คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 291

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง: หลักการชำระหนี้ร่วมกันและจำกัดความรับผิด
เมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องฎีกาสำหรับลูกจ้างแล้วคดีเกี่ยวกับลูกจ้างเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าให้ลูกจ้างร่วมกับนายจ้างชำระเงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งอันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ยังคงฎีกาให้นายจ้างรับผิดเพิ่มขึ้นนายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น นายจ้างไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าที่ลูกจ้างจะต้องรับผิด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง: หนี้ร่วมที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
เมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องฎีกาสำหรับลูกจ้างแล้วคดีเกี่ยวกับลูกจ้างเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าให้ลูกจ้างร่วมกับนายจ้างชำระเงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งอันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ยังคงฎีกาให้นายจ้างรับผิดเพิ่มขึ้นนายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น นายจ้างไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าที่ลูกจ้างจะต้องรับผิด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและผู้บังคับบัญชาในสวัสดิการเงินกู้ที่ไม่ได้จดทะเบียน
สโมสรนายทหารกองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 1 ตั้งสวัสดิการเงินกู้ขึ้น ดำเนินงานโดยคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับการเป็นผู้แต่งตั้งตามตำแหน่งงานของหน่วย ผลัดเปลี่ยนกันไปโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้บังคับการ ทุนของสวัสดิการเงินกู้ได้มาจากเงินของหน่วยงานกับเงินของข้าราชการที่เป็นสมาชิกสโมสรนำมาฝาก ปี พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 มาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองรบพิเศษฯ แห่งนี้ ได้เป็นประธานกรรมการสวัสดิการเงินกู้โดยตำแหน่ง ครั้นปี พ.ศ.2516 จำเลยที่ 1 ไปราชการ ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรองผู้บังคับการเป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการ และจำเลยที่ 5 คงเป็นกรรมการและผู้จัดการตาม เดิมต่อไป โจทก์นำเงินเข้าฝากไว้ในสวัสดิการเงินกู้เป็นจำนวน 230,000 บาทสวัสดิการเงินกู้ไม่จ่ายเงินปันผลให้โจทก์ โจทก์จึงเรียกเงินฝากคืนพร้อมทั้งเงินปันผล เช่นนี้ สวัสดิการเงินกู้นี้มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานทั้งหลายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการผู้ได้รับแต่งตั้งดังปรากฏตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ แม้คณะกรรมการนี้จะมีการแต่งตั้งเปลี่ยนกันไปหลายครั้งตามตำแหน่งนับแต่เริ่มตั้งสวัสดิการเงินกู้จนปัจจุบัน ก็ต้องถือว่าคณะกรรมการใหม่ยอมรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดจากคณะกรรมการชุดเดิมที่ดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ไว้ จะยกข้ออ้างว่าตนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและไม่ได้รับมอบหมายการงานหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 รับเงินจากโจทก์ไว้ในนามของคณะกรรมการซึ่งกรรมการอื่นต้องร่วมรับผิดในเงินฝากของโจทก์ด้วยและเป็นนิติสัมพันธ์ทางสัญญาตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 พ้นจากตำแหน่งกรรมการสวัสดิการเงินกู้ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ไม่เป็นผลลบล้างอำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมให้หมดไป สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นเมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการ จำเลยที่ 1 ก็เข้าเป็นประธานกรรมการดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ต่อมา แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะไปราชการและแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเงินกู้ขึ้นใหม่คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่5แต่คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งนี้ยังคงอยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม จำเลยที่1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อบุคคลภายนอกเช่นโจทก์ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและผู้บังคับบัญชาต่อเงินฝากในสวัสดิการเงินกู้ที่ไม่จดทะเบียน
สโมสรนายทหารกองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 1 ตั้งสวัสดิการเงินกู้ขึ้น ดำเนินงานโดยคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับการเป็นผู้แต่งตั้งตามตำแหน่งของหน่วย ผลัดเปลี่ยนกันไปโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้บังคับการ ทุนของสวัสดิการเงินกู้ได้มาจากเงินของหน่วยงานกับเงินของข้าราชการที่เป็นสมาชิกสโมสรนำมาฝาก ปี พ.ศ. 2514 จำเลยที่ 1 มาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองรบพิเศษฯ แห่งนี้ ได้เป็นประธาน กรรมการสวัสดิการ เงินกู้โดยรองผู้บังคับการเป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการ และจำเลยที่ 4 คงเป็นกรรมการและผู้จัดการตามเดิมต่อไป โจทก์นำเงินเข้าฝากไว้ในสวัสดิการเงินกู้เป็นจำนวน 230,000 บาท สวัสดิการเงินกู้ไม่จ่ายเงินปันผลให้โจทก์ โจทก์จึงเรียกเงินฝากคืนพร้อมทั้งเงินปันผล เช่นนี้ สวัสดิการเงินกู้มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานทั้งหลายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการผู้ได้แต่งตั้งดังปรากฏตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ แม้คณะกรรมการนี้จะมีการแต่งตั้งเปลี่ยนกันไปหลายครั้งตามตำแหน่งนับแต่เริ่มตั้งสวัสดิการเงินกู้จนถึงปัจจุบัน ก็ต้องถือว่าคณะกรรมการใหม่ยอมรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดจากคณะกรรมการชุดเดิมที่ดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ไว้ จะยกข้ออ้างว่าตนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและไม่ได้รับมอบหมายการงานหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 รับเงินจากโจทก์ไว้ในนามของคณะกรรมการ ซึ่งกรรมการอื่นต้องร่วมรับผิดในเงินฝากของโจทก์ด้วย และเป็นนิติสัมพันธ์ ทางสัญญาตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 พ้นจากตำแหน่งกรรมการสวัสดิการ เงินกู้ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ไม่เป็นผลลบล้างอำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิม ให้หมดไป สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาการ จำเลยที่ 1 ก็เข้าเป็นประธานกรรมการดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ต่อมา แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะไปราชการและแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเงินกู้ขึ้นใหม่คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งยังคงอยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อบุคคลภายนอก เช่นโจทก์ ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ ผู้จำนำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามมูลค่าหุ้น หากขายได้เงินน้อยกว่าก็ต้องชดใช้ส่วนต่าง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 1, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 7 ได้จำนำหุ้นซึ่งจำเลยแต่ละคนเป็นผู้ถือเพื่อเป็นการประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 สัญญาจำนำระบุว่าผู้จำนำยอมรับผิดต่อผู้รับจำนำในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และถ้าขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมชดใช้เงินที่ยังขาดอีกจนครบนั้น ต้องแปลว่าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เต็มมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนนำมาจำนำ หากภายหลังขายได้เงินสุทธิน้อยกว่ามูลค่าหุ้นแล้ว ผู้จำนำยอมรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม ความรับผิด ค่าเสียหายซ้ำซ้อน การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ปัญหาที่ว่าเมื่อโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม ความรับผิดในค่าเสียหาย และการไม่ซ้ำซ้อนของค่าเสียหายจากการบาดเจ็บและขาดรายได้
ปัญหาที่ว่าเมื่อโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2นั้น มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้ร่วม และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอ ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบ นั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา หาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อน ถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่ จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่ะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม & การบังคับคดี – สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกหนี้จากลูกหนี้แต่ละคน & การฟ้องล้มละลาย
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบนั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อนถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม vs. ผู้ค้ำประกัน: ศาลบังคับชำระหนี้ได้แม้ฟ้องในฐานะผู้ค้ำประกัน หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นลูกหนี้ร่วม
เอกสารมีข้อความว่า ถ. รับเป็นผู้จัดการในการผ่อนชำระเงินค่าข้าวสารซึ่ง บ. ซื้อไปจาก จ. เนื่องจาก บ. ไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้ดังนี้หมายความว่าจะใช้หนี้แทน เป็นลูกหนี้ร่วม ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้อง แม้จะกล่าวว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมก็บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมได้ ไม่เป็นการนอกเหนือความประสงค์ที่โจทก์ฟ้อง
การที่จำเลยส่งสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยจะนำสืบให้โจทก์ก่อนสืบพยานโจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นเอกสารปลอม อันทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิจะนำสืบว่าเป็นเอกสารปลอมนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านเมื่อตอนโจทก์นำสืบปฏิเสธเอกสารดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นคัดค้านภายหลังหาได้ไม่
of 22