คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2788/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศไม่กระทบเจตนาพิเศษ
การที่เครื่องหมายการค้าคำว่า FOX-D เครื่องหมายการค้า และ ของโจทก์ร่วมได้มีการจดทะเบียนในประเทศไทยโดยชอบแล้วมาตั้งแต่ปี 2513 ปี 2518 และปี 2536 โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีสิทธิเพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามดังกล่าวสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 หากบุคคลอื่นเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมดังกล่าวไปใช้กับสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมโดยชอบแล้ว ก็ย่อมมีความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วม หรือถ้าได้มีการจัดทำเครื่องหมายการค้าขึ้นโดยการดัดแปลงแก้ไขให้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมแล้ว ก็ย่อมมีความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมได้
เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จนถึงเวลาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 114 ดังกล่าวโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ และปรากฏว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดมากกว่ากฎหมายเดิม เพราะตามมาตรา 114 เดิม โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้กระทำความผิดเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการและผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย หน้าที่พิสูจน์ให้พ้นความผิดจึงตกอยู่แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ตามมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่หน้าที่พิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตกอยู่แก่โจทก์ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น กรณีจึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้กระทำความผิดทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า สินค้าที่จำเลยทั้งสามผลิตโดยใช้เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะไม่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทยโดยจำเลยทั้งสามส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศทั้งหมดก็ตาม แต่เจตนาพิเศษที่จำเลยทั้งสามได้กระทำขึ้นเพื่อให้ประชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมนั้น เป็นเจตนาพิเศษของจำเลยทั้งสามที่เกิดขึ้นเมื่อจำเลยทั้งสามเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า เมื่อมีผู้พบเห็นแล้วจะได้หลงเชื่อในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทั้งสามได้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
คำว่า "ประชาชน" ตามความหมายในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หมายถึงบุคคลอื่นโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นคนใดคนหนึ่งหรือเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศแต่อย่างใด หากได้เคยเห็นหรือเคยรู้ว่าเครื่องหมายการค้า BOSNY เป็นของโจทก์ร่วมแล้วได้มาเห็นเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปและคำว่า BOTNY ก็ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษครบองค์ประกอบความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแจ้งความเท็จ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีบัตรประชาชน
ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505(ฉบับเก่า) ยังมีผลบังคับใช้อยู่แม้ต่อมาพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526(ฉบับใหม่) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) แต่การยื่นคำขอรับบัตรโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสัญชาติไทย พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่)ก็ยังบัญญัติเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม โดยมาตรา 14 ได้ระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) ดังนั้น พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่) จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) มาตรา 17 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงมีอายุความเพียง5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 จึงเลยกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำผิด คดีจึงขาดอายุความ ต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7217/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดและลงโทษกรรมเดียวในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขพิพากษาศาลล่าง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขาย คำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษหนักกว่าโทษในความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89 จึงต้องปรับบทความผิดจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นบทกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ ส่วนการมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ใน ครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น แม้ของกลางจะมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ที่ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวถือเป็นกฎหมายในส่วนที่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า โดยต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 67 แต่เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองมีไว้เพื่อขายและ เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกันและเป็นการมีไว้ในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว คงลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ที่เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางทั้งสองจำนวนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษในประเภทเดียวกันไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันจึงเป็นการกระทำความผิดอันเป็นกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพียงกรรมเดียว อันเป็นส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า และซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทที่มีโทษหนักที่สุดบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3, 90 แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นความผิด 2 กรรมเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลมิได้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงไม่อาจให้ริบ เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของกระทรวงสาธารณสุขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6989/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: เจ้าของสถานค้าประเวณีจัดหาหญิงเพื่ออนาจาร ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่า 18 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก กับฐานเป็นเจ้าของกิจการผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503มาตรา 9 เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทั้งเจ้าของกิจการร้านอาหารอันเป็นสถานการค้าประเวณีและเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงด้วย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีฯมาตรา 4 คำว่า จัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วย ก็หมายถึงการเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงตาม ป.อ.มาตรา 282วรรคแรก ทั้งการตั้งสถานการค้าประเวณีก็เห็นได้ชัดแจ้งว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากจำเลยกระทำความผิดแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.อ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 ให้ยกเลิกความในมาตรา 282 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน กับมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539ออกมาใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิก พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 แต่ ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษเท่าเดิมส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และ 11ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษฐานเป็นธุระจัดหาหรือล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีและฐานเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ระวางโทษสูงกว่าความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 และ 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6410/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานค้าประเวณีและจัดหาเพื่อให้มีการค้าประเวณี แม้มีการแก้ไขกฎหมาย แต่กฎหมายเดิมยังใช้บังคับย้อนหลังได้
ขณะจำเลยกระทำความผิด พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 ยังใช้บังคับอยู่ และ ป.อ. มาตรา 282 ยังมิได้มีการแก้ไข แม้ต่อมาก่อนคดีถึงที่สุด พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 และมีการแก้ไข ป.อ. มาตรา 282 แต่การเป็นเจ้าของกิจการค้าประเวณีหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและการเป็นธุระจัดหาเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นก็ยังถือว่าเป็นความผิดอยู่ และกฎหมายที่บัญญัติใหม่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้ พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 และ ป.อ. มาตรา 282 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดบังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้มีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ยกเว้น แต่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายไปไม่เกิน 0.500 กรัม ที่จะไม่เป็นความผิดตามกฎหมายนั้นผู้กระทำต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งเมทแอมเฟตามีนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 21 มาตรา 30 และมาตรา 62 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่ตามข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งเมทแอมเฟตามีนและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้ขายเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่จำเลยมีไว้เพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีนมีน้ำหนัก 0.45 กรัม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2538 เวลากลางวัน จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขาย เมทแอมเฟตามีนมิใช่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองซึ่งเป็นความผิดคนละฐาน แม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก็ตาม จำเลยจะนำ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และมาตรา 67 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มาใช้บังคับไม่ได้ ทั้งโทษฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลย กรณีของจำเลยจึงต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยให้การรับสารภาพ และปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามช่วงเวลาที่กระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้มีชื่อจำนวน 55 คน ได้กระทำผิดด้วยการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์บรรยาย มาในคำฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาก็เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่การกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับจึงต้องปรับบทให้ถูกต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6970/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปรับบทความผิดจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ เมื่อเมทแอมเฟตามีนถูกระบุเป็นยาเสพติดให้โทษ
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเพื่อขายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกัน และถูกจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุ แห่งการกระทำต่างชนิดกัน แต่เมื่อเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดต่อบทกฎหมายมาตราเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เมื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 แล้ว แต่ไม่ถึง 20 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ไม่เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอีกต่อไป เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันกับมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบท ลงโทษมาตรา 67 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และการริบเมทแอมเฟตามีนก็ไม่อาจริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้เพราะ ไม่ได้ลงโทษตามาตรา 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้ขับรถที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ.ขนส่งทางบกแก้ไขโทษหนักกว่ากฎหมายยาเสพติด
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มี พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา127 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 และให้เพิ่มความในวรรคสองของมาตรา127 ทวิ ว่า "ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 102(3 ทวิ)หรือ (3 ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม"จึงต้องลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 127 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้ขับรถที่เสพยาเสพติด: การพิจารณาโทษตามกฎหมายจราจรและยาเสพติด และการรอการลงโทษ
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2542 มาตรา 6ให้ยกเลิกความในมาตรา 127 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2535 และให้เพิ่มความในวรรคสองของมาตรา 127 ทวิ ว่า "ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 102(3 ทวิ)หรือ (3 ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม" จึงต้องลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 127 ทวิ วรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
of 50