คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1599

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: เมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ไม่สามารถฎีกาข้อเท็จจริงเดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นของโจทก์ จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เฉพาะที่ดินแปลงที่ 2 และที่ 3 ส่วนแปลงที่ 1 จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของบุคคลอื่นมิได้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 ซึ่งมีราคา 7,000 บาท และพอถือได้ว่า ขณะยื่นฟ้องที่ดินดังกล่าวอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยฟังว่าที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 กับแปลงที่ 2, ที่ 3 ไม่ใช่ของโจทก์ คดีเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 นี้ ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขับไล่: การครอบครองปรปักษ์และการบอกเลิกสัญญาซื้อขายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการครอบครอง
ป.สามีโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่ามีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจากจำเลย โดยทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ ป. ยังค้างชำระราคาส่วนหนึ่งแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงโอนไปเป็นของ ป.ด้วยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องมอบการครอบครองกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของ ป. แต่ต่อมาวันที่ 31 ธันวาคม 2524 จำเลยไปขอรับเงินค่าที่ดินที่ค้างจาก ป.แต่ถูกปฏิเสธ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญากับ ป. และว่าจะไม่ยอมออกจากที่พิพาท หาก ป.ต้องการให้ไปฟ้องเอา ดังนี้ แม้จะไม่เป็นผลให้สัญญาซื้อขายระหว่าง ป.กับจำเลยเลิกกันก็ตาม แต่ก็เป็นการบอกกล่าวของจำเลยต่อ ป.ว่า ไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทน ป.ต่อไป อันเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าจำเลยมิได้ยึดถือที่พิพาทแทน ป.ต่อไปตาม มาตรา 1381 ป.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2525 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทอันเป็นการสืบสิทธิจาก ป.เจ้ามรดกเพิ่งนำคดีมาฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งที่ดินดังกล่าวจากจำเลยเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2526 ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2524 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยแย่งการครอบครอง โจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องเอาคืนที่พิพาทตาม มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์หลังบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการขาดอายุความฟ้องคดี
ป. สามีโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่ามีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจากจำเลยโดยทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ป. ยังค้างชำระราคาส่วนหนึ่งแก่จำเลยตามป.ที่ดินมาตรา4ทวิประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ข้อ2ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงโอนไปเป็นของป. ด้วยผลของกฎหมายไม่จำต้องมอบการครอบครองกันตามป.พ.พ.มาตรา1378การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของป. แต่ต่อมาเมื่อจำเลยไปขอรับเงินค่าที่ดินที่ค้างจากป. กลับถูกปฏิเสธจำเลยจึงบอกเลิกสัญญากับป. และว่าจะไม่ยอมออกจากที่พิพาทหากป.ต้องการให้ไปฟ้องเอาดังนี้แม้จะไม่เป็นผลให้สัญญาซื้อขายระหว่างป. กับจำเลยเลิกกันก็ตามแต่ก็เป็นการบอกกล่าวของจำเลยต่อป. ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนป. ต่อไปอันเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าจำเลยมิได้ยึดถือที่พิพาทแทนป.ต่อไปตามป.พ.พ.มาตรา1381การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทอันเป็นการสืบสิทธิจากป. เจ้ามรดกเพิ่งนำคดีมาฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งที่ดินดังกล่าวจากจำเลยเมื่อเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยแย่งการครอบครองโจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องเอาคืนที่พิพาทตามป.พ.พ.มาตรา1375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการขาดอายุความฟ้องร้องคดีครอบครองที่ดิน
ป.สามีโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่ามีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจากจำเลยโดยทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ป.ยังค้างชำระราคาส่วนหนึ่งแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา4ทวิประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ข้อ2ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงโอนไปเป็นของป.ด้วยผลของกฎหมายไม่จำต้องมอบการครอบครองกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1378การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของป.แต่ต่อมาวันที่31ธันวาคม2524จำเลยไปขอรับเงินค่าที่ดินที่ค้างจากป.แต่ถูกปฏิเสธจำเลยจึงบอกเลิกสัญญากับป.และว่าจะไม่ยอมออกจากที่พิพาทหากป.ต้องการให้ไปฟ้องเอาดังนี้แม้จะไม่เป็นผลให้สัญญาซื้อขายระหว่างป.กับจำเลยเลิกกันก็ตามแต่ก็เป็นการบอกกล่าวของจำเลยต่อป.ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนป.ต่อไปอันเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าจำเลยมิได้ยึดถือที่พิพาทแทนป.ต่อไปตามมาตรา1381ป.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่16พฤษภาคม2525การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทอันเป็นการสืบสิทธิจากป.เจ้ามรดกเพิ่งนำคดีมาฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งที่ดินดังกล่าวจากจำเลยเมื่อวันที่4มกราคม2526ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่31ธันวาคม2524ซึ่งเป็นวันที่จำเลยแย่งการครอบครองโจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องเอาคืนที่พิพาทตามมาตรา1375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมมีผลเหนือพินัยกรรม และถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้แก่จำเลยและจำเลยก็ทราบดีเพราะได้เซ็นชื่อเป็นผู้รับทรัพย์ในพินัยกรรมด้วย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไปยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินนั้นปรากฏว่ามีบันทึกข้อตกลงของทายาทว่าโจทก์และจำเลยมิได้ขอรับมรดกตามพินัยกรรม แต่ขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมและมีทายาทของผู้ตายอีก 2 คนขอสละมรดกเจ้าพนักงานที่ดินจึงได้จดทะเบียนลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าตามคำร้องขอรับมรดกและบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์จำเลยซึ่งขอรับมรดกอย่างทายาทโดยธรรมเพียง 2 คนย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งและต่างก็ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันและแทนกัน จำเลยจึงต้องแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ ต. ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตาย โดยขอให้ทายาทของ ต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น แม้ปรากฏว่า ขณะฟ้อง ต. ไม่มีทรัพย์มรดกและทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่น นั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อนำกลับมาเป็นมรดกชำระหนี้ และความรับผิดของทายาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ต.ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตายโดยขอให้ทายาทของต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น. แม้ปรากฏว่าขณะฟ้องต. ไม่มีทรัพย์มรดก และทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่นนั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ ตกทอดได้แก่ตน. การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต.ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว.แต่ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์.แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่. หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิด ชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิม หรือมาตรา 1490 ใหม่. ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับต.แล้ว. และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง. กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต. มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่ เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อม เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้. แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อ จำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยา ศาลตัดสินแบ่งมรดกตามส่วนได้
จำเลยกับ บ. ร่วมทำมาหาทรัพย์พิพาทมาได้ในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยกับ บ. จึงมีส่วนในทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง เมื่อ บ. ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทส่วนที่เป็นของ บ. จึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้เป็น มารดาและทายาทผู้เดียวของ บ. ผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำโดยผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วย การแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 5 ส่วน
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้เยาว์เกี่ยวข้อง โมฆะหากไม่มีอนุญาตศาล
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วยการแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ1ใน5 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)
of 39