พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6010/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในละเมิดจากการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้กระทำละเมิดและผลกระทบของการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน รวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 นั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลในคดีแพ่งจำต้องถือตามจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ถึงที่สุดแล้ว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำแถลงของจำเลยที่ 3 ว่า ในคดีอาญาดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความ ตามสำเนาคำสั่งศาลอุทธรณ์และสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ท้ายคำแถลง เมื่อคดีอาญาในส่วนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้จำหน่ายคดีไปโดยไม่ได้พิจารณาและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ย่อมไม่มีข้อเท็จจริงอันถึงที่สุดในคดีอาญาที่ศาลในคดีนี้จำต้องถือตาม การวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีนี้ย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอม: การแยกพิจารณาความผิดแต่ละกรรมและข้อยกเว้นโทษ
จำเลยปลอมเช็คของผู้เสียหายที่ 1 รวม 3 ฉบับ และนำเช็คที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าว 2 ฉบับ ไปใช้อ้างต่างกรรมต่างวาระ รวม 3 ครั้ง จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม รวม 3 กระทง ตามจำนวนครั้งที่นำตั๋วเงินปลอมออกใช้ แต่สำหรับเช็คฉบับเลขที่ 00134343 ซึ่งจำเลยทำปลอมขึ้นนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำออกใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินสำหรับเช็คฉบับนี้ตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) ด้วยอีกกระทงหนึ่ง
การปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เป็นความผิดต่างกรรมกับการใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก เพียงแต่มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ใช้ตั๋วเงินปลอม ซึ่งเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินนั้นรับโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมแต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยทำปลอมเช็คฉบับเลขที่ 00134446 และใช้แสดงต่อ ภ. จึงต้องลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก แต่เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่เมื่อต่อมาจำเลยใช้เช็คฉบับนี้แสดงต่อ ณ. โดยไม่ได้ปลอมเช็คดังกล่าวขึ้นอีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตามมาตรา 266 (4) อีก คงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก
การปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เป็นความผิดต่างกรรมกับการใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก เพียงแต่มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ใช้ตั๋วเงินปลอม ซึ่งเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินนั้นรับโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมแต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยทำปลอมเช็คฉบับเลขที่ 00134446 และใช้แสดงต่อ ภ. จึงต้องลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก แต่เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่เมื่อต่อมาจำเลยใช้เช็คฉบับนี้แสดงต่อ ณ. โดยไม่ได้ปลอมเช็คดังกล่าวขึ้นอีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตามมาตรา 266 (4) อีก คงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ แม้ทุจริตก็ยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดหน่วยลงทุนพิพาท ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 กระทำโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ในการขายทอดตลาด หรือกระทำโดยทุจริต หรือแม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นความผิดอาญา ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนให้บุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงและบุคคลภายนอกได้นำหน่วยลงทุนดังกล่าวขายคืนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนพิพาทกลับมาเป็นของ ก. ลูกหนี้ของโจทก์ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเสนอซื้อหรือเสนอขายได้ตลอด ทำให้ไม่มีหน่วยลงทุนพิพาทของลูกหนี้โจทก์หลงเหลืออยู่ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยให้ชดใช้เงินกลับคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนให้บุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงและบุคคลภายนอกได้นำหน่วยลงทุนดังกล่าวขายคืนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนพิพาทกลับมาเป็นของ ก. ลูกหนี้ของโจทก์ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเสนอซื้อหรือเสนอขายได้ตลอด ทำให้ไม่มีหน่วยลงทุนพิพาทของลูกหนี้โจทก์หลงเหลืออยู่ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยให้ชดใช้เงินกลับคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่ง คสช. 6/2562 ยกเว้นโทษทางอาญาธุรกิจโรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาต หากแจ้งและปรับปรุงความปลอดภัยตามเกณฑ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ปรากฏว่า ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2562 เรื่อง มาตรการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรมบางประเภท ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งใช้อาคารในการประกอบธุรกิจโรงแรมในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และอาคารนั้นมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนการประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบถึงการฝ่าฝืนและดำเนินการปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พร้อมทั้งยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจสอบ เอกสารท้ายฎีกาของจำเลย เป็นหนังสือขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ถึง ม. ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่เกิดเหตุ เรื่อง การแก้ไขอาคารตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2562 โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาพร้อมเอกสารดังกล่าว มิได้โต้แย้ง จึงรับฟังหลักฐานได้ว่า สถานที่ประกอบกิจการของ ม. ได้ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จเรียบร้อย ซึ่งตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวกำหนดให้ได้รับยกเว้นโทษทางอาญา ถือว่าเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเว้นโทษให้ผู้กระทำความผิด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8595/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา: ประจักษ์พยานสำคัญกว่าพยานบอกเล่า แม้มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
ผู้เสียหายเคยมาศาลแต่มีเหตุต้องเลื่อนการพิจารณา ต่อมาปรากฏตามหนังสือของสถานีตำรวจภูธร ท. แจ้งมายังโจทก์ว่าได้ส่งหมายเรียกให้ผู้เสียหายโดยมี ท. ตาของผู้เสียหายรับหมายเรียกพยานไว้แทนและ ท. แจ้งว่าบิดาของผู้เสียหายได้มารับตัวผู้เสียหายไปอยู่ด้วยที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ทราบว่าไปพักอาศัยหรือทำงานอยู่ที่ใด ซึ่งเมื่อปรากฏตามสำเนาสูติบัตรของผู้เสียหายแนบท้ายคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าบิดาของผู้เสียหายชื่อ ด. พร้อมระบุหมายเลขประจำตัวประชาชนของ ด. แสดงว่าย่อมสามารถตรวจสอบข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อหาที่อยู่ของ ด. และผู้เสียหายได้ เชื่อว่ายังอยู่ในวิสัยที่จะติดตามผู้เสียหายมาเบิกความได้ จึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) ส่วนบันทึกคำให้การของผู้เสียหายและบันทึกภาพและเสียงคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายซึ่งให้การต่อหน้าบุคคลในสหวิชาชีพและในเวลาหลังเกิดเหตุไม่นาน ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อม จึงน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ตามมาตรา 226/3 วรรคสอง (1)
สำหรับ ส. ซึ่งหลบหนีไปจากภูมิลำเนาไม่สามารถติดต่อได้ และจับกุมไม่ได้ตามหมายจับ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุผลสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำให้การของ ส. ในชั้นสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2)
สำหรับ ส. ซึ่งหลบหนีไปจากภูมิลำเนาไม่สามารถติดต่อได้ และจับกุมไม่ได้ตามหมายจับ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุผลสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำให้การของ ส. ในชั้นสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5148/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันคุมขังเพื่อหักโทษ ต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลออกหมายขัง ไม่นับรวมวันถูกคุมขังในคดีอื่น
การที่จะเริ่มนับวันที่จำเลยถูกคุมขังเพื่อหักวันที่ถูกคุมขังให้จำเลยนั้น จะนำวันที่จำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นมาหักจากโทษจำคุกในคดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้ ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 และศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยในวันดังกล่าว จึงต้องเริ่มนับวันที่จำเลยถูกคุมขังนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้ คือวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 จำเลยจึงถูกคุมขังมาเพียง 1 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ามนุษย์จากแรงงานต่างด้าว: การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กและแรงงานต่างด้าวที่ถูกบังคับใช้แรงงาน
"การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 เป็นนิยามที่มุ่งหมายถึงการกระทำอย่างอื่นที่มีลักษณะของการบีบบังคับเพื่อหาผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นของการเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กและเป็นลูกจ้างต้องทำงานตั้งแต่เวลา 2 หรือ 3 นาฬิกา จนถึง 18 นาฬิกา เฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง ต่อวันทุกวัน และได้รับค่าจ้างเฉลี่ยแล้วไม่ถึง 200 บาท ต่อวัน ซึ่งเทียบกับเวลาทำงานแล้วถือว่าต่ำมาก ทั้งหากทำงานไม่ครบกำหนดเวลาก็จะไม่ได้ค่าจ้าง โดยไม่มีวันหยุดปกติและไม่ได้ค่าล่วงเวลาและค่าจ้างพิเศษ มีเวลาพักระหว่างทำงานในช่วงรับประทานอาหารเช้าและกลางวันครั้งละไม่เกิน 15 ถึง 30 นาที และต้องทำงานเหมือนผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงเจตนาเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมและเป็นการขูดรีดโดยจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์อันเป็นมูลค่าส่วนเกินจากการทำงานปกติของลูกจ้างโดยให้ทำงานเกินเวลาและเกินความคุ้มค่าการทำงานของลูกจ้างอย่างมาก แต่ลูกจ้างกลับได้รับค่าจ้างในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าปริมาณงานที่ทำ โดยอาศัยเงื่อนไขว่าหากทำงานไม่ครบเวลาทำงานต่อวันจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันนั้นมาเป็นวิธีการบังคับให้ผู้เสียหายไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำงานให้ได้ค่าจ้างครบ อันเป็นการบีบบังคับเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเข้าองค์ประกอบของเจตนาที่แสวงหาประโยชน์โดยวิธีการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำการค้ามนุษย์
