พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5098/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม: แม้ชำระหนี้บางส่วนจากทายาท ก็ยังต้องรับผิดหนี้ส่วนที่เหลือตามสัญญาร่วม
จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับ ณ. และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจึงเป็นลูกหนี้ร่วม โจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 การที่โจทก์นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามและ ณ. ให้เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และ ณ. เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาไปขอรับชำระหนี้แม้โจทก์จะยอมรับชำระหนี้จากทายาทของ ณ. เพียงบางส่วนโดยไม่ติดใจขอรับชำระหนี้ส่วนที่เหลือ และขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในส่วนนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับ ณ. หลุดพ้นไม่ต้องชำระหนี้ในส่วนที่เหลือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เต็มตามขอ โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เหลือกรณีมิใช่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว และมิใช่กรณีลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย อันจะเป็นเหตุให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 3 ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 135(2) และ (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้แต่ละคนตามสัดส่วนหรือทั้งหมดได้ตามกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้แก่ธนาคารโจทก์ จำเลยทั้งห้าจึงเป็นลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกบังคับให้ลูกหนี้คนใดคนหนึ่งชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 ออกขายทอดตลาด แต่ต่อมาได้ขอให้ถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยที่ 4 ได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 4 ชำระหนี้บางส่วนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 4 จะนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อให้ผู้อื่นและทำให้จำเลยที่ 3 ต้องถูกยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ที่เหลือ ก็หาใช่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตของโจทก์แต่อย่างใดไม่ ส่วนการที่โจทก์ยอมปล่อยทรัพย์ของจำเลยที่ 4 ที่ถูกยึดขายทอดตลาดไปทั้งที่ยังไม่ได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนอันจะมีผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่เหลือได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีหนี้ เจ้ามรดก ผู้ค้ำประกัน และผลของการไม่ฟ้องร้องภายในกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: เจ้าหนี้ฟ้องหลัง 1 ปีจากรู้ถึงการเสียชีวิตของลูกหนี้ ย่อมถูกยกข้อต่อสู้ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้กู้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้ได้ แม้ยังมิได้มีการจัดการมรดก
ความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ตอนแรกที่บัญญัติว่าภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 นั้นหมายถึงความในมาตรา 1754วรรคสาม ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในมาตรา 193/27 ซึ่งใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้ได้แม้หนี้นั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม มิใช่ว่าความในมาตรา 1754 วรรคสามบังคับใช้เฉพาะเจ้าหนี้มีประกัน ไม่ใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ
การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกแม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิตามมาตรา 694 ที่จะยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ตามสัญญา ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนให้ทั้งสิ้น เพียงแต่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับไปแล้วหรือผู้กู้ไม่ชำระหนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดรวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงมีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้เมื่อผู้กู้ถึงแก่กรรม
ความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ตอนแรกที่บัญญัติว่าภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 นั้นหมายถึงความในมาตรา 1754วรรคสาม ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในมาตรา 193/27 ซึ่งใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้ได้แม้หนี้นั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม มิใช่ว่าความในมาตรา 1754 วรรคสามบังคับใช้เฉพาะเจ้าหนี้มีประกัน ไม่ใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ
การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกแม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิตามมาตรา 694 ที่จะยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ตามสัญญา ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนให้ทั้งสิ้น เพียงแต่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับไปแล้วหรือผู้กู้ไม่ชำระหนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดรวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงมีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้เมื่อผู้กู้ถึงแก่กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการตายลูกหนี้: ทายาท/ผู้ค้ำประกันมีสิทธิยกอายุความได้ หากเจ้าหนี้ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด แม้จะชำระบางส่วนและตกลงให้ผู้เสียหายไปเรียกร้องจากลูกหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ. มาตรา 341 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดรวม 810,000 บาท ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 หลบหนี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ชั่วคราว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ขอถอนคำให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพ แต่ขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาเพื่อนำเงินมาชำระให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาท ส่วนที่เหลือผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไปเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 สอบโจทก์ ผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 7 แล้วรับว่าเป็นจริง และต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาทแล้ว ดังนี้ การที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมรับตามคำแถลงของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ว่า เงินส่วนที่เหลือผู้เสียหายจะไปเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินส่วนที่เหลือจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อีก จึงถือไม่ได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาระงับข้อพิพาทโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดต่อกันอีก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจนสิ้นเชิงในฐานะลูกหนี้ร่วม ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันคืนหรือใช้เงินส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และการระงับข้อพิพาทที่ไม่สมบูรณ์
