พบผลลัพธ์ทั้งหมด 498 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้กระทำความผิดและการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
กรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดในคดีนี้ จำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ จึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 75 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดอันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15623/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพพรรคการเมืองและคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ศาลฎีกายกเหตุอุทธรณ์นอกฟ้อง และแก้ไขบทความผิด
จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยสมัครเป็นสมาชิกของพรรคคนขอปลดหนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และพรรคได้แจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาซึ่งมีจำเลยด้วยไปยังนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2549 โดยมีการตีตรารับเอกสารไว้ จำเลยจึงเป็นสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยโต้เถียงว่าจำเลยไม่ทราบมาก่อนว่าพรรคคนขอปลดหนี้ไม่ได้แจ้งชื่อจำเลยเป็นสมาชิกพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงในข้อที่ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เนื่องจากจำเลยได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้โดยถูกต้องตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 หลังจากนั้นเป็นเรื่องของพรรคที่จะต้องส่งชื่อจำเลยไปยังนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่เกี่ยวกับจำเลย และแม้จำเลยจะอ้างในอุทธรณ์อีกว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยเป็นสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ก็ยังคงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงในประเด็นที่ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดโดยมีพยานหลักฐานตามที่จำเลยนำสืบ ซึ่งรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้อยู่นั่นเอง จึงหาใช่เป็นการอุทธรณ์นอกฟ้อง นอกประเด็น อันจะทำให้เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 บังคับใช้ โดยมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แล้วก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 139 ยังคงบัญญัติให้การสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นความผิดและต้องรับโทษโดยระวางโทษเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 100 ดังนี้ จึงมิใช่เป็นกรณีบทบัญญัติในภายหลังบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป หรือเป็นคุณแก่จำเลยกว่าบทบัญญัติของกฎหมายเดิม จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ดังกล่าว ทั้งนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง และมาตรา 3
ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 30 โดยที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค อันจะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 เป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้าง และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 บังคับใช้ โดยมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แล้วก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 139 ยังคงบัญญัติให้การสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นความผิดและต้องรับโทษโดยระวางโทษเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 100 ดังนี้ จึงมิใช่เป็นกรณีบทบัญญัติในภายหลังบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป หรือเป็นคุณแก่จำเลยกว่าบทบัญญัติของกฎหมายเดิม จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ดังกล่าว ทั้งนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง และมาตรา 3
ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 30 โดยที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค อันจะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 เป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้าง และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15229/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข กรณีคดีถึงที่สุดก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่
การที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้นั้นจะต้องปรากฏว่า ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนวันที่กฎหมายใหม่จะประกาศใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) เมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 5) ซึ่งแก้ไขใหม่ตามที่จำเลยอ้างมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ซึ่งเป็นวันก่อนที่คดีของจำเลยจะถึงที่สุด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารรุกล้ำเขตที่ดิน แม้ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ยังต้องรับผิดชอบต่อการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เมื่ออาคารที่จำเลยครอบครองต่อจาก ส. ซึ่งถึงแก่ความตาย ปลูกสร้างห่างจากเขตที่ดินข้างเคียง 45 เซนติเมตร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงและเทศบัญญัติของเทศบาลเมืองสวรรคโลก เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2500 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 แม้ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดข้อยกเว้นให้สามารถก่อสร้างผนังของอาคารห่างเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตรได้ หากได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงในกรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดิน และ ช. เจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ทำหนังสือยินยอมเช่นว่าให้แก่ ส. ซึ่งเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว อันแตกต่างไปจากกฎหมายเดิมที่ใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นกฎหมายยกเว้นความผิดของจำเลยที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นความผิดสำเร็จไปแล้วกลับกลายเป็นไม่เป็นความผิด จำเลยจึงยังไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 แต่เมื่อจำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารพิพาทโดยผลของกฎหมายดังกล่าว ก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยรายวันไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ คงลงโทษปรับจำเลยรายวันได้เพียงถึงวันก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษปรับรายวันนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นแม้เป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษปรับรายวันนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นแม้เป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับแก้บทลงโทษหลังคดีถึงที่สุด ศาลไม่อำนาจแก้ไขคำพิพากษา แม้กฎหมายเปลี่ยนแปลง
