พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่สถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก กับ พ.ร.บ.การขนส่ง และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50 (1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขอส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานทีที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50 (1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขอส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานทีที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868-1869/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองสำเนาเอกสารโดยกงสุลใหญ่เป็นหลักฐานได้
สำเนารายงานของสารวัตรตรวจท่าเรือในต่างประเทศซึ่งรายงานว่ามีเรือลำใดเข้าออกท่าเมื่อใดบ้างนั้น เมื่อปรากฏว่าสำเนารายงานนั้นมีผู้รับรองว่าเป็นสำเนาอันถูกต้องทั้งกงสุลใหญ่ของไทยในเมืองต่างประเทศนั้น เป็นผู้นำส่งสำเนานั้นมาในทางราชการอันเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่าเป็นสำเนาอันถูกต้องเช่นนี้ ย่อมฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868-1869/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองสำเนาเอกสารโดยกงสุลใหญ่ และการใช้เป็นพยานหลักฐานได้
สำเนารายงานของสารวัตรตรวจท่าเรือในต่างประเทศซึ่งรายงานว่ามีเรือลำใดเข้าออกท่าเมื่อใดบ้างนั้น เมื่อปรากฎว่าสำเนารายงานนั้นมีผู้รับรองว่าเป็นสำเนาอันถูกต้องทั้งกงศุลใหญ่ของไทยในเมืองต่างประเทศนั้น เป็นผู้นำส่งสำเนานั้นมาในทางราชการอันเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่าเป็นสำเนาอันถูกต้องเช่นนั้ ย่อมฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาเอกสารที่รับรองความถูกต้อง
จำเลยอ้างต้นฉบับรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันของสถานีตำรวจเป็นพยานต่อศาล แต่ผู้บังคับกองตำรวจคัดสำเนาส่งมาให้โดยรับรองว่าเป็นสำเนาอันแท้จริง ดังนี้ถ้าโจทก์มิได้คัดค้านว่าเจ้าหน้าที่คัดสำเนาผิดจากต้นฉบับแล้ว ศาลก็ชอบที่จะฟังสำเนาเอกสารนั้น เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 หาจำต้องอ้างพยานบุคคลมาสืบประกอบเอกสารที่อ้างนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสารสำเนาที่รับรองถูกต้อง โดยไม่จำต้องสืบพยานประกอบ
จำเลยอ้างต้นฉะบับรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันของสถานีตำรวจเป็นพยวานต่อศาล แต่ผู้บังคับกองตำรวจคัดสำเนาส่งมาให้โดยรับรองว่าเป็นสำเนาอันแท้จริง ดังนี้ถ้าโจทก์ มิได้คัดค้านว่าเจ้าหน้าที่คัดสำเนาผิดจากต้นฉะบับแล้ว ศาลก็ชอบที่จะฟังสำเนาเอกสารนั้น เป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 238 หาจำต้องอ้างพยานบุคคลมาสืบประกอบเอกสารที่อ้างนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำรับสารภาพและอำนาจศาลในการพิจารณาสำนวนการสอบสวน
คำรับของจำเลยในคดีมีอัตราโทษจำคุกถึง 10 ปีนั้นรับฟังได้เมื่อมีพยานโจทก์ประกอบ มิใช่จะห้ามไม่ให้รับฟังเสียเลยทีเดียว
ศาลอาจใช้ดุลพินิจเรียกสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณาได้ แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างก็ตาม
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง แม้จะไม่มีพยานบุคคลประกอบ เพราะเป็นหนังสือราชการ
ศาลอาจใช้ดุลพินิจเรียกสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณาได้ แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างก็ตาม
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง แม้จะไม่มีพยานบุคคลประกอบ เพราะเป็นหนังสือราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับของจำเลย, พยานเด็ก, และการใช้ดุลยพินิจศาลในการพิจารณาคดีอาญา
คำรับของจำเลยในคดีมีอัตราโทษจำคุกถึง 10 ปีนั้น รับฟังได้เมื่อมีพยานโจทก์ประกอบ มิใช่จะห้ามไม่ให้รับฟังเสียเลยทีเดียว. ศาลอาจใช้ดุลยพินิจเรียกสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณาได้แม้โจทก์จะไม้ได้อ้างก็ตาม. จำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง แม้จะไม่มีพยานบุคคลประกอบ เพราะเป็นหนังสือราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การนำสืบพิสูจน์ความผิดของโจทก์ในคดีอาญา หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขุดเอาที่ดินในที่กองโจทก์ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ ๆ จำเลยขุดนั้นเป็นที่สาธารณดังนี้ โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้สมตามฟ้องมิฉะนั้นจะลงโทษจำเลยไม่ได้ ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.238 หลักวินิจฉัย