คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 291

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ร่วมกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดทั้งหมด ไม่สามารถแบ่งความรับผิดตามส่วนของลูกหนี้ได้
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดให้โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิง จำเลยจะแบ่งชำระให้โจทก์เป็นส่วน ๆ เฉพาะของจำเลยแต่ละคนหาได้ไม่ เมื่อความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์มีอย่างนี้ ผู้ร้องกับ บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิงตามคำพิพากษาเช่นเดียวกัน จะให้ผู้ร้องกับ บ. รับผิดใช้ค่าสินไหมให้โจทก์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โดยแบ่งคนละครึ่งกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรค 3 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องในระหว่างผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน คือ จำเลยทั้งสองด้วยกันเอง มิใช่บทบัญญัติให้จำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน แบ่งแยกกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์รับไปตามส่วนของจำเลยแต่ละคน ดังนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จะอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรค 3 นี้มาอ้างว่าผู้ร้องมีความรับผิดเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ร่วมกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด ไม่สามารถแบ่งรับผิดเฉพาะส่วน
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีละเมิดให้โจทก์จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน มีหน้าที่ต้อง ชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิง จำเลยจะแบ่งชำระให้โจทก์เป็นส่วน ๆ เฉพาะของจำเลยแต่ละคนหาได้ไม่เมื่อความรับผิดร่วมกันของ จำเลยทั้งสอง ต่อโจทก์มีอย่างนี้ ผู้ร้องกับ บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิงตามคำพิพากษา เช่นเดียวกัน จะให้ผู้ร้องกับ บ. รับผิดใช้ค่าสินไหมให้โจทก์เฉพาะส่วน ของจำเลยที่ 1 โดยแบ่งคนละครึ่งกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องในระหว่างผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน คือ จำเลยทั้งสองด้วยกันเองมิใช่บทบัญญัติให้จำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน แบ่งแยกกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์รับไปตามส่วนของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จะอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสามนี้มาอ้างว่าผู้ร้องมีความรับผิดเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีชำระหนี้จากการส่งมอบช้างของกลาง เริ่มนับแต่วันที่สั่งให้ส่งมอบ ชำระหนี้แบ่งแยกไม่ได้ ผลกระทบต่อจำเลยอื่น
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะอุทธรณ์ว่าโจทก์หมดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 1374, 1375 และ 1382 ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะยกมาตรา 164 ขึ้นมาปรับแก่คดีได้ เพราะจำเลยได้บรรยายข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว การจะปรับบทกฎหมายมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดตัวแทนโจทก์สั่งให้จำเลยส่งมอบข้างของกลางให้แก่อำเภอเพื่อขาดทอดตลาดตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 อายุความต้องเริ่มนับแต่ พ.ศ. 2494 อันเป็นวันที่สั่งให้จำเลยส่งมอบ เพราะตั้งแต่วันที่สั่งให้ส่งนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยได้แล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันส่งมอบช้างคืน มูลแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยคนอื่นยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยอื่นจึงได้รับผลแห่งอายุความด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีชำระหนี้ช้างป่า: เริ่มนับแต่วันที่ผู้ว่าฯ สั่งให้ส่งมอบ, จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การได้รับผล
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้วแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะอุทธรณ์ว่าโจทก์หมดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 1374, 1375 และ1382 ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะยกมาตรา 164 ขึ้นมาปรับแก่คดีได้ เพราะจำเลยได้บรรยายข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว การจะปรับบทกฎหมายมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดตัวแทนโจทก์สั่งให้จำเลยส่งมอบช้างของกลางให้แก่อำเภอเพื่อขายทอดตลาดตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464อายุความต้องเริ่มนับแต่ พ.ศ. 2494 อันเป็นวันที่สั่งให้จำเลยส่งมอบเพราะตั้งแต่วันที่สั่งให้ส่งนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยได้แล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันส่งมอบช้างคืน มูลแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยคนอื่นยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยอื่นจึงได้รับผลแห่งอายุความด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองแม้ขาดอายุความ: ทายาทลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้จำนองได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเพื่อให้จำเลยไถ่ถอนการจำนอง แม้สิทธิของโจทก์จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 แล้วก็ตามแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเป็นจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
หนี้จำนองที่เป็นหนี้ร่วม โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองแม้ขาดอายุความ - หนี้ร่วม เจ้าหนี้เลือกฟ้องลูกหนี้รายใดก็ได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเพื่อให้จำเลยไถ่ถอนการจำนอง แม้สิทธิของโจทก์จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 แล้วก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเป็นจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
หนี้จำนองที่เป็นหนี้ร่วม โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยึดทรัพย์จำนองโดยไม่ต้องบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ผู้จำนองค้ำประกันเงินกู้นั้น ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลให้ไว้ต่อโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินโจทก์ ถ้าผิดสัญญาประนีประนอมนั้น ยอมให้โจทก์ยึดที่ดินที่จำนองค้ำประกันขายทอดตลาดได้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัด โจทก์ย่อมยึดที่ดินนั้นขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิโจทก์ในการยึดทรัพย์จำนองโดยไม่ต้องบังคับคดีกับผู้กู้ก่อน
จำเลยที่ 1 ผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ผู้จำนองค้ำประกันเงินกู้นั้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลให้ไว้ต่อโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินโจทก์ ถ้าผิดสัญญาประนีประนอมนั้น ยอมให้โจทก์ยึดที่ดินที่จำนองค้ำประกันขายทอดตลาดได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดโจทก์ย่อมยึดที่ดินนั้นขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันร่วมกัน ไล่เบี้ยเรียกคืนหนี้ได้กึ่งหนึ่งตามหลักทั่วไป
ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกัน บทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันร่วมกันมีสิทธิไล่เบี้ยกันได้ตามหลักทั่วไป
ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296
of 22