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กและเป็นลูกจ้างต้องทำงานตั้งแต่เวลา 2 หรือ 3 นาฬิกา จนถึง 18 นาฬิกา เฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง ต่อวันทุกวัน และได้รับค่าจ้างเฉลี่ยแล้วไม่ถึง 200 บาท ต่อวัน ซึ่งเทียบกับเวลาทำงานแล้วถือว่าต่ำมาก ทั้งหากทำงานไม่ครบกำหนดเวลาก็จะไม่ได้ค่าจ้าง โดยไม่มีวันหยุดปกติและไม่ได้ค่าล่วงเวลาและค่าจ้างพิเศษ มีเวลาพักระหว่างทำงานในช่วงรับประทานอาหารเช้าและกลางวันครั้งละไม่เกิน 15 ถึง 30 นาที และต้องทำงานเหมือนผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงเจตนาเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมและเป็นการขูดรีดโดยจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์อันเป็นมูลค่าส่วนเกินจากการทำงานปกติของลูกจ้างโดยให้ทำงานเกินเวลาและเกินความคุ้มค่าการทำงานของลูกจ้างอย่างมาก แต่ลูกจ้างกลับได้รับค่าจ้างในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าปริมาณงานที่ทำ โดยอาศัยเงื่อนไขว่าหากทำงานไม่ครบเวลาทำงานต่อวันจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันนั้นมาเป็นวิธีการบังคับให้ผู้เสียหายไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำงานให้ได้ค่าจ้างครบ อันเป็นการบีบบังคับเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเข้าองค์ประกอบของเจตนาที่แสวงหาประโยชน์โดยวิธีการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำการค้ามนุษย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบกิจการ/ดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานประกอบวิชาชีพโดยมิได้มีคุณสมบัติ ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตซึ่งตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตทั้งสองกรณีแตกต่างกัน แสดงว่าในแต่ละฐานความผิดต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาแตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และเป็นการกระทำที่ต่างจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หรือประกอบโรคศิลปะโดยมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ การกระทำของจำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ดี หรือฐานดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ดี กับความผิดฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ฐานประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์และฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวน: ลดโทษรอการลงโทษเนื่องจากจำเลยสำนึกผิดและบรรเทาความเสียหาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐ จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีในส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ตอนท้าย และคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งจะต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง กับต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งโดยยังมิได้สอบคำให้การจำเลย จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ จึงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนแพ่ง ให้ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยในคดีส่วนแพ่ง แล้วพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ชายทะเล การพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการบังคับใช้กฎหมายที่ดิน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ชายทะเล และอยู่นอกเขต น.ส. 3 ก. ของบิดาจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าบุคคลใดมีเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว จึงถือว่าเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 108 วรรคหนึ่ง หรือต้องมีการเวนคืนให้ที่ดินตกมาเป็นของรัฐ หรือร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเสียก่อน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า ในระหว่างอุทธรณ์ ไม่ให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารอันเป็นมูลกรณีแห่งการอุทธรณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง ระหว่างจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ได้
เมื่อจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 และ ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ ได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหาก เพราะเป็นการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า ในระหว่างอุทธรณ์ ไม่ให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารอันเป็นมูลกรณีแห่งการอุทธรณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง ระหว่างจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ได้
เมื่อจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 และ ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ ได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหาก เพราะเป็นการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่