คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 291

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำ: สัญญาจำนำจำกัดความรับผิดตามวงเงินประกัน ไม่ขยายไปถึงหนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำหุ้นในสัญญาจำนำ: ผู้จำนำรับผิดเฉพาะวงเงินจำนำ ไม่ใช่หนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยมิชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้ บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่ง อะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้ กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไรเมื่อใด และทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่มีข้อความใด เคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ทั้งตาม คำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอน ใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้ บรรยายโดย แจ้งชัดถึง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ ศาลแพ่งได้ จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้ มีคำวินิจฉัยของอธิบดี ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าต้อง ฟ้องตาม เรื่องเดิม คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วย ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้ว ในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตน เป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อ แผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่ง เป็นหัวหน้าแผนกขายได้ ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจโดย ไม่มีผู้มาขอรับ และจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง เป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ โดย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้อง ได้มีผู้มาติดต่อ แนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจเลยและตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อ โดย ไม่ได้ระบุชื่อ ผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่ง รักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้ไปโดย ความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้อง ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่ตรวจสอบหลักฐานและจ่ายเงินโดยมิชอบ ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่งอะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไร เมื่อใดและทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใด ไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาทั้งตามคำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอนใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา จึงไม่เคลือบคลุม.
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิดแต่ศาลแพ่งได้จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะจำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้มีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อศาลแรงงานกลางในเรื่องใดย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องฟ้องตามเรื่องเดิม
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นถึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจพ.ศ. 2518 ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อสั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เป็นการสั่งซื้อสั่งจ้าง โดยตรง ไม่ผ่านการติดต่อของ ว.ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518นอกจากข้อ 5 แล้ว ข้อ 7 กำหนดให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตนเป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อแผนกขายเพื่อพิจารณา ตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกขายทำบันทึกเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยไม่มีผู้มาขอรับและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ เสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนว่า ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ หรือไม่จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่งรักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ ให้ไปโดยความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าดำเนินธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับองค์กร ความรับผิดของกรรมการและผู้บริหาร
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่งอะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไรเมื่อใด และทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ทั้งตามคำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอนใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ศาลแพ่งได้จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้มีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องฟ้องตามเรื่องเดิม
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518 ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้วในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตนเป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อแผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกขายได้ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยไม่มีผู้มาขอรับและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้องได้มีผู้มาติดต่อแนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนินธุรกิจเลย และตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อโดยไม่ได้ระบุชื่อผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่งรักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้ไปโดยความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
หนี้ตามเช็คพิพาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีรวมเข้าด้วย แต่หนี้ดังกล่าวเกิดจากมูลหนี้เดิมที่ห้างจำเลยที่ 1 ซื้ออาหารสัตว์ไปจากโจทก์แล้วค้างชำระ และห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวในเงินที่ค้างชำระนั้นรวมเข้าไปด้วย กรณีมิใช่เป็นเรื่องการกู้ยืมเงิน จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้ล้มละลายได้
ห้างจำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารฯ โดยระบุผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินไว้คือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ลงลายมือชื่อร่วมกัน 2 คน พร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทพร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ด้วย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้นั้น จะต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 9 หรือมาตรา 10 หากไม่ได้ความจริงตามมาตราดังกล่าว หรือจำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้องเมื่อเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.16 เป็นพยานเอกสารที่อาจแสดงได้ว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานนั้นตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านั้นได้ แม้จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้อีกฝ่ายหนึ่งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยที่นำสืบมามีเหตุผลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด แม้จำเลยที่ 4 จะไม่มีทรัพย์สินเลย แต่เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กรณีก็มีเหตุไม่ควรให้จำเลยที่ 4 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากทุจริตของพนักงานอื่น และการหักกลบลบหนี้ในคดีแรงงาน
