คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 291

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากสัญญาจ้างแรงงานและการปฏิบัติผิดสัญญา vs. ละเมิด และความรับผิดของลูกจ้างร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป.ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่ ป.ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตามมาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้ซื้อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงการรอนสิทธิ์จากทรัพย์สิน
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 45
การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้รับโอนกรรมสิทธิ์: ลูกหนี้ร่วมและผลของการซื้อขาย
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้ จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 45
การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้ซื้อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 45 การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันในหนี้จำกัดวงเงิน และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
ฎีกาของโจทก์แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต่างทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ในวงเงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์คนละฉบับ ดังนี้ เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่แยกความรับผิดกันไม่ กรณีดังกล่าวแม้หนี้ของจำเลยที่ 1 จะมีจำนวนเกินกว่า500,000 บาท จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญารับชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทไม่แต่ถ้าผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันหลายคนร่วมรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด ไม่แยกความรับผิดในส่วนที่เกินวงเงินค้ำประกัน
ฎีกาของโจทก์แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต่างทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ในวงเงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์คนละฉบับ ดังนี้ เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่แยกความรับผิดกันไม่
กรณีดังกล่าวแม้หนี้ของจำเลยที่ 1 จะมีจำนวนเกินกว่า 500,000บาท จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญารับชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทไม่แต่ถ้าผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ร่วม: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดวงเงิน และการคิดดอกเบี้ย
ฎีกาของโจทก์แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต่างทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ในวงเงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์คนละฉบับ ดังนี้ เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่แยกความรับผิดกันไม่
กรณีดังกล่าวแม้หนี้ของจำเลยที่ 1 จะมีจำนวนเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญารับชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทไม่ แต่ถ้าผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าซื้อทวงถาม และความรับผิดของผู้ค้ำประกันเสมือนลูกหนี้ร่วม
ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมิใช่ค่าเช่าซื้อ สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ตก อยู่ ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6) กรณีต้องบังคับตามอายุความทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ 10 ปี เมื่อจำเลยผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตน เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อ จำเลยก็มีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและตามสัญญาเช่นเดียวกับผู้เช่าซื้อ รวมทั้งต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อแก่โจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: ความรับผิดของลูกหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน แม้ชื่อสัญญาจะเป็นค้ำประกัน
แม้สัญญาระบุชื่อว่าสัญญาค้ำประกัน แต่ข้อความในสัญญามีว่าจำเลยที่ 3 จ้างโจทก์ประกันตัวจำเลยที่ 1 ไปจากศาลแล้วจำเลยที่ 3 จะปฏิบัติตามนัดทุกครั้ง โดยการมอบตัวจำเลยที่ 1 ณ สถานที่ส่งตัว ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่สามารถส่งตัวจำเลยที่ 1 ได้เพราะจำเลยที่ 1 หลบหนีเป็นเหตุให้โจทก์ถูกปรับเป็นเงินมากน้อยเท่าใด จำเลยที่ 3 ยอมชดใช้เงินแทนโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทนธรรมดาที่ใช้บังคับกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ชำระหนี้คือส่งตัวจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยตรง หาใช่เป็นการผูกพันตนเข้าชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้อันเป็นการค้ำประกันไม่ ฉะนั้นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ว่าไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689, 700 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในลักษณะ 11 เรื่องค้ำประกันจะนำมาใช้กับคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิลูกหนี้ร่วมและการกระทำโดยสุจริตของเจ้าหนี้
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกันโดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว.
of 22