คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 13

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7136/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว, การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, และเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย
ในการขอแก้ไขคำฟ้องนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติเอาไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม หลังจากมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องทำนองว่าโจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้วพบว่าจำเลยมีที่ดิน 4 แปลง ติดจำนองสถาบันการเงินอยู่ หากมีการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดก็ยังไม่สามารถใช้หนี้ให้แก่โจทก์โดยสิ้นเชิง โดยยังมีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 1,000,000 บาท เมื่อคำฟ้องเดิมของโจทก์ครบเงื่อนไขในการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเฉพาะเพียงส่วนที่เกี่ยวกับข้อสันนิษฐานที่ว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เป็นเพียงการขอแก้ไขรายละเอียดอันเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตจึงเป็นการชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 13 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กำหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน" การที่กฎหมายได้บัญญัติเหตุดังกล่าวไว้ก็เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพิจารณาคดีล้มละลายที่จะให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็วกว่าคดีแพ่งสามัญ จึงกำหนดให้ศาลนั่งพิจารณาเป็นการด่วนโดยไม่ได้กำหนดวันยื่นคำให้การเหมือนอย่างคดีแพ่งสามัญ ฉะนั้นจำเลยจะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การ จำเลยก็มีโอกาสยื่นได้ก่อนวันนั่งพิจารณา การที่จำเลยยื่นคำให้การภายหลังที่มีการเสร็จการพิจารณาแล้ว จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจาก พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้ เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 13 และในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีได้ครั้งเดียว หากพ้นระยะเวลาหรือขั้นตอนแล้ว ยื่นเพิ่มเติมไม่ได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 บัญญัติบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษา หรือรอการพิพากษา หรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลังเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีกอันมิใช่เป็นการขอแก้ไขคำขอประนอมหนี้ตามมาตรา 47 และเป็นการพ้นระยะเวลาตามมาตรา 45 แล้ว การยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายอีกครั้งจะทำให้คดีล้มละลายไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็วผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231
คดีล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ประกอบกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายจะต้องดำเนินเป็นการด่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และ 153 จำเลยจะมาขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังเช่นการขอทุเลาการบังคับคดีแพ่งธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 231 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินการโดยเร็ว แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่สิ้นสุด ศาลต้องพิพากษาล้มละลายตามมติเจ้าหนี้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 13 และ 153 กำหนดให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินเป็นการด่วนดังนั้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและจ.พ.ท. รายงานว่า เจ้าหนี้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามความในมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษาตามความในมาตรา 6 ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รอการพิพากษาให้จำเลยล้มละลายไว้จนกว่าศาลฎีกาจะได้ชี้ขาดตัดสินเรื่องที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นคำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิพากษาเมื่อเจ้าหนี้ลงมติ แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ถึงที่สุด คำสั่งรอการพิพากษาไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินเป็นการด่วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 13และ 153 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลว่าเจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตาม มาตรา 61 ทันทีแม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษาตามความในมาตรา 6 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รอการพิพากษาให้จำเลยล้มละลายไว้จนกว่าศาลฎีกาจะได้ชี้ขาดตัดสินเรื่องที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นคำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาล้มละลายควบคู่การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่ และผลของการเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลย แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอน เนื่องจากคดีล้มละลายจะต้องกระทำโดยเร่งด่วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 13และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดยให้พิจารณาใหม่ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 62

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลยแม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณา ใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่ง ศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้องกระทำโดยเร่งด่วนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดยให้พิจารณา ใหม่ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 62.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ ดำเนินคดีมาตาม ขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลย แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดี ล้มละลายต่อไปตาม ขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้อง กระทำโดย เร่งด่วนตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 13 และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดย ให้พิจารณาใหม่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วย ตาม บทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 62.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5898/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่มิชอบตามกฎหมายล้มละลายและการเพิกถอนการพิจารณา
คดีล้มละลาย ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดหมายซึ่งจะมีผลต่อเมื่อ 15 วันล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 19 และต้องให้ลูกหนี้ทราบก่อนวันนัดพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 13 การที่ศาลชั้นต้นให้เวลาน้อยกว่า7 วันและสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไป จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์สั่งเพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง โดยมิต้องคำนึงว่าคู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้วหรือไม่ เพราะมิใช่กรณีที่คู่ความยกขึ้นคัดค้านตามมาตรา 27 วรรคสอง
of 2