พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม: ต้องแจ้งทายาทก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้น เจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อนจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนาคือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าวแม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึง สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600ถ้าผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองการบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้องและการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึง สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600ถ้าผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองการบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้องและการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต และสิทธิของทายาท
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อนจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนโจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนโจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและการแจ้งให้ทายาท/ผู้รับโอนทราบก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองป.พ.พ.มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชย/เงินกองทุนเลี้ยงชีพ/ประกันชีวิตหลังเสียชีวิต ไม่เป็นสินสมรส/มรดก แต่เป็นสิทธิ/หน้าที่ตามสัญญา/ระเบียบ
ป.พ.พ.มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน เมื่อ ณ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง ณ.และโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ.ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม จึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ.สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ป.พ.พ.มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้นหาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ.จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ.กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของ ณ.อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ.ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ.ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ.ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ.ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม จึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ.สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ป.พ.พ.มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้นหาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ.จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ.กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของ ณ.อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ.ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ.ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ.ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินชดเชย, เงินกองทุนเลี้ยงชีพ, และเงินประกันชีวิตหลังการเสียชีวิต มิใช่สินสมรสหรือมรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน เมื่อ ณ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง ณ. และโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ. สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ. จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ. กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของณ. อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ. ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ. ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ. ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ. สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ. จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ. กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของณ. อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ. ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ. ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ. ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนำที่ดินเมื่อผู้จำนำและผู้รับจำนำถึงแก่ความตาย และการขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ. 118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายลัทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ.สิทธิและหน้าที่ของซ. ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาทกองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาท ของ ข.ดังนี้ ทายาทของ ซ.ผู้จำนำ จึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้นและตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำ จากกองมรดกของ ข. จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข. มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่ง มีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาล ให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนำหลังเจ้าหนี้และผู้จำนำถึงแก่ความตาย การตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข.เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายสิทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ. สิทธิและหน้าที่ของ ซ.ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาท กองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาทของ ข. ดังนี้ ทายาทของ ซ. ผู้จำนำจึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้น และตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำจากกองมรดกของ ข.จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข.มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งมีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข.ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับพินัยกรรมและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ศ.ภริยาของช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของศ.ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของศ.มิใช่ทายาทโดยธรรมและไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ. ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ซึ่งมีทรัพย์สิน ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566เมื่อศ. ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ศ. มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของช. ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกในการเป็นผู้จัดการมรดกของคู่สมรส
ศ.ภริยาของ ช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของ ศ. มิใช่ทายาทโดยธรรม และไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และ ศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ.ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ.ซึ่งมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับ ช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566 เมื่อ ศ.ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ ศ.มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว และถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของ ช.ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1713 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน, การซื้อขาย, การบุกรุก, และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
โจทก์ตกลงแบ่งขายที่ดินของโจทก์ตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 53จำนวน 7 ไร่ ซึ่งเป็นที่พิพาทในคดีนี้ให้แก่ ส. แต่ยังไม่ทันได้รับมอบการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว ส.ถึงแก่กรรมเสียก่อน แม้สิทธิตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทจะเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ส.ก็ตาม แต่ก็จะต้องว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหากอีกกรณีหนึ่ง ส่วนสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมยังคงเป็นของโจทก์อยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนเสาพร้อมสายรั้วลวดหนามที่กั้นออกไปจากที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่า เดิมที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ขายให้ ส. ต่อมาก่อน ส.ถึงแก่กรรมได้ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาตามคำให้การของจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 ได้ เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ตามที่จำเลยฎีกา
โจทก์เป็นสามี ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำละเมิดต่อโจทก์ และฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายในที่ดินโจทก์ เมื่อไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1476 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8 และในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ฉะนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์โดยการนำรถแทรกเตอร์ไถแล้วปรับสภาพดินกับยังไม่ได้ล้อมรั้วรอบที่พิพาท อันถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองในอันที่โจทก์จะเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาท และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้เองได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนเสาพร้อมสายรั้วลวดหนามที่กั้นออกไปจากที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่า เดิมที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ขายให้ ส. ต่อมาก่อน ส.ถึงแก่กรรมได้ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาตามคำให้การของจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 ได้ เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ตามที่จำเลยฎีกา
โจทก์เป็นสามี ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำละเมิดต่อโจทก์ และฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายในที่ดินโจทก์ เมื่อไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1476 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8 และในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ฉะนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์โดยการนำรถแทรกเตอร์ไถแล้วปรับสภาพดินกับยังไม่ได้ล้อมรั้วรอบที่พิพาท อันถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองในอันที่โจทก์จะเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาท และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้เองได้