พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ยืม กรณีรถยนต์เสียหายจากความผิดของบุคคลภายนอก ผู้ยืมไม่มีสิทธิเรียกร้องและฟ้อง
เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่โจทก์ยืมมาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเนื่องจากความผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับจ้างกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 643 แม้โจทก์จะซ่อมรถยนต์เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, สินค้าสูญหาย, การประกันภัย, ข้อตกลงชัดแจ้ง, น้ำหนักและมูลค่าสินค้า
ผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบกล่องสินค้าให้พนักงานของจำเลยผู้ขนส่งพร้อมใบกำกับสินค้าและใบรับขนทางอากาศ ซึ่งจำเลยส่งมาให้ผู้ส่งสินค้ากรอกข้อความ โดยได้กรอกประเภทของสินค้าว่าสินค้าจำพวกเครื่องเพชร พลอย ทอง 18 เค แสดงว่าจำเลยผู้ขนส่งได้รับบอกสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่ตนแล้ว
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสินค้าสูญหายไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย นั้น เป็นอุทธรณ์ที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่รับวินิจฉัย ทั้งข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสินค้าสูญหายไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย นั้น เป็นอุทธรณ์ที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่รับวินิจฉัย ทั้งข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้รับประกันภัย: ค่าสินไหมทดแทนสินค้าเสียหาย vs. ค่าตรวจสอบความเสียหาย
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐสังคมเวียดนามกับเป็นผู้ว่าจ้างและชำระค่าตรวจสอบความเสียหายให้แก่บริษัทผู้ตรวจสอบความเสียหายโดยตรง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่ที่โจทก์จ่ายแทนผู้เอาประกันภัยไปนั้นเป็นเพราะผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่หรือความจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะที่รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโดยตรงเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องในค่าตรวจสอบความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการชน ย่อมตัดสิทธิผู้รับประกันภัยในการรับช่วงเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุ
จำเลยขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์กระบะของ ส. ที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย ซึ่งตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี นอกจากพนักงานสอบสวนจะทำบันทึกแจ้งข้อหาจำเลยเป็นคดีอาญาและเปรียบเทียบปรับอันทำให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันแล้ว พนักงานสอบสวนยังทำบันทึกเกี่ยวกับค่าเสียหายมีข้อความว่า คู่กรณีสมัครใจตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกค่าเสียหาย ตกลงกันเป็นที่พอใจแล้วจึงให้ ส. และจำเลยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน ดังนี้แสดงว่า ส. และจำเลยตกลงกันว่าไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน เป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างซ่อมรถที่เสียหายเอง ข้อตกลงเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ทำให้ ส. ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถของ ส. จะรับช่วงสิทธิของ ส. ได้เพียงเท่าที่ ส. ผู้เอาประกันภัยมีอยู่เท่านั้น แม้ ส. จะทำบันทึกตกลงกับจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก็ตาม แต่ ส. เป็นผู้ได้รับความเสียหายกรณีละเมิดถูกรถยนต์จำเลยเฉี่ยวชน ย่อมมีสิทธิที่จะทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่กับจำเลยด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน อันเป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อ ส. ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย ดังนี้ โจทก์ผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของ ส. ที่จะมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ส. ผู้เอาประกันภัยไปเป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ที่โจทก์ทำไว้กับ ส. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7274/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถจากผู้ทำละเมิด แม้ยังไม่ได้ชำระเงินค่าซ่อม แต่ได้ส่งซ่อมแล้ว ถือใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว
ขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้ชำระเงินค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยเนื่องจากอู่ยังซ่อมไม่เสร็จ แต่การที่โจทก์นำรถยนต์ไปให้อู่ทำการซ่อมและทางอู่ได้รับทำการซ่อมให้ในราคาที่ตกลงกันไว้นั้น โจทก์ย่อมมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าซ่อมตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ ทั้งต่อมาทางอู่ได้ทำการซ่อมรถยนต์จนเสร็จและมอบรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเรียบร้อยแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนเงินราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าของรถยนต์มาเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้อู่ไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จ
