พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทดแทนจากผู้รับประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์ประกันภัย
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการ เกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของ กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็น ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุ จำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ส. ขับโดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้นเมื่อส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของส.ฝ่ายเดียวจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บ. ซึ่ง โดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้ รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัย นั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ. ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยรถยนต์ และสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการเกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ.
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส.ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ.ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ.ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส.ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ.ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ.ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและเงื่อนไขการใช้ค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงในการเรียกค่าเสียหายจากเหตุรถยนต์ชนกันแต่โจทก์มีส่วนได้เสียในฐานะผู้รับประกันและอาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ระบุว่า ถ้าความวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่าเป็นการฟ้องตั้งสิทธิเป็นสิทธิของโจทก์เองนั้นก็ไม่มีกฎหมายสนับสนุนไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการลากจูงรถหุ้มเกราะ: โจทก์ควบคุมดูแลการผูกลวดสลิงเอง จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำแต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสินล้อวิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือเป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่นสะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูง โดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะนอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4 ยืนยันต่อจำเลยที่ 2ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะจะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้อง ลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตรายและเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้ การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะ ชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็กแต่ถ้าหากผูกหลายทบเจ้าด้วยกันก็เป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227,432 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการลากจูงรถและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสิบล้อ วิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือ เป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่น สะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูงโดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1และที่ 2 และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4ยืนยันต่อจำเลยที่ 2 ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะ จะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้องลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตราย และเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิในสัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, และการคำนวณดอกเบี้ย
จำเลยขับรถยนต์ของส.ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยความประมาทของจำเลยในวันเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์มีต่อส. ยังมีผลบังคับอยู่โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ส. แม้ส. จะได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยยอมให้จำเลยซ่อมรถยนต์ของส. ให้อยู่ในสภาพดีดังเดิมภายหลังจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยครบกำหนดแล้วก็ตามสิทธิของโจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิของส. ผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่แก่จำเลยในการที่จะเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยยังคงมีอยู่หาได้สิ้นสิทธิไปเพราะการทำบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยกับส. ไม่เพราะบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมซ่อมรถยนต์ของส. เป็นข้อตกลงที่ผูกพันเฉพาะจำเลยกับส. เมื่อจำเลยยังมิได้ปฎิบัติตามสัญญาหาได้มีผลทำให้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับส.สิ้นผลไปด้วยไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ส.ผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของส. ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา227โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าส. ผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยผู้ทำละเมิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวทำให้มูลหนี้ละเมิดสิ้นไปโจทก์ในคดีนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำมูลหนี้ละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องการรับช่วงสิทธิในมูลหนี้ละเมิดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยในฐานะที่โจทก์รับช่วงสิทธิของส. มาตามมูลหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ส.ผู้เอาประกันภัยมีต่อจำเลยมิใช่ฟ้องในมูลหนี้ละเมิดจึงเป็นการฟ้องคนละประเด็นกันฉะนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของส. ผู้เอาประกันภัยอันมีต่อจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ส.