชักนำกิจการร่วมงานขายไม้ซุงสัก มาเสนอจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงให้สัญญาว่า ในยอดเงิน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2จะพึงได้รับจากบริษัท ก. จำเลยที่ 2 จะแบ่งจ่ายให้ ส.2 ล้านบาทและ ล. 1 ล้านบาท ส่วนกำไรอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะพึงได้จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะแบ่งให้แก่ ส. และ ล. ตามอัตราส่วนคือของจำเลยที่ 2 จำนวน 12 ส่วน ของ ส.2 ส่วน และของ ล. 1 ส่วนสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งมีความหมายว่าบริษัท ก. จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อได้ร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศหรือภายในประเทศแล้วและจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินบำเหน็จค่านายหน้า 1 ล้านบาทให้แก่ล. ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 15 ล้านบาทจากบริษัท ก. แล้วการได้รับเงินจำนวน 15 ล้านบาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ดังนั้นเงินจำนวน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2 จะพึงได้รับจากบริษัท ก.ตามหนังสือให้สัญญาจึงหมายถึงเงินตามสัญญาร่วมงาน เมื่อต่อมาก่อนที่บริษัท ก. และจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และบริษัท ก. สามารถจำหน่ายไม้ซุงสักได้ภายในประเทศอันจะถือได้ว่าเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญาร่วมงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวน 15 ล้านบาทตามสัญญาร่วมงานจากบริษัท ก. ถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ยังไม่สำเร็จจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องแบ่งเงิน 1 ล้านบาทจ่ายเป็นบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. สามีโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา, การบรรลุวัตถุประสงค์สัญญา, สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จค่านายหน้า
สัญญาร่วมงานขายไม้ซุงสัก ระหว่างบริษัท ก. กับจำเลยทั้งสองระบุว่า ในการแบ่งกำไรการร่วมงานขายไม้ซุงสัก จำเลยที่ 2 จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินสด 15 ล้านบาท ไม่ว่ากิจการจะขาดทุนหรือไม่และบริษัท ก. จะต้องจ่ายเงินคืนแก่จำเลยที่ 2 ในยอดเงินลงทุนทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ส่วนสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. ในฐานะส่วนตัวและผู้รับสัญญาแทน ล. ระบุว่า ตามสัญญาร่วมงานดังกล่าวส. และ ล. เป็นผู้ชักนำกิจการร่วมงานขายไม้ซุงสัก มาเสนอจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงให้สัญญาว่า ในยอดเงิน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2จะพึงได้รับจากบริษัท ก. จำเลยที่ 2 จะแบ่งจ่ายให้ ส. 2 ล้านบาทและ ล. 1 ล้านบาท ส่วนกำไรอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะพึงได้จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะแบ่งให้แก่ ส. และ ล. ตามอัตราส่วนคือของจำเลยที่ 2 จำนวน 12 ส่วน ของ ส. 2 ส่วน และของ ล. 1 ส่วนสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งมีความหมายว่าบริษัท ก. จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อได้ร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศหรือภายในประเทศแล้วและจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินบำเหน็จค่านายหน้า 1 ล้านบาทให้แก่ล. ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 15 ล้านบาทจากบริษัท ก. แล้วการได้รับเงินจำนวน 15 ล้านบาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ดังนั้นเงินจำนวน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2 จะพึงได้รับจากบริษัท ก.ตามหนังสือให้สัญญาจึงหมายถึงเงินตามสัญญาร่วมงาน เมื่อต่อมาก่อนที่บริษัท ก. และจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และบริษัท ก. สามารถจำหน่ายไม้ซุงสักได้ภายในประเทศอันจะถือได้ว่าเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญาร่วมงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวน 15 ล้านบาทตามสัญญาร่วมงานจากบริษัท ก. ถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ยังไม่สำเร็จจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องแบ่งเงิน 1 ล้านบาทจ่ายเป็นบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. สามีโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีมรดก: หากโจทก์ไม่มีพยานสนับสนุนข้ออ้าง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยพยานจำเลย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก่อนตามภาระการพิสูจน์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ปรากฏตามข้ออ้างของตน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีทายาท: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีจากผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ยื่นรายการเดิมถึงแก่ความตาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่ง เป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึง แก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่ง เป็นภรรยาของ อ. ในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ.แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้อง เสียภาษีเงินได้ของ อ.แต่ เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดย ไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้ วิธีคำนวณตาม ที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตาม นั้น ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ต่อ ศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีทายาท/ผู้จัดการมรดกได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ อ. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ
ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของ อ. แต่เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดยไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้วิธีคำนวณตามที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตามนั้น ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้
ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของ อ. แต่เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดยไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้วิธีคำนวณตามที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตามนั้น ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้