คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1599

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกสิทธิเรียกร้องหนี้สิน: ทายาทมีสิทธิรับชำระหนี้แทนผู้ตาย แม้คำร้องใช้ถ้อยคำผิดพลาด
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบิดาของผู้ร้อง ระหว่างการบังคับคดีโจทก์ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับมรดกความของโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไป เช่นนี้วัตถุประสงค์ของผู้ร้องก็เพื่อมีสิทธิรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับจากจำเลย และเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ก่อนที่ตนจะถึงแก่กรรม สิทธิดังกล่าวจึงเป็นมรดกตก ทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 แม้ตามคำร้อง ของ ผู้ร้องจะใช้ข้อความว่าขอรับมรดกความก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้ถ้อยคำผิดพลาดไป การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงไม่จำต้องยื่นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา42 วรรคแรก ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องเข้ารับมรดกได้จึงมิใช่สั่งหรือพิพากษานอกเหนือไปจากคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่มีเจตนาค้าขาย ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
ที่ดินที่โจทก์ขายไป เดิม สามีโจทก์กับ ป. ร่วมกันซื้อมาเพื่อจัดสรรให้แก่บุคคลทั่วไป เมื่อสามีโจทก์ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีได้เลิกการเป็นหุ้นส่วนกับ ป. โดยตกลงแบ่งที่ดินเป็นของ ป. 66 แปลง เป็นของโจทก์ 53 แปลง เมื่อโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินทั้ง 53 แปลงมาแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการขายที่ดินนั้นต่อไปตามเจตนาเดิม ของเจ้ามรดก โดยโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ดังนี้ การค้าที่ดินของโจทก์เป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของ ป. รัษฎากรมาตรา 42(9) ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น จึงต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการขายที่ดินของโจทก์ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 11 ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าอีกด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิส่วนบุคคลจากการยินยอมให้ใช้ที่ดินไม่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อผู้รับประโยชน์ถึงแก่กรรม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันความว่า จำเลยยินยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ตกลงชำระเงินแก่จำเลย 2,500 บาท และยินยอมให้จำเลยปลูกผักบุ้งชาย คลองหน้าคันดินพิพาทด้วย ศาลพิพากษาตามยอมดังนี้ เมื่อที่พิพาทเป็นที่มีโฉนด มีชื่อ โจทก์ เป็นเจ้าของ การที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยสอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ย่อมหมายความว่า ยินยอมให้เฉพาะตัวจำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระเงิน 2,500 บาท ตอบแทนความยินยอมของจำเลยแล้ว ยังยินยอมให้จำเลยปลูกผักบุ้งที่ชาย คลองหน้าที่พิพาทอีก แสดงว่าไม่ใช่เป็นการยินยอมที่ให้ผูกพันตลอดไป ฉะนั้น เมื่อจำเลยตาย สิทธิของจำเลยย่อมระงับไปไม่ตก ทอดแก่ทายาท ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรจึงจะขอรับมรดกความต่อไปมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทรับผิดหนี้จากการละเมิดของลูกจ้าง: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
บ.ลูกจ้างของโจทก์ขับรถด้วยความประมาทชนขบวนรถไฟเป็นเหตุให้รถโจทก์และรถไฟเสียหาย ต่อมา บ.ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ.ในฐานะทายาทโดยธรรมให้รับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 และมาตรา 1629 วรรคสอง และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับ บ.ลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทายาทในหนี้ที่เกิดจากละเมิดของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
บ. ลูกจ้างของโจทก์ขับรถด้วยความประมาทชนขบวนรถไฟเป็นเหตุให้รถโจทก์และรถไฟเสียหาย ต่อมา บ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ. ในฐานะทายาทโดยธรรมให้รับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599,1600และ มาตรา 1629 วรรคสอง และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับ บ. ลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทในหนี้สินจากละเมิดของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
บ.ลูกจ้างของโจทก์ขับรถด้วยความประมาทชนขบวนรถไฟเป็นเหตุให้รถโจทก์และรถไฟเสียหาย ต่อมา บ.ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ.ในฐานะทายาทโดยธรรมให้รับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600 และมาตรา 1629 วรรคสองและเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับ บ.ลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จสงเคราะห์พนักงานถึงแก่กรรมเป็นสิทธิของทายาท ไม่ใช่ทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจฟ้อง
สิทธิในเงินบำเหน็จเพื่อสงเคราะห์พนักงานไฟฟ้านครหลวงตกได้แก่ทายาทเนื่องจากการตายของพนักงาน ไม่ใช่ทรัพย์สินที่พนักงานมีอยู่ในระหว่างมีชีวิตหรือมีอยู่ขณะตาย เงินจำนวนนี้จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานระบุให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของพนักงานที่ตาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้การไฟฟ้านครหลวงจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพนักงานถึงแก่กรรม: สิทธิของทายาท ไม่ใช่ทรัพย์มรดก
สิทธิในเงินบำเหน็จเพื่อสงเคราะห์พนักงานไฟฟ้านครหลวงตกได้แก่ทายาทเนื่องจากการตายของพนักงาน ไม่ใช่ทรัพย์สินที่พนักงานมีอยู่ในระหว่างมีชีวิตหรือมีอยู่ขณะตาย เงินจำนวนนี้จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานระบุให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของพนักงานที่ตาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้การไฟฟ้านครหลวงจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามโต้เถียงข้อเท็จจริงเดิม หลังศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้วในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นของโจทก์ จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เฉพาะที่ดินแปลงที่ 2 และที่ 3 ส่วนแปลงที่ 1 จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของบุคคลอื่นมิได้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 ซึ่งมีราคา 7,000 บาท และพอถือได้ว่าขณะยื่นฟ้องที่ดินดังกล่าวอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000 บาทด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยฟังว่าที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 กับแปลงที่ 2, ที่ 3 ไม่ใช่ของโจทก์คดีเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 นี้ ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: เมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้ว โต้แย้งข้อเท็จจริงเดิมไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นของโจทก์จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เฉพาะที่ดินแปลงที่2และที่3ส่วนแปลงที่1จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของบุคคลอื่นมิได้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแปลงที่1ซึ่งมีราคา7,000บาทและพอถือได้ว่าขณะยื่นฟ้องที่ดินดังกล่าวอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000บาทด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยฟังว่าที่ดินพิพาทแปลงที่1กับแปลงที่2,ที่3ไม่ใช่ของโจทก์คดีเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงที่1นี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248.
of 39