คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1599

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางผ่านที่ดินตกทอดแก่ทายาท แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยตามสัญญาระหว่างสามีโจทก์กับจำเลย แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และมิใช่สิทธิที่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของคู่สัญญาโดยแท้ เมื่อคู่สัญญาตายไปสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15991600.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกทอดแก่ทายาทได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิตามนิติกรรมเกี่ยวกับภารจำยอมนั้น แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และมิใช่สิทธิที่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของคู่สัญญาโดยแท้ เมื่อคู่สัญญาตายไป สิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกทอดแก่ทายาทได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิตาม นิติกรรมเกี่ยวกับภารจำยอมที่สามีโจทก์มีสิทธิที่จะใช้ ทางผ่านที่ดินจำเลยตาม สัญญาที่ทำไว้กับจำเลยและจำเลยได้ รับค่าตอบแทนไปแล้วนั้น แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้ มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 แต่ ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้ บังคับกันได้ ระหว่างคู่สัญญาและมิใช่สิทธิที่ตาม กฎหมายหรือว่าโดย สภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของสามีโจทก์โดย แท้ เมื่อสามีโจทก์ตาย ไป สิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่ง เป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 15991600.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่านที่ดินตกทอดแก่ทายาท แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยตามสัญญาระหว่างสามีโจทก์กับจำเลย แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งแลพาณิชย์ มาตรา 1299 แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และมิใช่สิทธิที่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของคู่สัญญาโดยแท้ เมื่อคู่สัญญาตายไปสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์สินโดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์โดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส-สินส่วนตัว-อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรม-ทรัพย์สินมรดก: การแบ่งทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตของคู่สมรสและผู้จัดการมรดก
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่ผู้ตายได้ยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมยกบ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรมให้ การให้ดังกล่าวจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มากเมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่าสมรสก็ตามก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, อำนาจปกครอง, และการคุ้มครองประโยชน์ผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, การใช้อำนาจปกครองขัดประโยชน์, การแบ่งแยกหุ้น
โจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งหุ้นมรดกของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายเป็นผู้ถือหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว เท่ากับขอให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 2 เอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ความหมายของมาตรา 1118 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงหุ้นจำนวนเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้น หุ้นเดียวต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1 จะขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น มรดกเพียงผู้เดียวในหุ้นมรดกทั้งหมดโดยอ้างมาตรา 1118หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในหุ้นมรดก: การแบ่งปันระหว่างทายาทและประโยชน์ของผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599, 1600, 1629(1), 1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574, 1575
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้
of 39