พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดย สิ้นเชิงตามป.พ.พ. มาตรา 291 แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีลูกหนี้ร่วม คนอื่นก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินที่ได้ โอนขายให้จำเลยที่ 2ที่ 3 ไป และขณะโอนขาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์และไม่มีทรัพย์สินอื่นพอ ชำระหนี้โจทก์ โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5950/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ซื้อขายไก่: ความรับผิดของคู่สมรสที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าโดยตรง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายไก่กับโจทก์เพียงคนเดียว ใบรับไก่ก็มีแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อรับ แม้จำเลยที่ 2 จะอยู่กิน ฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอาชีพทำไร่และ ขับรถบรรทุกและไม่ได้มาที่ร้านของจำเลยที่ 1 ทุกวัน ปกติจำเลย ที่ 1 จะอยู่กับลูกจ้างจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนหรือกระทำ การค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อมีการผิดสัญญาซื้อขายไก่ โจทก์ต้อง บังคับเอากับจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด หนี้ดังกล่าวไม่ใช่หนี้ร่วมตามป.พ.พ. มาตรา 291.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ร่วมฟ้องคดีเรียกทรัพย์จากเจ้าหนี้ และการใช้ดุลพินิจของศาลตามมาตรา 292(2)
การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 เป็นกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งในคราวเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากศาลพิพากษาให้ฝ่ายลูกหนี้ชนะคดีก็ไม่ต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้โดยวิธีอื่นเพราะสามารถจะหักกลบลบกันได้ ส่วนการงดบังคับคดีตามมาตรา 292(2) นั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยมีเงื่อนไขเพียงว่า ศาลต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมแก่รูปคดี การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้น และศาลพิพากษาให้โจทก์คืนข้าวเปลือกหรือใช้ราคาแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ขอให้ศาลงดการบังคับคดี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจงดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้ในระหว่างที่คดีจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ยังไม่ถึงที่สุดได้ เพราะหากคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวถึงที่สุดและศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็อาจจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ได้ผลก็คือจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้จนกว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ ถึงที่สุดตามมาตรา 292(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยซึ่งขับรถยนต์โดยสารกับ ส. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายนั่งซ้อน ท้ายมาต่างประมาทด้วยกัน มิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด ผู้ตายมิได้มีส่วนทำความผิดด้วย และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกันเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม ตามป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบด้วยมาตรา 291 จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยกับ ส. จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ส. ด้วยกันเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้ร่วมกัน ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด
การที่ ด.บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเป็นเพราะจำเลยกับส.ต่างประมาท มิใช่เป็นการร่วมกระทำละเมิด เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน จึงเป็นกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้กระทำละเมิดทุกคนต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทน้อยกว่า ส.จึงให้จำเลยรับผิดเพียง3 ใน 10 ส่วน ตามความร้ายแรงแห่งละเมิดหาได้ไม่ เพราะด.มิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ผู้กระทำละเมิดแต่ละคนจะรับผิดมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างผู้กระทำละเมิดด้วยกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ชนแล้วเลี้ยวกลับรถ กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองหากผู้เอาประกันภัยประมาท
ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางแบ่งครึ่งถนน แต่ละด้านมีช่องทางจราจร 2 ช่อง ก่อนเกิดเหตุชนกันรถยนต์บรรทุกฝ่ายจำเลยวิ่งมาทางช่องด้านซ้าย แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ช่องกลับรถที่เกาะกึ่งกลางถนนส่วนรถยนต์ฝ่ายโจทก์วิ่งมาในทิศทางเดียวกันแต่วิ่งในช่องทางด้านขวา หัวรถฝ่ายโจทก์ชนที่ยางล้อหลังด้านขวาของรถฝ่ายจำเลยในขณะที่รถฝ่ายจำเลยขวางถนนอยู่ หากรถฝ่ายจำเลยจอดขวางถนนรอเลี้ยวกลับรถอยู่ก่อนแล้วจริง คนขับรถฝ่ายโจทก์ก็ไม่น่าจะขับรถเข้าชนรถฝ่ายจำเลยอย่างแรง การชนกันในลักษณะเช่นนี้น่าจะเกิดจากรถฝ่ายจำเลยเลี้ยวกลับรถโดยกะทันหันโดยไม่ดู ความปลอดภัยเสียก่อนว่ามีรถแล่นตามมาในช่องทางเดินรถช่องที่สองหรือไม่ และการที่จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าขับรถยนต์ประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและยอมให้เปรียบเทียบปรับ แสดงว่าจำเลยที่ 1รู้ดีอยู่แล้วว่าตนเป็นฝ่ายผิด ดังนี้เหตุรถชนกันเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ตามรายงานเกี่ยวกับคดีที่บันทึกว่า จำเลยที่ 2 ช่วย ค่ารักษาพยาบาลแก่ ส. คนขับรถยนต์ฝ่ายโจทก์ ส่วนค่าเสียหายรถยนต์ของฝ่ายโจทก์นั้นจะดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งเองหาใช่เป็นการตกลงใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการซ่อมรถของฝ่ายโจทก์ดัง ที่ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยห้ามไว้ไม่ เมื่อรถของฝ่ายจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดแม้จำเลยที่ 2 จะตกลงใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 3 ก็หาอาจอ้างข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยมาบอกปัดความรับผิดได้ไม่ ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในเงินส่วนหนึ่งพร้อมดอกเบี้ยนั้น หาใช่เป็นการให้ดอกเบี้ยซ้ำซ้อน ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อตกลงพิเศษให้ผู้ค้ำประกันรับผิดทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ถือเป็นผลผูกพันและทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ในทันทีที่ได้รับการทวงถามโดยมิพักต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผล ผูกพันคู่สัญญา ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ระบุให้ชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ในทันทีที่ได้รับการทวงถาม โดยมิพักต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขอสัญญาดังกล่าวมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงมีผลผูกพันคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดตามคำพิพากษา แม้มีการชำระหนี้บางส่วนโดยลูกหนี้ร่วมคนอื่น หนี้ยังไม่ระงับ
หนี้ตาม คำพิพากษาที่ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อ โจทก์โดยจำกัดวงเงินให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดนั้น จำเลยที่ 3 ต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้อง รับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าโจทก์จะได้ รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ส่วนที่ตนต้อง รับผิดยังไม่ครบและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้อง ชำระหนี้ในส่วนที่ตน ยังต้อง รับผิด ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในการจำนำทรัพย์สิน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะวงเงินจำนำ
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะ ผู้จำนำ ยอม รับผิดในฐานะ ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 นั้น หมายความเพียงว่าจำเลยที่ 2จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่ จำเลยที่ 2 จะต้อง รับผิดในหนี้นอกเหนือจากราคาทรัพย์ที่จำนำก็ต่อ เมื่อมีข้อสัญญาแสดงฐานะ ว่าเป็นผู้ค้ำประกันโดย ชัดแจ้ง