คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 291

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับลูกหนี้: ฟ้องก่อนหลังก็ได้ การชำระหนี้ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยรับผิดร่วมกับลูกหนี้นั้นอาจถูกฟ้องก่อนหรือหลังลูกหนี้ก็ได้ การชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีใบรับเป็นหนังสือ จึงนำสืบพยานบุคคลแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะ แต่ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดได้จำกัดเฉพาะความเสียหายจากการขาดประโยชน์และการบรรทุก
กรณีโจทก์เช่าซื้อรถยนต์มาด้วยปากเปล่าโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แม้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะก็ตามแต่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์จากเจ้าของมาไว้ในความครอบครองโดยมีสิทธิที่จะใช้สอยหาประโยชน์และได้เคยชำระเงินค่าเช่าซื้อไปโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือฉะนั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้ครอบครองใช้สอยหาประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายจากจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ถูกละเมิดได้ คือมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการนำรถยนต์ออกรับจ้างหาผลประโยชน์และมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาด้วยแต่โจทก์หามีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวกับตัวรถยนต์โดยตรงไม่กล่าวคือ ไม่มีอำนาจที่จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องออกค่าซ่อมรถเองและค่าเสื่อมราคาของรถผู้มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2 รายการนี้ได้
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้จำเลยแต่ละคนรับผิดร่วมกันและแทนกันโดยสิ้นเชิงเต็มจำนวนซึ่งโจทก์ย่อมจะเลือกบังคับเอาจากจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้ และโดยเหตุที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ความรับผิดตามสัญญากรมธรรม์ต่อบุคคลภายนอกซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 ได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ต้องเสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองก่อนในวงเงินไม่เกินกรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงหาเป็นการเกินคำขอตามฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ของผู้เช่าซื้อ และความรับผิดของผู้รับประกันภัย
กรณีโจทก์เช่าซื้อรถยนต์มาด้วยปากเปล่าโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แม้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์จากเจ้าของมาไว้ในความครอบครองโดยมีสิทธิที่จะ ใช้สอยหาประโยชน์และได้เคยชำระเงินค่าเช่าซื้อไปโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ฉะนั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้ครอบครองใช้สอยหาประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย จากจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ถูกละเมิดได้ คือมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการนำรถยนต์ออกรับจ้างหาผลประโยชน์และมีสิทธิเรียก ร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาด้วย แต่โจทก์หามีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวกับตัวรถยนต์โดยตรงไม่ กล่าวคือไม่มีอำนาจที่จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องออกค่าซ่อมรถเองและค่าเสื่อมราคาของรถ ผู้มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2 รายการนี้ได้
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้จำเลยแต่ละคนรับผิดร่วมกันและแทนกันโดยสิ้นเชิงเต็มจำนวนซึ่งโจทก์ย่อมจะเลือกบังคับเอาจาก จำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้ และโดยเหตุที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ความรับผิดตามสัญญากรมธรรม์ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 ได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ต้องเสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองก่อนในวงเงินไม่เกินกรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงหาเป็นการเกินคำขอตามฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังการตายของหุ้นส่วน และสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล
โจทก์ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 1 กับ ส. อีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันลงทุนซื้อหุ้นบริษัท น. เพื่อแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากการถือหุ้น การที่จำเลยที่ 1 กับ ส. มีชื่อถือหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำนวนหุ้นของบริษัท น. จึงเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วนที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาเมื่อเลิกกันไม่ใช่จะแบ่งเฉพาะเงินลงทุนค่าหุ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชี หรือตกลงแบ่งกันโดยวิธีอื่นโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลในปี 2510 และ ปี ต่อๆ ไป จนกว่าจะชำระบัญชีหรือตกลงแบ่งกันเสร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าและการแบ่งสินสมรส กรณีหมิ่นประมาทบุพการีและการหักหนี้ร่วม
จำเลยด่าโจทก์และมารดาโจทก์ว่ามารดาโจทก์เป็นคนดอกทองและโจทก์เป็นลูกคนดอกทอง มารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นคนดอกทอง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493ได้นิยามคำว่า "ดอกทอง" ไว้ว่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี คำด่าดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการด่ามารดาโจทก์เป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณีและมารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยา ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อน จึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทบุพการีเป็นเหตุฟ้องหย่า และหลักการแบ่งสินสมรสเมื่อมีหนี้ร่วม
จำเลยด่าโจทก์และมารดาโจทก์ว่ามารดาโจทก์เป็นคนดอกทองและโจทก์เป็นลูกคนดอกทอง มารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นคนดอกทอง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493ได้นิยามคำว่า 'ดอกทอง' ไว้ว่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี คำด่าดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการด่ามารดาโจทก์เป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณีและมารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยาให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนจึงจะ แบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินเมื่อชำระหนี้แทนได้ แม้ยังไม่ชำระหนี้ทั้งหมด
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับอาวัลไม่ต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระหนี้ ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของสัมปทานต่อการดำเนินงานของผู้อื่น และการเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายทางร่างกายและขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3. จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3. เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3. จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง.(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510).
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต. โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารถประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444. และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446. โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของสัมปทานเดินรถต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ และการเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากความเสียหายต่อร่างกายและขาดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510)
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
of 22