ทำไว้กับจำเลยมิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยตามสัญญาประกันภัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องตกอยู่ในบังคับของมาตรา193/30แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีอายุความ10ปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีของต้นเงิน261,100บาทนับแต่วันที่13กุมภาพันธ์2535เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง(วันที่8มีนาคม2537)ให้ไม่เกิน58,777.45บาทตามที่โจทก์ขอหมายความว่าศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยจากวันที่13กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่8มีนาคม2537ซึ่งเป็นวันฟ้องให้โจทก์เท่าจำนวนที่คำนวณได้จริงแต่ถ้าคำนวณแล้วได้ดอกเบี้ยเกิน58,777.45บาทก็คงให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์เพียง58,777.45บาทเท่าที่โจทก์ขอมาที่จำเลยอ้างว่าจำเลยคำนวณดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันที่13กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่8มีนาคม2537ได้เพียง40,796บาทโจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ถึงวันฟ้องเกินจำนวน40,796บาทได้นั้นเห็นได้ว่าข้อเท็จจริงยังฟังยุติไม่ได้ว่าจำเลยคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันที่13กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่8มีนาคม2537ถูกต้องตามที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่จึงสมควรให้เป็นภาระของเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีหน้าที่บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่จะคิดคำนวณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้ขายเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างส่งมอบ และความรับผิดของนายจ้างในผลละเมิดของลูกจ้าง
น. ซื้อสินค้าจำพวกวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ที่2เป็นเงิน31,300บาทได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์ที่2จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น. โจทก์ที่2จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่1บรรทุกสินค้าดังกล่าวไปส่งให้ตามที่ตกลงระหว่างทางถูกรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่2และที่3ซึ่งจำเลยที่1ขับมาในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนทำให้สินค้าที่ น. ซื้อมาได้รับความเสียหายโจทก์ที่2จึงชำระราคาสินค้าให้แก่ทายาทของ น. ไปเมื่อโจทก์ที่2ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าที่ น. ซื้อจากโจทก์ที่2ไปยังภูมิลำเนาของ น. ตามที่ตกลงไว้ดังนั้นแม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้ตกเป็นของ น.ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตามแต่โจทก์ที่2ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น.ณภูมิลำเนาของ น. เมื่อสินค้าไปไม่ถึงเพราะเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อนจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่2ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ที่2ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น. ไปโจทก์ที่2จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา227มาฟ้องจำเลยที่2และที่3ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่1กระทำไปในทางการที่จ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ขายต่อความเสียหายของสินค้าที่อยู่ระหว่างการส่งมอบหลังการชำระเงิน และการรับช่วงสิทธิ
น.ซื้อสินค้าจำพวกวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ที่ 2 เป็นเงิน31,300 บาท ได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์ที่ 2 จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น. โจทก์ที่ 2 จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 1บรรทุกสินค้าดังกล่าวไปส่งให้ตามที่ตกลง ระหว่างทางถูกรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 1 ขับมาในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชน ทำให้สินค้าที่ น.ซื้อมาได้รับความเสียหาย โจทก์ที่ 2 จึงชำระราคาสินค้าให้แก่ทายาทของ น.ไป เมื่อโจทก์ที่ 2 ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าที่ น.ซื้อจากโจทก์ที่ 2 ไปยังภูมิลำเนาของ น.ตามที่ตกลงไว้ ดังนั้นแม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้ตกเป็นของ น.ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น. ณ ภูมิลำเนาของ น. เมื่อสินค้าไปไม่ถึงเพราะเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อน จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ที่ 2 ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น.ไปโจทก์ที่ 2 จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 227 มาฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1กระทำไปในทางการที่จ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้ขายเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างส่งมอบ และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิด
น. ซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ ได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น.โจทก์จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกสินค้าไปส่งระหว่างทางถูกรถยนต์ซึ่งจำเลยขับมาด้วยความประมาทเลินเล่อชนทำให้สินค้าเสียหายทั้งหมด ดังนั้น แม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่โจทก์ขายให้ได้ตกเป็นของ น. ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น.เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อน จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น. ไป โจทก์จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 227 มาฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งมอบสินค้าของผู้ขาย & การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดทางการจ้าง
แม้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่โจทก์ที่2ขายได้ตกเป็นของผู้ซื้อในขณะทำสัญญา ซื้อขายกันแล้วแต่โจทก์ที่2ก็ยังมีหน้าที่ที่ต้องส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อณภูมิลำเนาของผู้ซื้อเมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัติเหตุที่จำเลยที่1ได้ก่อขึ้นโดย ละเมิดใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ก่อนที่จะส่งสินค้าไปถึงภูมิลำเนาของผู้ซื้อย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่2ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อเมื่อโจทก์ที่2ชำระราคาสินค้าให้แก่ทายาทของผู้ซื้อไปจึง รับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยทั้งสามได้