พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับโครงการสวัสดิการลูกจ้างที่ให้ลูกจ้างสละสิทธิเงินโบนัสหากลาออก เป็นการได้เปรียบเกินควร ศาลสั่งให้ใช้บังคับตามสมควร
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนสมัครเข้าร่วมโครงการ โจทก์ทราบข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามข้อบังคับโครงการที่ระบุห้ามพนักงานเข้าร่วมโครงการมีสิทธิได้รับคืนเงินโบนัสที่เตรียมไว้ชำระค่าจองซื้อหุ้นนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นยุติว่า ข้อบังคับโครงการเพิ่งจัดทำขึ้นหลังจากโจทก์สมัครเข้าร่วมโครงการในครั้งแรก จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสมัครใจผูกพันกันตามโครงการจ่ายเงินโบนัสในรูปแบบหุ้นสามัญ ซึ่งจำเลยจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการส่งเสริมและจูงใจให้ลูกจ้างจงรักภักดีต่อองค์กร แสดงว่าเป็นสัญญาที่อยู่บนพื้นฐานนิติสัมพันธ์จ้างแรงงาน จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงานที่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามข้อบังคับโครงการข้อ 6.3 ระบุว่า "...ในกรณีที่การจ้างแรงงานของพนักงานสิ้นสุดลง พนักงานที่เข้าร่วมโครงการจะไม่มีสิทธิจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรอีกต่อไป โดยถือเสมือนว่าธนาคาร (จำเลย) ได้ยกเลิกหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรดังกล่าวแล้ว" ไม่ได้กำหนดถึงกรณีพนักงานหรือลูกจ้างลาออกจากงาน และข้อ 6.5 ที่ระบุว่า "หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับฉบับนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งรวมถึงการไม่ได้มีการจองซื้อหรือการยกเลิกสิทธิในการจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรร ห้ามมิให้พนักงานที่เข้าร่วมโครงการมีสิทธิที่จะได้รับชำระเงินในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (เงินโบนัส) หรือค่าตอบแทนกรณีพิเศษสำหรับส่วนที่เตรียมไว้สำหรับชำระค่าจองซื้อหุ้น นอกจากการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการชำระค่าจองหุ้นที่ถูกจัดสรร" เป็นการกำหนดเงื่อนไขลอย ๆ ไม่ชัดแจ้งว่าสาเหตุที่ไม่ได้จองซื้อหุ้นหรือยกเลิกสิทธิการจองซื้อหุ้นเกิดจากการกระทำหรือความผิดของฝ่ายใด ทั้งไม่มีข้อกำหนดอัตราค่าปรับหรือริบเงินโบนัสตามพฤติการณ์การกระทำที่เป็นเหตุให้ไม่ได้จองซื้อหุ้น เมื่อพิจารณาสภาพการทำงาน ภาวะค่าครองชีพ ความเดือดร้อนของโจทก์ ระดับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นของโจทก์ ฐานะแห่งกิจการของจำเลย สภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วไป และสภาพข้อบังคับโครงการประกอบกันแล้ว ข้อบังคับโครงการที่กำหนดเงื่อนไขตัดสิทธิขอรับคืนเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาตั้งแต่จำเลยอนุมัติจ่ายให้ในแต่ละปีย่อมทำให้จำเลยในฐานะนายจ้างได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจสั่งให้ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานอันได้แก่ข้อบังคับโครงการในส่วนนี้มีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 โดยให้จำเลยจ่ายคืนเงินโบนัสส่วนที่ยังไม่ได้นำไปซื้อหุ้นพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ลาออกตามฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ลาออกมีผลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 แต่ในส่วนพิพากษาศาลแรงงานกลางกลับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
สัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสมัครใจผูกพันกันตามโครงการจ่ายเงินโบนัสในรูปแบบหุ้นสามัญ ซึ่งจำเลยจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการส่งเสริมและจูงใจให้ลูกจ้างจงรักภักดีต่อองค์กร แสดงว่าเป็นสัญญาที่อยู่บนพื้นฐานนิติสัมพันธ์จ้างแรงงาน จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงานที่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามข้อบังคับโครงการข้อ 6.3 ระบุว่า "...ในกรณีที่การจ้างแรงงานของพนักงานสิ้นสุดลง พนักงานที่เข้าร่วมโครงการจะไม่มีสิทธิจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรอีกต่อไป โดยถือเสมือนว่าธนาคาร (จำเลย) ได้ยกเลิกหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรดังกล่าวแล้ว" ไม่ได้กำหนดถึงกรณีพนักงานหรือลูกจ้างลาออกจากงาน และข้อ 6.5 ที่ระบุว่า "หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับฉบับนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งรวมถึงการไม่ได้มีการจองซื้อหรือการยกเลิกสิทธิในการจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรร ห้ามมิให้พนักงานที่เข้าร่วมโครงการมีสิทธิที่จะได้รับชำระเงินในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (เงินโบนัส) หรือค่าตอบแทนกรณีพิเศษสำหรับส่วนที่เตรียมไว้สำหรับชำระค่าจองซื้อหุ้น นอกจากการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการชำระค่าจองหุ้นที่ถูกจัดสรร" เป็นการกำหนดเงื่อนไขลอย ๆ ไม่ชัดแจ้งว่าสาเหตุที่ไม่ได้จองซื้อหุ้นหรือยกเลิกสิทธิการจองซื้อหุ้นเกิดจากการกระทำหรือความผิดของฝ่ายใด ทั้งไม่มีข้อกำหนดอัตราค่าปรับหรือริบเงินโบนัสตามพฤติการณ์การกระทำที่เป็นเหตุให้ไม่ได้จองซื้อหุ้น เมื่อพิจารณาสภาพการทำงาน ภาวะค่าครองชีพ ความเดือดร้อนของโจทก์ ระดับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นของโจทก์ ฐานะแห่งกิจการของจำเลย สภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วไป และสภาพข้อบังคับโครงการประกอบกันแล้ว ข้อบังคับโครงการที่กำหนดเงื่อนไขตัดสิทธิขอรับคืนเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาตั้งแต่จำเลยอนุมัติจ่ายให้ในแต่ละปีย่อมทำให้จำเลยในฐานะนายจ้างได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจสั่งให้ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานอันได้แก่ข้อบังคับโครงการในส่วนนี้มีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 โดยให้จำเลยจ่ายคืนเงินโบนัสส่วนที่ยังไม่ได้นำไปซื้อหุ้นพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ลาออกตามฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ลาออกมีผลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 แต่ในส่วนพิพากษาศาลแรงงานกลางกลับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8374/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างงานห้ามแข่งขัน & ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: การตีความสัญญาต้องเป็นคุณแก่ผู้เสีย
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง ที่มีข้อห้ามจำเลยที่ 1 ซึ่งทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานขายอาวุโส โดยเป็นหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการค้าขายถ่านหินของโจทก์ ไปทำงานกับนายจ้างอื่นใดที่ประกอบธุรกิจการค้าลักษณะอย่างเดียวกันหรือเป็นการแข่งขันกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบ ไม่เป็นการเกินสมควรหรือเอาเปรียบกันในการทำสัญญาอันจะเข้าลักษณะข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จึงมีผลใช้บังคับกับจำเลยที่ 1 ซึ่งลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยที่ 1 ลาออกแล้วไปทำงานกับบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับแต่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์ จึงผิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดเพียงฝ่ายเดียว การตีความให้ผู้ค้ำประกันรับผิดจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด จะตีความไปในทางขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เกินเลยไปกว่าข้อความที่ปรากฏชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกันไม่ได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ โดยมีข้อความว่า เพื่อเป็นการค้ำประกันความเสียหายหรือความรับผิดที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผู้ค้ำประกันขอให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดตามที่เสียหายจริงแทนลูกจ้างจนหมดสิ้นโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือยกข้อกฎหมายใดๆ มากล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดชอบ เช่นนี้ เป็นสัญญาค้ำประกันที่ไม่มีข้อความชัดแจ้งให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดกรณีจำเลยที่ 1 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วไปทำงานกับนายจ้างอื่นที่ประกอบกิจการค้าลักษณะอย่างเดียวกันหรือเป็นการแข่งขันกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 1 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วไปทำงานกับนายจ้างอื่นที่ประกอบกิจการค้าลักษณะอย่างเดียวกันหรือเป็นการแข่งขันกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงต่อโจทก์
