พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิระงับ ไม่เป็นมรดก
ในสัญญาเช่าไม่มีข้อตกลงให้ผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นในกรณีผู้เช่าตาย เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าซึ่งมีอยู่ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 ก็ระงับไป ไม่เป็นทรัพย์สินที่ตกทอดกันทางมรดก ผู้เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทย่อมมีสิทธิที่จะใช้ดุลพินิจให้ผู้ใดเช่าต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าซื้อและทายาทในการครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ และการแจ้งความร้องทุกข์ภายในอายุความ
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่กับผู้ให้เช่าซื้อ แต่ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นและมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อบุตรโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวย่อมตก ทอดมายังโจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่ง เมื่อจำเลยได้ยักยอกทรัพย์นั้นไปจากโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มอบรถยนต์คันพิพาทให้จำเลยซ่อมเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ จำเลยไม่ได้แจ้งราคาค่าซ่อมให้โจทก์ทราบโจทก์น่าจะทราบได้ในขณะนั้นหรือช่วงเวลานั้นแล้วว่าจำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันพิพาทเป็นของตนเอง โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินระยะเวลา 3 เดือนพ้นกำหนดอายุความ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อทายาทและการยักยอกทรัพย์: การพิสูจน์ความเสียหายและอายุความ
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่กับผู้ให้เช่าซื้อ แต่ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นและมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อใน สภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อบุตรโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดมายังโจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่ง เมื่อจำเลยได้ยักยอกทรัพย์นั้นไปจากโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มอบรถยนต์คันพิพาทให้จำเลยซ่อมเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ จำเลยไม่ได้แจ้งราคาซ่อมให้โจทก์ทราบ โจทก์น่าจะทราบได้ในขณะนั้นหรือช่วงเวลานั้นแล้วว่าจำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันพิพาทเป็นของตนเอง โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินระยะเวลา 3 เดือน พ้นกำหนดอายุความเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มอบรถยนต์คันพิพาทให้จำเลยซ่อมเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ จำเลยไม่ได้แจ้งราคาซ่อมให้โจทก์ทราบ โจทก์น่าจะทราบได้ในขณะนั้นหรือช่วงเวลานั้นแล้วว่าจำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันพิพาทเป็นของตนเอง โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินระยะเวลา 3 เดือน พ้นกำหนดอายุความเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องสืบพยานประเด็นทายาทอื่นเกี่ยวข้องหรือไม่ หากยังไม่ยุติ ศาลมิอาจงดสืบพยานได้
คดีก่อนโจทก์กับพวกฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกออกจากที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทคดีนี้ ประเด็นในคดีก่อนมีว่า โจทก์กับพวกมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกหรือไม่ แต่คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทจากจำเลย ประเด็นมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งร่วมกับจำเลยหรือไม่เพียงใด ประเด็นวินิจฉัยคดีทั้งสองมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่ง อ้างว่าทายาทอื่นไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกรายนี้แล้วคงเกี่ยวข้องเฉพาะโจทก์จำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกไปแล้ว และส่วนที่เหลือตกได้แก่จำเลยกับทายาทอีกคนหนึ่งดังนี้แสดงว่า นอกจากโจทก์จำเลยแล้ว มีทายาทอื่นยังประสงค์ขอรับส่วนแบ่งที่ดินมรดกด้วยซึ่งถ้าหากเป็นความจริง ส่วนแบ่งในที่ดินมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับย่อมต้องลดลงข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุตไม่ได้ การที่ศาลสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่งตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่ง อ้างว่าทายาทอื่นไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกรายนี้แล้วคงเกี่ยวข้องเฉพาะโจทก์จำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกไปแล้ว และส่วนที่เหลือตกได้แก่จำเลยกับทายาทอีกคนหนึ่งดังนี้แสดงว่า นอกจากโจทก์จำเลยแล้ว มีทายาทอื่นยังประสงค์ขอรับส่วนแบ่งที่ดินมรดกด้วยซึ่งถ้าหากเป็นความจริง ส่วนแบ่งในที่ดินมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับย่อมต้องลดลงข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุตไม่ได้ การที่ศาลสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่งตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองโดยเจ้าของร่วมและการไม่ถือว่าถูกแย่งการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกันและได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7-8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองปรปักษ์และการถือสิทธิร่วม
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกัน และได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7 - 8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3 ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดก แบ่งได้ระหว่างทายาทและคู่สมรส
เจ้ามรดกทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากผู้อื่น จดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 25 ปี เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของเจ้ามรดกได้ไปขอโอนชื่อผู้เช่าจากเจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อสัญญาเช่นเดิมและเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่อสัญญาเช่าใหม่ต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1เช่าตึกแถวพิพาทจึงเป็นการสืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้เช่าเดิมนั่นเอง เมื่อจำเลยที่ 1ขอโอนชื่อดังกล่าวแล้วได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการขายสิทธิให้จำเลยที่ 2 แสดงว่าสิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินและทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทที่จะแบ่งปันกันได้ เพื่อความสะดวกในการแบ่งมรดกสมควรตีราคาเป็นตัวเงินแล้วจึงแบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิเช่าและแบ่งมรดก: สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกที่สามารถแบ่งได้
เจ้ามรดกทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากผู้อื่น จดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 25 ปี เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของเจ้ามรดกได้ไปขอโอนชื่อผู้เช่าจากเจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อสัญญาเช่นเดิมและเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่อสัญญาเช่าใหม่ต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1 เช่าตึกแถวพิพาทจึงเป็นการสืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้เช่าเดิมนั่นเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขอโอนชื่อดังกล่าวแล้วได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการขายสิทธิให้จำเลยที่ 2 แสดงว่าสิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินและทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทที่จะแบ่งปันกันได้ เพื่อความสะดวกในการแบ่งมรดกสมควรตีราคาเป็นตัวเงินแล้วจึงแบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ไม่ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี
สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษามีอยู่ก่อนโจทก์ถึงแก่กรรม ย่อมตกทอดได้แก่ทายาทผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิที่จะขอเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และการยื่นคำร้องดังกล่าวไม่จำต้องยื่นภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์มรดณะ ตามบทบัญญัติมาตรา 42 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้เดิม: ไม่จำกัดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษามีอยู่ก่อนโจทก์ถึงแก่กรรม ย่อมตกทอดได้แก่ทายาทผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิที่จะขอเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599และการยื่นคำร้องดังกล่าวไม่จำต้องยื่นภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์มรดณะ ตามบทบัญญัติมาตรา 42 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.