คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 291

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและการรับฟังพยานหลักฐานจากจำเลยคนหนึ่งเป็นคุณแก่จำเลยอื่นในคดีชำระหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำหนังสือสัญญาของผู้ได้รับทุนการศึกษา จำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งให้ความยินยอมในการเข้าทำสัญญาและยินยอมรับชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของผู้ค้ำประกันให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินทุนการศึกษาและค่าปรับ เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดร่วมกันตามสัญญาอย่างลูกหนี้ร่วม และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ถือว่าจำเลยทั้งสามแทนซึ่งกันและกัน บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งกระทำโดยจำเลยคนหนึ่งถือว่าได้กระทำโดยจำเลยคนอื่น ๆ ด้วย การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมละเมิด: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานจำเลยทั้งหมดก่อนพิพากษา หากจำเลยขาดนัดโดยไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวนร่วมกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 5 จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 4ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยคนเดียวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีก็ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะเกี่ยวกับจำเลยดังกล่าวเพียงคนเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ: ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบทรัพย์สินและการรับผิดร่วม
จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้ร่วมเป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จึงมีหน้าที่ต้องไปดูบริเวณที่ดินและตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรเพื่อให้ทราบถึงจำนวนเงินที่แท้จริงที่โจทก์จะต้องจ่ายค่าทดแทนและค่ารื้อย้ายทรัพย์สินการที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ตรวจดูรายงานของเจ้าหน้าที่คนอื่นแล้วร่วมลงชื่อ โดยมิได้ออกไปปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเอง จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และเป็นสาเหตุให้โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนทรัพย์สินของราษฎรตามที่คณะอนุกรรมการเสนอเรื่องไป ความเสียหายที่โจทก์จ่ายเงินทดแทนเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินตามความเป็นจริงจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 กับบุคคลอื่นดังกล่าวร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในความเสียหายทั้งหมดแต่เพียงคนเดียวก็ได้ คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์คดีนี้ได้สอบสวนมีความเห็นว่า จำเลยทั้งหกเป็นผู้กระทำละเมิด ควรลงโทษทางวินัยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหก ได้เสนอเรื่องราวตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีกรมโจทก์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2527 ในวันเดียวกันอธิบดีกรมโจทก์เห็นว่ายังไม่มีการเสนอเรื่องผ่านรองอธิบดีเป็นการผิดขั้นตอน จึงมีคำสั่งให้เสนอรองอธิบดีพิจารณาเรื่องก่อน รองอธิบดีเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์เมื่อวันที่3 กุมภาพันธ์ 2527 และอธิบดีกรมโจทก์มีบันทึกเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2527 เมื่อปรากฏว่าในวันที่อธิบดีกรมโจทก์มีคำสั่งให้เสนอเรื่องต่อรองอธิบดีก่อนนั้นอธิบดีกรมโจทก์เพียงแต่อ่านหัวเรื่องและทราบว่ามีการสอบสวนเรื่องนี้เท่านั้น จึงยังฟังไม่ได้ว่า อธิบดีกรมโจทก์รู้การละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดต่อโจทก์ในวันที่ 27 มกราคม 2527 กรณีต้องถือว่ากรมโจทก์รู้การละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันที่ 6 กุมภาพันธ์2527 ซึ่งเป็นวันที่อธิบดีกรมโจทก์พิจารณาเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2528ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างร่วมต่อละเมิดของลูกจ้าง: เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องลูกจ้าง นายจ้างย่อมหลุดพ้นความรับผิดไปด้วย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนหรือในทางการที่จ้าง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์แต่โจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาจำเลยที่ 1 คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาล-อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จึงไม่มีหนี้ที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกหนี้จากลูกหนี้ร่วมแต่ละคนเป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ แม้ลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้แล้ว
จำเลยที่ 3 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2และนาวาตรีสมภพ โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องคำนึงว่าหากลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยจะสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่เพราะการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น ดังนั้น แม้โจทก์ไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่นาวาตรีสมภพลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง และถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ลูกหนี้ร่วมอีกคนหนึ่งก็มิได้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 3 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน การแบ่งทรัพย์สินและผลกระทบต่อหนี้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย. และนางสาว อ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิด ตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริง โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามป.พ.พ. มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้ว จำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และความรับผิดในหนี้สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย.และนางสาวอ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริงโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นโจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้วจำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้บางส่วน, เช็ค, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างย่อมฟังได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลดดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่ การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็ค: สิทธิเรียกร้องหนี้, การยึดเช็คเป็นหลักฐาน, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลย-ที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น.ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ย่อมฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลด ดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่
การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่า ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ขณะทำการรับโอนที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ได้โดยสิ้นเชิง แม้จำเลยที่ 1 จะมีลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับชำระหนี้ได้นอกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ จึงทำให้กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้แก่โจทก์ อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
of 22