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดเพียงฝ่ายเดียว การตีความให้ผู้ค้ำประกันรับผิดจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด จะตีความไปในทางขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เกินเลยไปกว่าข้อความที่ปรากฏชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกันไม่ได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ โดยมีข้อความว่า เพื่อเป็นการค้ำประกันความเสียหายหรือความรับผิดที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผู้ค้ำประกันขอให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดตามที่เสียหายจริงแทนลูกจ้างจนหมดสิ้นโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือยกข้อกฎหมายใดๆ มากล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดชอบ เช่นนี้ เป็นสัญญาค้ำประกันที่ไม่มีข้อความชัดแจ้งให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดกรณีจำเลยที่ 1 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วไปทำงานกับนายจ้างอื่นที่ประกอบกิจการค้าลักษณะอย่างเดียวกันหรือเป็นการแข่งขันกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 1 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วไปทำงานกับนายจ้างอื่นที่ประกอบกิจการค้าลักษณะอย่างเดียวกันหรือเป็นการแข่งขันกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7570/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการขายสินค้าโดยชอบตามสัญญาจ้างแรงงาน
คู่มือสำหรับพนักงานขาย ข้อ 14 ที่กำหนดให้พนักงานขายต้องรับผิดชอบบัญชีขายทุกรายการที่ตนเองขาย เช่น ร้านค้าเก็บเงินไม่ได้ เช็คคืน เป็นต้น เป็นการตกลงประกันการก่อให้เกิดความเสียหายไว้ล่วงหน้าว่าลูกจ้างที่มีส่วนได้รับค่าตอบแทนการขายจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายจากการตัดสินใจขายสินค้าให้แก่ลูกค้าของนายจ้าง อันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนสิทธิและผลประโยชน์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จึงไม่มีผลเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดระเบียบให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานโดยชอบและสุจริตแล้วยังจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายที่ตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นระเบียบที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควรและไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง คู่มือสำหรับพนักงานขายดังกล่าวคงมีผลบังคับใช้ให้โจทก์ที่ 1 รับผิดชำระค่าสินค้าแทนลูกค้าของจำเลยได้เฉพาะกรณีที่โจทก์ที่ 1 ตัดสินใจขายสินค้าและรับชำระค่าสินค้าด้วยเช็คจากลูกค้าโดยไม่ถูกต้องและไม่สุจริตอันเป็นผลให้ไม่สามารถเก็บเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยได้เท่านั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะรับชำระค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นเช็คและต่อมาเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่เมื่อโจทก์ที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าและรับชำระค่าสินค้าถูกต้องตามคู่มือสำหรับพนักงานขายดังกล่าวแล้ว หาได้มุ่งหมายให้จำเลยไม่ได้รับชำระค่าสินค้าไม่ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานโดยชอบและสุจริต โจทก์ที่ 1 จึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายในจำนวนเงินค่าสินค้าตามเช็คให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นงาน: ข้อตกลงที่เป็นธรรมและเบี้ยปรับสูงเกินไป
โจทก์ผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งต้องอาศัยการแข่งขันทางธุรกิจการค้า โจทก์จึงมีสิทธิตามสมควรที่จะป้องกันรักษาความลับในทางการค้าได้ จำเลยเป็นพนักงานตำแหน่งหัวหน้างานผสมผลิตภัณฑ์บำรุงผิว มีหน้าที่ควบคุมการผลิตตามแผนงานของแผนกวางแผน โจทก์จึงมีสิทธิทำความตกลงกับจำเลยเพื่อรักษาความลับทางการค้าได้ เมื่อพิจารณาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ข้อ 2 ที่กำหนดว่า ในขณะที่จำเลยเป็นพนักงานหรือพ้นสภาพพนักงานภายในหนึ่งปี จำเลยจะไม่เป็นพนักงานนิติบุคคลอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม ในลักษณะการค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันหรือคล้ายกัน กำหนดเวลาห้ามจำเลยอยู่หนึ่งปีเป็นกำหนดเวลาพอสมควร สัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี อย่างไรก็ตามข้อตกลงที่มีข้อความว่า หากฝ่าฝืนข้อตกลง จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเงิน 500,000 บาท นั้นเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 แต่การกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861-6898/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในค่าจ้าง ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างมีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานการจ่ายค่าจ้างอย่างครบถ้วน