ในการปิดบัญชีเงินสดของแต่ละวัน โจทก์ตรวจแต่บัญชีเงินสดมิได้ตรวจตราไปรษณียากรคงเหลือ ทะเบียน กับสมุดแรกรับตราไปรษณียากรและวิมัยบัตรตามหน้าที่ เป็นเหตุให้พนักงานเงินทุจริตนำไปรษณียากรและเงินฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์รายเดือนไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างโดยตรงฐานผิดสัญญาจ้างและฐานกระทำละเมิดต่อจำเลยในฐานลูกหนี้ร่วมกับพนักงานเงิน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเกษียณอายุ โดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินโบนัสแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินของจำเลยทุจริตทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลย ซึ่งเมื่อหักแล้วโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าว เช่นนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์กระทำผิดสัญญาจ้างและกระทำละเมิดต่อจำเลย จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแล้ว ทั้งจำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างไร จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างไรฉบับที่เท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่า การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินทุจริตนำเงินของจำเลยไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวจำนวน 397,090.50 บาท และโจทก์ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่จำเลยด้วย แม้ในฟ้องแย้งจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์ใช้เพียง 36,130.15 บาทก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าสามารถนำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดมาหักกับสิทธิเรียกร้องในเงินตามฟ้องของโจทก์ได้ จึงต้องถือว่าจำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งหมดอยู่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องรวม 375,257.14 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โจทก์จึงต้องชำระเงินให้จำเลยอีก21,833.36 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแย้งตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากทุจริตของพนักงานอื่น และการหักกลบลบหนี้กับนายจ้าง
ในการปิดบัญชีเงินสดของแต่ละวัน โจทก์ตรวจแต่บัญชีเงินสดมิได้ตรวจตราไปรษณียากรคงเหลือ ทะเบียนคุมเงินตราไปรษณียากรสมุดแรกรับตราไปรษณียากรและวิมัยบัตรตามหน้าที่ เป็นเหตุให้ส. พนักงานเงินทุจริตไปรษณียากรและเงินฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์รายเดือนนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างโดยตรงฐานผิดสัญญาจ้างและฐานกระทำละเมิดต่อจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินดังกล่าวแก่จำเลยได้โดยสิ้นเชิงในฐานลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จค่าชดเชย และเงินโบนัสแก่โจทก์จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินของจำเลยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลย แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าวเช่นนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดขึ้น เนื่องจากโจทก์กระทำผิดสัญญาจ้างและกระทำละเมิดต่อจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายฟ้องแย้งของจำเลยจึงถือได้ว่าเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแล้ว
จำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างไร จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสองแล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างไร ฉบับที่ เท่าใด นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งและเบิกความในชั้นพิจารณาว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลย หนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยเรียกจากโจทก์จึงมีข้อต่อสู้ ดังนั้น จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้ แต่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่า การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้ ส. พนักงานเงินทุจริตนำเงินของจำเลยไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวจำนวน 397,090.50 บาท และโจทก์ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่จำเลยด้วย แม้ในฟ้องแย้งจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์ใช้เพียง 36,130.15 บาท ก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าสามารถนำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวมาหักกับสิทธิเรียกร้องในเงินตามฟ้องของโจทก์ได้จึงต้องถือว่าจำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งหมดอยู่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องรวาม 375,257.14 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปเมื่อหักหนี้แล้วโจทก์ต้องชำระเงินให้จำเลยอีก 21,833.36บาท พร้อมดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการทุจริตของพนักงานอื่น และการหักกลบลบหนี้จากค่าจ้าง
โจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของพนักงานเงินพนักงานบัญชี ในการปิดบัญชีแต่ละวัน โจทก์มีหน้าที่ตรวจ นับเงินสดตรา ไปรษณียากร อากรแสตมป์ ตั๋วแลกเงินและวิมัยบัตร ให้ตรงกับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินสดแต่ในช่วงวันที่ 4 กรกฎาคม 2529ถึง วันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 โจทก์ตรวจ เฉพาะ บัญชีเงินสด ไม่ได้ตรวจ ตราไปรษณียากรคงเหลือแต่ละวัน ทะเบียนคุมเงินตราไปรษณียากรสมุด แรกรับตราไปรษณียากรและวิมัยบัตร เป็นเหตุให้ ส.พนักงานเงินทุจริตไปรษณียากรกับเงินฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุ ไปรษณีย์รายเดือน นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์จึงต้อง รับผิดต่อ จำเลยโดยตรงฐาน ผิดสัญญาจ้างแรงงานและฐาน กระทำ ละเมิดต่อ จำเลยโดย ร่วมรับผิดกับ ส. และ อ. พนักงานบัญชีอย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากอายุเกิน 60ปีบริบูรณ์ ขอให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินโบนัสจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ละเลยไม่ ปฏิบัติตาม ระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินของจำเลยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงขอใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลย เมื่อหักแล้วโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่งจำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์กระทำผิดสัญญาจ้างและกระทำละเมิดต่อ จำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งจำเลยได้ บรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างไร จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับอย่างไรฉบับที่เท่าใด เป็นเรื่องที่จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลย และในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยด้วย หนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยเรียกจากโจทก์จึงยังมีข้อต่อสู้ ดังนั้นจำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม จำเลยก็ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่าการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้ ส. พนักงานเงินทุจริต นำเงินของจำเลยไปใช้ เป็นประโยชน์ส่วนตัวจำนวน 397,090.50 บาท และโจทก์ต้อง ร่วมรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลย แม้ในฟ้องแย้งของจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์ใช้ เงินเพียง 36,130.15 บาท ก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าสามารถนำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวมาหักกับสิทธิเรียกร้องในเงินตามฟ้องของโจทก์ได้ จึงต้อง ถือว่าจำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งหมดเมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องเป็นเงินรวม 375,257.14 บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 360,960.35 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 397,090.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับตาม คำพิพากษาจึงเห็นสมควรให้หักหนี้กันเสียโดย ให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปรากฏว่าเมื่อหักหนี้แล้วโจทก์ต้อง ชำระเงินให้จำเลยอีก 21,833.36 บาทพร้อมดอกเบี้ย ดังกล่าวแต่ เนื่องจากจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ จึงให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตาม คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน, ความรับผิดของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา, การชดใช้ค่าเสียหายจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธิปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป. ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง ป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน
โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตาม มาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่
of 22