คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1686

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์รีซีทไม่ใช่ทรัสต์ตามกฎหมาย และอายุความดอกเบี้ย
สัญญาทรัสต์รีซีทหาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ฎีกาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 และศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1รับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างเพียง 5 ปีและเมื่อหนี้ของจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา จำเลยที่2ก็ได้รับประโยชน์จากข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์, สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, และการบังคับคดีสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์และฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
โจทก์เป็นทรัสตีผู้หนึ่ง ย่อมมีอำนาจจัดการรวมทั้งการ ฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นทรัสต์ได้ตามหนังสือก่อตั้งทรัสต์ซึ่งทรัสต์ดังกล่าวได้ก่อตั้งและ จดทะเบียนต่อสถานทูตอังกฤษเมื่อ 80 ปีมาแล้ว
จำเลยเช่าตึกแถวเพียงเดือนละ 100 บาท แต่จ่ายเงิน ล่วงหน้าให้ทรัสตีไปอีก 55,000 บาทจึงเป็นการ จ่ายเงินกินเปล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า โดยไม่ได้ใช้ ซ่อมแซมตึกที่เช่าแต่อย่างใดสัญญาเช่านี้จึงหามีลักษณะ เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่
จำเลยทำสัญญาเช่าขึ้นพร้อมกัน 2 ฉบับ ลงวันที่ในสัญญา และระยะเวลาที่เช่าติดต่อกันรวมได้กว่า 3 ปี เท่ากับ ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกันเกิน 3 ปีถ้า ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อม ฟ้องร้องบังคับกันได้เพียง 3 ปีและการฟ้องร้องให้ บังคับคดีดังกล่าวหมายความรวมถึงการที่ยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1985/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์, สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, และผลของการทำสัญญาเกิน 3 ปีโดยไม่จดทะเบียน
ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์และฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
โจทก์เป็นทรัสตีผู้หนึ่ง ย่อมมีอำนาจจัดการรวมทั้งการ ฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นทรัสต์ได้ตามหนังสือก่อตั้งทรัสต์ซึ่งทรัสต์ดังกล่าวได้ก่อตั้งและ จดทะเบียนต่อสถานทูตอังกฤษเมื่อ 80 ปีมาแล้ว
จำเลยเช่าตึกแถวเพียงเดือนละ 100 บาท แต่จ่ายเงิน ล่วงหน้าให้ทรัสตีไปอีก 55,000 บาท จึงเป็นการจ่ายเงินกินเปล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า โดยไม่ได้ใช้ ซ่อมแซมตึกที่เช่าแต่อย่างใดสัญญาเช่านี้จึงหามีลักษณะ เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่
จำเลยทำสัญญาเช่าขึ้นพร้อมกัน 2 ฉบับ ลงวันที่ในสัญญา และระยะเวลาที่เช่าติดต่อกันรวมได้กว่า 3 ปี เท่ากับ ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกันเกิน 3 ปี ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมฟ้องร้องบังคับกันได้เพียง 3 ปีและการฟ้องร้องให้ บังคับคดีดังกล่าวหมายความรวมถึงการที่ยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกา ที่1985/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินมีเงื่อนไขห้ามโอนขาย และภาระจ่ายเงินรายเดือน มิใช่การก่อตั้งทรัสต์ และข้อกำหนดนั้นไม่มีผล
ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมยกหรือมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้แก่จำเลย แต่มีข้อห้ามมิให้จำเลยโอนขายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวและให้นำรายได้จากทรัพย์นั้นมาแบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่น การยกให้ลักษณะดังกล่าวนี้หามีลักษณะเป็นการมอบกรรมสิทธิให้แก่จำเลยยึดถือหรือครอบครองทรัพย์ไว้แทนผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมรายนี้จึงมิใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์
ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเพียงให้ทรัพย์ตามข้อกำหนดตกอยู่ในภารติดพัน โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนขายหรือจำหน่าย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1700 กรณีจึงเท่ากับว่าจำเลยได้ทรัพย์ตามพินัยกรรมไปโดยเด็ดขาด ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยห้ามโอนหรือจำหน่ายตัวทรัพย์จึงไม่มีผลตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินมีเงื่อนไขห้ามโอนขาย และให้จ่ายเงินรายเดือน มิใช่ทรัสต์ ข้อกำหนดจึงตกเป็นภาระติดพัน
ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมยกหรือมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้แก่จำเลย แต่มีข้อห้ามมิให้จำเลยโอนขายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว และให้นำรายได้จากทรัพย์นั้นมาแบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่น การยกให้ในลักษณะดังกล่าวนี้หามีลักษณะเป็นการมอบกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยยึดถือหรือครอบครองทรัพย์ไว้แทนผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมรายนี้จึงมิใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์
ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเป็นเพียงให้ทรัพย์ตามข้อกำหนดตกอยู่ในภารติดพัน โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนขายหรือจำหน่าย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1700 กรณีจึงเท่ากับว่าจำเลยได้ทรัพย์ตามพินัยกรรมไปโดยเด็ดขาดข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยห้ามโอนหรือจำหน่ายตัวทรัพย์ จึงไม่มีผลตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจที่มีการประทับตราวันที่ ถือเป็นการขีดฆ่าอากรแสตมป์ สัญญา Trust Receipt มีผลผูกพัน และการรับฟังดอกเบี้ยจากพยาน