คำฟ้องของโจทก์บรรยายไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้ จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีอย่างถูกต้อง ส่วนค่าเสียหาย ค่าแรงและค่าอะไหล่แต่ละรายการจำนวนเท่าใดล้วนแต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้ปรากฏได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างซึ่งได้กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายจนต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิง แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สินเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 สำหรับกรณีของจำเลยก็เช่นเดียวกันถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกับ ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยหรือ ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดคนใดคนหนึ่งได้โดยลำพังเพียงคนเดียวโดยไม่ฟ้อง ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดเป็นจำเลยด้วยก็ย่อมทำได้ ไม่ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หลังเกิดเหตุรถยนต์สองคันชนกัน ป. พนักงานของจำเลยและ ธ. พนักงานขับรถยนต์โดยสารสาธารณะคันเกิดเหตุได้ทำหนังสือยินยอมรับผิดว่ารถยนต์ของจำเลยได้ชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยระบุความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ไว้แก่เจ้าของรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเพื่อนำไปตกลงค่าเสียหายต่อไป จึงเป็นเพียงหนังสือที่ออกให้เพื่อทราบความเสียหายและเพื่อแสดงความรับผิดชอบเบื้องต้นของจำเลยกับเจ้าของรถยนต์คู่กรณีเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายที่ต้องชำระ วิธีชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก จึงมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหลุดพ้นจากความรับผิดในมูลละเมิดแต่อย่างใด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างซึ่งได้กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายจนต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิง แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สินเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 สำหรับกรณีของจำเลยก็เช่นเดียวกันถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกับ ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยหรือ ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดคนใดคนหนึ่งได้โดยลำพังเพียงคนเดียวโดยไม่ฟ้อง ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดเป็นจำเลยด้วยก็ย่อมทำได้ ไม่ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หลังเกิดเหตุรถยนต์สองคันชนกัน ป. พนักงานของจำเลยและ ธ. พนักงานขับรถยนต์โดยสารสาธารณะคันเกิดเหตุได้ทำหนังสือยินยอมรับผิดว่ารถยนต์ของจำเลยได้ชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยระบุความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ไว้แก่เจ้าของรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเพื่อนำไปตกลงค่าเสียหายต่อไป จึงเป็นเพียงหนังสือที่ออกให้เพื่อทราบความเสียหายและเพื่อแสดงความรับผิดชอบเบื้องต้นของจำเลยกับเจ้าของรถยนต์คู่กรณีเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายที่ต้องชำระ วิธีชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก จึงมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหลุดพ้นจากความรับผิดในมูลละเมิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา จำเป็นต้องแจ้งนัดให้จำเลยทราบโดยชอบตามกฎหมาย แม้คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลมิอาจพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวได้
จำเลยที่ 7 มีภูมิลำเนาแน่นอน จึงไม่มีกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายแก่จำเลยที่ 7ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งวันนัดแก่จำเลยที่ 7 โดยการประกาศหน้าศาลเพียงประการเดียวและไม่ได้สั่งให้ส่งหมายไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 ด้วย ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 7 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีอำนาจกระทำได้โดยมิต้องรอให้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเสียก่อนเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และนำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 196 วรรคสอง ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจำเลยที่ 7 ได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัดตามมาตรา 196 วรรคสอง (3) ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจสั่งว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดพิจารณาแล้วพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 7 ไปฝ่ายเดียวได้ กรณีดังกล่าวจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดจึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้ผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ก็หาอาจพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยถือว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบเริ่มตั้งแต่วันนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดจึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้ผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ก็หาอาจพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยถือว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบเริ่มตั้งแต่วันนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเช่าซื้อไม่ระงับ แม้มีการทำสัญญารับสภาพหนี้ใหม่ เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมารถยนต์เช่าซื้อได้รับอุบัติเหตุเสียหายทั้งคัน บริษัทผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ยังไม่คุ้มราคาที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงตกลงทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ยินยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างรวมดอกเบี้ยชำระล่าช้า โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายงวด แต่หนังสือสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนี้ หนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้ จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่ เมื่อหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้าประกันยังไม่หลุดพ้นความรับผิด เพระโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8232/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม การชำระหนี้บางส่วน และสิทธิบังคับคดี ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วมรายอื่น
คำพิพากษาระบุไว้ชัดเจนว่าให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 3นำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อไถ่ถอนจำนองและโจทก์ตกลงรับชำระหนี้ จึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วกรณีไม่จำต้องนำที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายตลาด
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้