พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3695/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิและหน้าที่จากสัญญาเช่าเดิมสู่ทายาท และอำนาจฟ้องขับไล่ผู้รุกล้ำ
บิดาโจทก์เช่าที่ดินวัดมาปลูกบ้าน แม้ต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอันมีผลให้สัญญาเช่าที่ดินระงับลงก็ตาม แต่โจทก์เป็นทายาทผู้รับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนมาซึ่งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ที่บิดาโจทก์มีต่อวัดผู้ให้เช่าเมื่อโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากวัดแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินที่เช่าทั้งแปลงติดต่อมาตั้งแต่บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์เช่าได้โดยวัดผู้ให้เช่าไม่จำต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าให้โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3695/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกสิทธิเช่าและการมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้รุกล้ำที่ดิน
บิดาโจทก์เช่าที่ดินวัดมาปลูกบ้าน แม้ต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอันมีผลให้สัญญาเช่าที่ดินระงับลงก็ตาม แต่โจทก์เป็นทายาทผู้รับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนมาซึ่งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ที่บิดาโจทก์มีต่อวัดผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากวัดแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินที่เช่าทั้งแปลงติดต่อมาตั้งแต่บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์เช่าได้โดยวัดผู้ให้เช่าไม่จำต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าให้โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนเช่าที่ดิน: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนมรดก
เจ้าของเดิมตกลงให้จำเลยที่ 1 และสามีเช่าที่พิพาทปลูกตึกแถวอยู่อาศัยกำหนด 30 ปี โดยจำเลยที่ 1 กับสามีต้องเสียค่าตอบแทนให้เจ้าของเดิมเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท เมื่อครบกำหนด 30 ปี แล้วตึกแถวที่จำเลยที่ 1 กับสามีสร้างขึ้นตกเป็นของเจ้าของเดิม ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1และสามีกับเจ้าของเดิมจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อเจ้าของเดิมถึงแก่กรรม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะภริยาผู้มีส่วนได้รับมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งเจ้าของเดิมมีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาต่างตอบแทนที่ตกลงกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนที่ดิน: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนมรดก
เจ้าของเดิมตกลงให้จำเลยที่ 1 และสามีเช่าที่พิพาทปลูกตึกแถวอยู่อาศัยกำหนด 30 ปี โดยจำเลยที่ 1 กับสามีต้องเสียค่าตอบแทนให้เจ้าของเดิมเป็นจำนวนเงิน 50,000บาท เมื่อครบกำหนด 30 ปีแล้วตึกแถวที่จำเลยที่ 1 กับสามีสร้างขึ้นตกเป็นของเจ้าของเดิม ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 และสามีกับเจ้าของเดิมจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อเจ้าของเดิมถึงแก่กรรม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะภริยาผู้มีส่วนได้รับมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งเจ้าของเดิมมีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาต่างตอบแทนที่ตกลงกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: อำนาจฟ้องของกรมสรรพากรและการดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต เจ้าพนักงานต้องแจ้งทายาท และการฟ้องขาดอายุความ
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้โดยยังมิได้จดทะเบียน: สิทธิในมรดก
การที่เจ้าของที่ดินได้มายื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อทางอำเภอยกที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลย ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่ดินประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบครองไม่ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 4ทวิ เมื่อการให้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เนื่องจากเจ้าของที่ดินถึงแก่กรรมเสียก่อนนิติกรรมการให้ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินดังกล่าวจึงยังเป็นมรดกของเจ้าของที่ดินอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินสงเคราะห์ตกทอด: การเปลี่ยนแปลงสถานะบุตรหลังการตายของเจ้ามรดกไม่มีผลย้อนหลัง
ในวันที่นาย ก. ถึงแก่ความตายโจทก์เป็นบุตรนอกสมรสยังมิได้มีฐานะเป็นทายาทของนาย ก. แม้ภายหลังจะมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับส่วนแบ่งในเงินสงเคราะห์ตกทอดจากการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยซึ่งมีข้อบังคับให้ตกทอดแก่ทายาทโดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 เป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยคำพิพากษาภายหลังการตายของเจ้ามรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการรับมรดกโดยตรง เมื่อเงินสงเคราะห์ตกทอดไม่ใช่มรดกจะนำมาตรา 1558 มาบังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 เป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยคำพิพากษาภายหลังการตายของเจ้ามรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการรับมรดกโดยตรง เมื่อเงินสงเคราะห์ตกทอดไม่ใช่มรดกจะนำมาตรา 1558 มาบังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและการสืบสิทธิในค่าชดเชยของทายาท
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานพ้นจากหน้าที่เมื่ออายุ 60 ปี แต่ก็อาจต่ออายุการทำงานให้ได้ มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง แต่เป็นเรื่องคุณสมบัติของลูกจ้าง เมื่อจำเลยให้พนักงานออกจากงานตามระเบียบนั้น จึงอยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ทรงเช็คเมื่อผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต และการโต้แย้งหนี้โดยผู้จัดการมรดก
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 992 ได้บัญญัติถึงหน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะใช้เงินตามเช็คอันเบิกแก่ตนนั้นว่าเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย เมื่อ ส. ผู้สั่งจ่ายตายโจทก์ในฐานะผู้ทรงซึ่งทราบอำนาจหน้าที่ของธนาคารตามข้อกฎหมายดังกล่าว จึงไม่จำต้องนำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารเสียก่อนกรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 990เมื่อ ส. ตายบรรดาทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ย่อมตกได้แก่ทายาทตามมาตรา1599,1600 จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้รับการบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินตามเช็คที่ ส. เป็นผู้สั่งจ่ายให้แก่โจทก์แล้วเพิกเฉยถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้เงินดังกล่าวได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2524)