การประทับตราวันที่แต่เพียงอย่างเดียวลงบนอากรแสตมป์ที่ปิดในหนังสือมอบอำนาจ.เป็นการกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว หนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทคือสัญญาระหว่างธนาคารผู้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต และลูกค้าผู้ขอให้เปิดเครดิตโดยธนาคารสัญญาจะมอบเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้าให้ผู้ขอเครดิตเพื่อไปรับสินค้าและนำสินค้านั้นไปขายได้แต่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของธนาคารอยู่ และทางฝ่ายผู้ขอเปิดเครดิตก็สัญญาว่าจะยึดถือเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้ากับสินค้าที่รับมารวมทั้งเงินที่ขายสินค้านั้นได้ไว้ในนามของธนาคาร และจะนำเงินชำระให้แก่ธนาคารเมื่อหักกับเงินที่เป็นหนี้ตามดราฟท์ สัญญาเช่นนี้มีผลผูกพันคู่กรณีตามกฎหมาย กรณีนี้หาใช่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ไม่
คำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานผู้ทำหน้าที่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทำทรัสต์รีซีทของธนาคารโจทก์ที่ยืนยันว่าลูกหนี้ผิดนัดมีประเพณีของธนาคารให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อไป ซึ่งจำเลยก็มิได้นำสืบในข้อนี้อย่างใด เช่นนี้ เป็นหลักฐานให้รับฟังได้แล้วว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ไม่จำต้องมีพยานเอกสารประกอบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกต้องซื้อที่ดินทดแทนหากขายทรัพย์สินตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนพระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 681/2481)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมเป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดกอยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกต้องซื้อที่ดินทดแทนเพื่อประโยชน์ของวงศ์ญาติ
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอน พระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 681/2481)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรม ดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรม เป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดก อยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้ เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้สถานที่สักการะบรรพบุรุษซึ่งมิใช่บุคคล ทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
ในเรื่องมรดกนั้นเมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท (ทายาทโดยธรรมผู้รับพินัยกรรม) ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมมรดกของผู้นั้นจะตกทอดแก่แผ่นดินพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ เมื่อมีการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมเป็นนิติบุคคลแล้วจึงให้ถือว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นของมูลนิธินิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผลพินัยกรรมที่สั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เช่น เพื่อบำเพ็ญทานการศาสนา ฯลฯ ผู้รับตามพินัยกรรมนั้นจะต้องเป็นบุคคลสามารถมีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย เพราะถ้าผู้รับมิใช่บุคคล ไม่สามารถมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินอันไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของจะตกทอดแก่แผ่นดิน ในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่สถานที่สักการะบรรพบุรุษ (ชื่อตึ๊ง) เมื่อสถานที่สักการะบรรพบุรุษมิใช่บุคคล จึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินได้ดังนั้น ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าในฐานะพินัยกรรมธรรมดาหรือพินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้สถานที่สักการะ: ผู้รับต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสิทธิได้ตามกฎหมาย
ในเรื่องมรดกนั้นเมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท(ทายาทโดยชอบธรรม, ผู้รับพินัยกรรม) ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของผู้นั้นจะตกทอดแก่แผ่นดิน พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ เมื่อมีการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงให้ถือว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นของมูลนิธินิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผล พินัยกรรมที่สั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เช่น เพื่อบำเพ็ญทาน การศาสนา ฯลฯ ผู้รับตามพินัยกรรมนั้นจะต้องเป็นบุคคลสามารถมีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมายเพราะถ้าผู้รับมิใช่บุคคล ไม่สามารถมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินอันไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของจะตกทอดแก่แผ่นดิน ในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่สถานที่สักการะบรรพบุรุษ(ซื่อตึ๊ง) เมื่อสถานที่สักการะบรรพบุรุษมิใช่บุคคล จึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินได้ ดังนั้น ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าในฐานะพินัยกรรมธรรมดาหรือพินัยกรรมก่อตรั้งทรัสต์
of 4