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้อู่ไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9319/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีสินค้าเสียหายจากการยกขนไม่ระมัดระวัง ไม่อาจอ้างจำกัดความรับผิด
โจทก์รับประกันภัยสินค้านำเข้าทุกชนิดของบริษัท อ. โดยออกกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลแบบเปิดให้ผู้เอาประกันภัยไว้เป็นหลักฐาน และมีหลักปฏิบัติว่าเมื่อมีสินค้าเข้าผู้เอาประกันภัยจะแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออาจแจ้งภายหลังสินค้าถูกขนส่งมาแล้วก็ได้ โจทก์จะออกใบรับรองการประกันภัยสำหรับสินค้างวดนั้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์ได้ออกใบรับรองการประกันภัยสินค้าของบริษัท อ. ซึ่งขนส่งโดยเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 3 จากต่างประเทศมายังประเทศไทยโดยที่จำเลยที่ 3 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง และได้มีการโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท อ. แล้ว เมื่อเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 3 มาถึงประเทศไทยได้มีการส่งมอบสินค้าแก่บริษัท อ.ผู้เอาประกันภัยในสภาพที่เสียหายบริษัทอ. จึงเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามสัญญาประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป ดังนี้เมื่อบริษัท อ. ได้รับโอนใบตราส่งมาจากผู้ขายสินค้าบริษัท อ.จึงเป็นผู้ทรงใบตราส่งซึ่งมีสิทธิรับสินค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยในขณะที่เกิดวินาศภัยนั้น แม้การซื้อขายสินค้าที่ขนส่งเป็นการซื้อขายระบบ CIF ซึ่งผู้ขายเป็นผู้เอาประกันภัยก็เป็นการเอาประกันภัยของผู้ขายกับผู้รับประกันภัยอื่น โจทก์จึงรับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยมาฟ้องจำเลยได้
กรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่ทำกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ไอ.ได้มีการระบุรายละเอียดเงื่อนไขทั่วไปว่าผู้ถือกรมธรรม์คือบริษัทไอ.และผู้เอาประกันภัยคือบริษัททุกบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์ถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 50หรือบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์มีความรับผิดชอบทางด้านจัดการ ดังนี้ นอกจากบริษัท ไอ.จะเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะเป็นผู้ถือกรมธรรม์แล้ว ยังมีบริษัทอื่นที่บริษัท ไอ.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในอัตราเกินกว่าร้อยละ50หรือบริษัทอื่นที่บริษัทไอ. เป็นผู้รับผิดชอบทางด้านจัดการเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้เอาประกันภัยอีกด้วย เมื่อบริษัท ไอ.ถือหุ้นอยู่ในบริษัทอ. ร้อยละ 50 จึงถือว่าบริษัท อ.เป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลเปิด โจทก์ย่อมต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว และหาได้มีกฎหมายบังคับว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัยไม่ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท อ. ผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ.แล้วย่อมมีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิของบริษัทอ.มาฟ้องได้
แม้เรือที่ใช้ในการขนส่งเป็นของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกใบตราส่งแต่บริษัท อ.มิได้ว่าจ้างให้จำเลยที่3ขนสินค้าดังกล่าวบริษัทอ. มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมดเพื่อส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท อ. โดยสัญญาขนส่งระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลือกจ้างผู้รับขนส่งช่วงชั้นดีในการขนส่งได้แต่จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดเต็มที่ต่อบริษัท อ. ในการปฏิบัติตามสัญญา และผู้ขนส่งช่วงอื่นที่จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้ถือว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดโดยตรงต่อบริษัท อ.ดังนี้บริษัทอ. จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าและจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้างขนสินค้าโดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดในการนำสินค้ามายังประเทศไทยตามสัญญาขนส่งการที่จำเลยที่ 3 ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้า จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งของจำเลยที่ 3 ด้วย
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งเป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งยกหีบไม้โดยไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังในระหว่างการขนส่ง ถือว่าเป็นกระทำการโดยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าเต็มจำนวนไม่อาจอ้างเอาข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
กรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่ทำกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ไอ.ได้มีการระบุรายละเอียดเงื่อนไขทั่วไปว่าผู้ถือกรมธรรม์คือบริษัทไอ.และผู้เอาประกันภัยคือบริษัททุกบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์ถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 50หรือบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์มีความรับผิดชอบทางด้านจัดการ ดังนี้ นอกจากบริษัท ไอ.จะเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะเป็นผู้ถือกรมธรรม์แล้ว ยังมีบริษัทอื่นที่บริษัท ไอ.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในอัตราเกินกว่าร้อยละ50หรือบริษัทอื่นที่บริษัทไอ. เป็นผู้รับผิดชอบทางด้านจัดการเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้เอาประกันภัยอีกด้วย เมื่อบริษัท ไอ.ถือหุ้นอยู่ในบริษัทอ. ร้อยละ 50 จึงถือว่าบริษัท อ.เป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลเปิด โจทก์ย่อมต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว และหาได้มีกฎหมายบังคับว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัยไม่ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท อ. ผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ.แล้วย่อมมีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิของบริษัทอ.มาฟ้องได้
แม้เรือที่ใช้ในการขนส่งเป็นของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกใบตราส่งแต่บริษัท อ.มิได้ว่าจ้างให้จำเลยที่3ขนสินค้าดังกล่าวบริษัทอ. มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมดเพื่อส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท อ. โดยสัญญาขนส่งระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลือกจ้างผู้รับขนส่งช่วงชั้นดีในการขนส่งได้แต่จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดเต็มที่ต่อบริษัท อ. ในการปฏิบัติตามสัญญา และผู้ขนส่งช่วงอื่นที่จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้ถือว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดโดยตรงต่อบริษัท อ.ดังนี้บริษัทอ. จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าและจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้างขนสินค้าโดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดในการนำสินค้ามายังประเทศไทยตามสัญญาขนส่งการที่จำเลยที่ 3 ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้า จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งของจำเลยที่ 3 ด้วย
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งเป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งยกหีบไม้โดยไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังในระหว่างการขนส่ง ถือว่าเป็นกระทำการโดยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าเต็มจำนวนไม่อาจอ้างเอาข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8994/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาททั้งสองฝ่าย: การกลับรถไม่ปลอดภัยและขับรถเร็วลงเนิน ทำให้ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้
ความประมาทของจำเลยที่ 1 เกิดจากการกลับหรือเลี้ยวรถในลักษณะไม่ปลอดภัยในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ขับหรือกลับรถตัดหน้ารถยนต์ที่ ส. ขับมาในระยะกระชั้นชิดตามที่โจทก์ฟ้อง หาก ส. ขับรถยนต์ลงจากเนินด้วยความเร็วที่ไม่สูงและใช้ความระมัดระวังพอสมควรก็จะไม่เกิดเหตุชนกัน จึงถือได้ว่า ส. มีส่วนประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้ โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ ส. จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องไล่เบี้ยแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายและผลต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย
กรณีที่รถยนต์เกิดชนกัน ม. และจำเลยได้ทำบันทึกตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่าแต่ละฝ่ายจะนำรถของตนไปซ่อมเอง และไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายกันอีกต่อไป การที่ ม. และจำเลยตกลงกันดังกล่าวเพราะเหตุที่รถมีประกันแสดงว่า ม. เจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่รถของตนได้รับโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลงและไม่ใช่การสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเท่านั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัย โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายครั้งนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายครั้งนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย, ความประมาทเลินเล่อร่วม, และการระงับข้อพิพาท
กรณีที่รถยนต์เกิดชนกัน ม.และจำเลยได้ทำบันทึกตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า แต่ละฝ่ายจะนำรถของตนไปซ่อมเองโดย ม. จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับไปดำเนินการซ่อมและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายกันอีกต่อไป แสดงว่า ม. เจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่รถของตนได้รับโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง และไม่ใช่การสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเท่านั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัย โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยรถยนต์ และสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการเกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ.
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส.ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ.ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ.ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส.ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ.ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ.ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้