ขณะจำเลยที่ 3 กระทำความผิดคดีนี้ มาตรา 15 และ มาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 3 แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วหากจำเลยที่ 3 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยที่ 3 ชอบที่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 3 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุดไปนานแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ โดยอ้างข้อกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 3 ดังนี้หากศาลฟังข้อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 อ้างแล้ววินิจฉัยปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำรับสารภาพชั้นจับกุมในการพิจารณาคดีอาญา เมื่อกฎหมายแก้ไขภายหลังการกระทำผิด
จำเลยกระทำความผิดในขณะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟังคำให้การชั้นจับกุมมาประกอบการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานของโจทก์ การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว กระทำโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22 )ฯ ซึ่งเป็นการแก้ไขในภายหลังจากการจับจำเลย บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่มิได้ให้มีผลย้อนหลังไปถึงคดีที่ได้ดำเนินการจับกุมมาก่อนแล้วหน้านี้ บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่จึงไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการจับจำเลยซึ่งได้กระทำก่อนหน้าที่มีการแก้ไขแล้วซึ่งชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้น ดังนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจนำคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยมาประกอบการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินมีผลย้อนหลังทำให้ไม่สามารถเพิ่มโทษจำเลยได้ แม้คดีถึงที่สุดก่อนบังคับใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีมีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุที่ขอให้เพิ่มโทษ จำเลยที่ 3 ได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 3 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 3 หรือไม่ ทั้งปัญหาว่าเมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวและไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนกระทำชำเรา: การกระทำที่แสดงเจตนาแม้ไม่ได้ลงมือโดยตรง
แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยร่วมลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยยืนถอดเสื้อออกเปลือยกายล้อมรอบผู้เสียหายและนั่งคุกเข่าข้างตัวผู้เสียหาย ซึ่งหากจำเลยไม่ใช่พวกคนร้ายและไม่มีเจตนาจะร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะนั้นแล้ว จำเลยไม่น่าจะเข้าไปเปลือยกายอยู่ข้างตัวผู้เสียหายในลักษณะที่พร้อมจะกระทำความผิดได้ การที่จำเลยเปลือยกายอยู่ข้างตัวผู้เสียหายในลักษณะที่พร้อมที่จะร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับพวกฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงด้วยแล้วตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด เนื่องจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในภายหลังไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับใช้กฎหมายอาญาเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างการกระทำความผิด และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
ตามมาตรา 2 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" เมื่อมีการประกาศใช้วันที่ 4 มีนาคม 2551 การเริ่มต้นนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น คือ 5 มีนาคม 2551 เป็นวันที่หนึ่ง ซึ่งจะครบ 90 วัน ในวันที่ 2 มิถุนายน 2551
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจาก พ.ร.บ.เทป/วีดิทัศน์ เป็น พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ และผลกระทบต่อการลงโทษจำเลย
แม้จะมี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 3 (4) บัญญัติยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ทั้งฉบับ แต่ตามกฎหมายใหม่มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามศัพท์ "ภาพยนตร์" ไว้ว่า หมายถึง วัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องและมาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น เมื่อแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ซึ่งตามปกติแล้วย่อมเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แผ่นดีวีดีภาพยนตร์จึงเป็นวัสดุที่มีลักษณะเข้านิยามคำว่าภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่ การที่จำเลยจำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงยังคงเข้าลักษณะเป็นการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายใหม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่นั้นมีระวางโทษตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่โดยไม่มีโทษจำคุก ซึ่งต่างจากความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปและวัสดุโทรทัศน์ตามกฎหมายเก่าซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 34 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษตามกฎหมายใหม่ที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเก่าที่มีโทษจำคุกด้วย จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าบังคับแก่คดี เมื่อโทษตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณมากกว่ามีเพียงเฉพาะโทษปรับกรณีจึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ได้
เมื่อโทษปรับตามกฎหมายเก่าลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาท แต่โทษตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ปรับอย่างน้อยที่สุดขั้นต่ำตั้งแต่สองแสนบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีก โทษปรับตามกฎหมายเก่าจึงเป็นคุณมากว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเก่า เพราะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่นั้นมีระวางโทษตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่โดยไม่มีโทษจำคุก ซึ่งต่างจากความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปและวัสดุโทรทัศน์ตามกฎหมายเก่าซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 34 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษตามกฎหมายใหม่ที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเก่าที่มีโทษจำคุกด้วย จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าบังคับแก่คดี เมื่อโทษตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณมากกว่ามีเพียงเฉพาะโทษปรับกรณีจึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ได้
เมื่อโทษปรับตามกฎหมายเก่าลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาท แต่โทษตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ปรับอย่างน้อยที่สุดขั้นต่ำตั้งแต่สองแสนบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีก โทษปรับตามกฎหมายเก่าจึงเป็นคุณมากว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเก่า เพราะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3