การทำสัญญาจ้างแรงงานแม้ลูกจ้างบางส่วนเป็นคนสัญชาติไทยบางส่วนเป็นคนต่างชาติ แต่ทำสัญญาจ้างแรงงานในราชอาณาจักรไทยและทำงานในเรือประมงที่ถือสัญชาติไทย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทย จำเลยทั้งห้าจ้างลูกจ้างทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียเกินกว่าหนึ่งปีแม้ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 แต่ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เช่นเดียวกับการจ้างแรงงานอื่นทั่วไป เพราะไม่ได้รับยกเว้นการบังคับใช้ตามมาตรา 22 และนิติสัมพันธ์ยังต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน
การทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียจะต้องได้รับสัมปทานที่มีกำหนดเวลาแน่นอนคราวละหนึ่งปี แต่อาจมีการต่ออายุสัมปทานไปได้เรื่อยๆ การทำสัญญาจ้างลูกจ้างแม้จะกำหนดระยะเวลาเป็นเทอม แต่ในการทำงานจริงลูกจ้างทำงานไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับการได้รับต่อใบอนุญาตจับปลาจากรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียหรือไม่ สภาพของเรือ และลูกจ้างก็ทราบว่าใช้ระยะเวลาในการไปทำประมงประมาณ 3 หรือ 4 ปี จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งงวดของการชำระค่าจ้าง หรือต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้แน่นอนจึงให้ถือว่ามีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละหนึ่งครั้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคหนึ่ง (1) และจ่ายทุกวันสิ้นเดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 580
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัติไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการควบคุม มาตรา 112, 113 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อตัวและชื่อสกุล อัตราค่าจ้าง ประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง หากนายจ้างไม่สามารถแสดงทะเบียนลูกจ้างและเอกสารการจ่ายค่าจ้างกับค่าตอบแทนอย่างอื่น หรือแสดงได้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อมีข้อสงสัยฝ่ายนายจ้างก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างในประเด็นดังกล่าวเพราะมีหน้าที่จัดทำเอกสารนั้นโดยตรง
จำเลยมอบอำนาจให้ไต๋เรือเป็นตัวแทนกำหนดค่าจ้างลูกจ้างตำแหน่งต่างๆ ตามอัตราทั่วไป โดยประมาณให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบเมื่อแรกเข้าทำงาน หลังจากออกเรือทำงานไปสองเที่ยวเรือแล้วจึงจะกำหนดค่าจ้างที่แท้จริงให้ลูกจ้างทราบ การที่จำเลยจะมากำหนดอัตราค่าจ้างในภายหลังโดยลดค่าจ้างเมื่อเรือกลับเข้าฝั่งโดยอ้างว่าปรึกษาหารือกับไต๋เรือเท่ากับเป็นการกำหนดค่าจ้างตามอำเภอใจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างมีผลบังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1
การทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียจะต้องได้รับสัมปทานที่มีกำหนดเวลาแน่นอนคราวละหนึ่งปี แต่อาจมีการต่ออายุสัมปทานไปได้เรื่อยๆ การทำสัญญาจ้างลูกจ้างแม้จะกำหนดระยะเวลาเป็นเทอม แต่ในการทำงานจริงลูกจ้างทำงานไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับการได้รับต่อใบอนุญาตจับปลาจากรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียหรือไม่ สภาพของเรือ และลูกจ้างก็ทราบว่าใช้ระยะเวลาในการไปทำประมงประมาณ 3 หรือ 4 ปี จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งงวดของการชำระค่าจ้าง หรือต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้แน่นอนจึงให้ถือว่ามีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละหนึ่งครั้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคหนึ่ง (1) และจ่ายทุกวันสิ้นเดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 580
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัติไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการควบคุม มาตรา 112, 113 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อตัวและชื่อสกุล อัตราค่าจ้าง ประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง หากนายจ้างไม่สามารถแสดงทะเบียนลูกจ้างและเอกสารการจ่ายค่าจ้างกับค่าตอบแทนอย่างอื่น หรือแสดงได้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อมีข้อสงสัยฝ่ายนายจ้างก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างในประเด็นดังกล่าวเพราะมีหน้าที่จัดทำเอกสารนั้นโดยตรง
จำเลยมอบอำนาจให้ไต๋เรือเป็นตัวแทนกำหนดค่าจ้างลูกจ้างตำแหน่งต่างๆ ตามอัตราทั่วไป โดยประมาณให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบเมื่อแรกเข้าทำงาน หลังจากออกเรือทำงานไปสองเที่ยวเรือแล้วจึงจะกำหนดค่าจ้างที่แท้จริงให้ลูกจ้างทราบ การที่จำเลยจะมากำหนดอัตราค่าจ้างในภายหลังโดยลดค่าจ้างเมื่อเรือกลับเข้าฝั่งโดยอ้างว่าปรึกษาหารือกับไต๋เรือเท่ากับเป็นการกำหนดค่าจ้างตามอำเภอใจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างมีผลบังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1