พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8001/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน กรณีออกแบบและควบคุมงานผิดพลาด ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงการก่อสร้าง
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบสะพานช่วงยาวข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ที่ 3ที่ 5 และที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานให้ร่วมกันควบคุมการก่อสร้างสะพานตามที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ ตามสัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้อง แล้วโจทก์ยังบรรยายด้วยว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาคือมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ออกแบบให้ปูสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์ไม่เหมาะสมที่จะใช้กับสะพาน ซึ่งจะทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัว พื้นผิวทางเกิดเป็นคลื่นอย่างรุนแรงและแตกตัวในที่สุด และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานก็ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาคือมิได้ตรวจสอบแบบและข้อกำหนดเกี่ยวกับสารกันน้ำซึมและวัสดุพื้นผิวจราจรที่ใช้ในการก่อสร้างว่าถูกต้องสามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้างได้ดีหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเปลี่ยนสารกันน้ำซึมจากมาสติค แอสฟัลท์มาเป็น ที.อี.ยู. ตามคำแนะนำของวิศวกรผู้ควบคุมงานโดยเสียค่าใช้จ่ายในการปูสารกันน้ำซึม ที.อี.ยู. เกินกว่าที่ปูด้วยสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์31,821,821.80 บาท และหลังจากเปิดทดลองใช้สะพานแล้ว ปรากฏว่าระบบพื้นผิวจราจรชำรุดเสียหายอย่างมาก ในที่สุดต้องรื้อพื้นผิวจราจรออกทั้งหมดและทำพื้นผิวจราจรโดยใช้สารกันน้ำซึมใหม่ เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนค่าขาดประโยชน์รวมเป็นเงิน 139,937,235.79 บาท รวมค่าเสียหายทั้งสิ้น 171,759,057.59 บาทซึ่งเหตุแห่งความเสียหายดังกล่าว เกิดจากความบกพร่องของวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานที่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงข้ออ้างที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานก็เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทั้งสองฐานะตามข้อผูกพันของสัญญาแต่ละฉบับซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกัน หาใช่เป็นการซ้ำซ้อนไม่ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการซ่อมแซมที่โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าใช้วัสดุชนิดใดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นนิติบุคคลตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 2 ซึ่งตามข้อ 17 บัญญัติว่า "ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย..." หมายถึง ผู้ว่าการเป็นผู้แทนโจทก์ในการกระทำกิจการต่าง ๆ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลย ผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 70วรรคสอง (มาตรา 75 เดิม)
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ออกแบบผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายขึ้น และฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างธรรมดาคือออกแบบและควบคุมงานผิดพลาด ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.1 และจ.2 ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งสองฉบับระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.1 และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จะร่วมกันทำงานและร่วมรับผิดชอบตามข้อกำหนดในสัญญา และในสัญญาไม่มีข้อความตอนใดแบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนไว้ แต่กลับเรียกชื่อคู่สัญญาฝ่ายจำเลยทุกคนรวมกันว่า "วิศวกร" ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการจัดองค์การทำงานระหว่างจำเลยด้วยกันเองเป็นเรื่องภายในกลุ่มของจำเลยเอง ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนต่อโจทก์ได้
ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้ทั้งทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์อย่างดีที่สุดและเป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพวิศวกรด้วยความชำนาญ เอาใจใส่ ขยันหมั่นเพียรและจะต้องดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุดในการออกแบบสะพานให้สามารถก่อสร้างและใช้งานได้เป็นอย่างดี และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในงานควบคุมการก่อสร้างที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างดีที่สุดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทางด้านวิชาชีพนานาชนิด ต้องดำเนินงานด้วยความชำนาญเอาใจใส่ขยันหมั่นเพียร และเป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุด โดยต้องตรวจสอบแบบก่อสร้างข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ นำไปใช้ในงานก่อสร้างได้สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย ในกรณีที่ปรากฏข้อผิดพลาดในการออกแบบ ต้องเสนอแนะต่อโจทก์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบและข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะต้องศึกษาถึงคุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้งานก่อสร้างสำเร็จลุล่วงใช้ประโยชน์ได้สูงสุดการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้มาสติค แอสฟัลท์เป็นสารกันน้ำซึมบนพื้นผิวสะพานที่เป็นเหล็กนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ควรที่จะศึกษาถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุณหภูมิที่จะทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูป เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนและพื้นผิวสะพานที่ออกแบบไว้ก็เป็นเหล็กอากาศร้อนย่อมมีโอกาสที่จะทำให้ความร้อนที่สะสมบนพื้นผิวสะพานที่ทำด้วยเหล็กสูงขึ้นจนทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปได้ แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้ศึกษาโดยละเอียดถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์ แต่กลับยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ จนผู้รับเหมาต้องทักท้วงหลายครั้ง จึงได้ทำการทดสอบและยอมรับว่ามาสติคแอสฟัลท์ ไม่สามารถใช้เป็นวัสดุกันน้ำซึมบนสะพานได้ นอกจากนั้นหัวหน้าวิศวกรประจำจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยังมีหนังสือถึงผู้อำนวยการโครงการของโจทก์ มีข้อความเกี่ยวกับความเหมาะสมของมาสติค แอสฟัลท์ ว่าเมื่อพิจารณาถึงการรับน้ำหนักและความลาดชันของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานครแล้ว เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ของการอ่อนตัวของมาสติค แอสฟัลท์ซึ่งจะทำให้ผิวทางเกิดเป็นคลื่นอย่างรุนแรงและแตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นในฤดูร้อนแรกของการเปิดใช้งาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้สารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์โดยไม่ได้ศึกษาให้ดีเกี่ยวกับคุณสมบัติที่แท้จริงของวัสดุ โดยเฉพาะอุณหภูมิที่จะทำให้วัสดุนั้นอ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปรวมทั้งการคำนวณเกี่ยวกับความร้อนสะสมของโครงสร้างสะพานที่เป็นเหล็กในประเทศที่มีอากาศร้อนเช่นประเทศไทยว่าสมควรจะใช้วัสดุนั้นเป็นสารกันน้ำซึมหรือไม่ ย่อมเป็นความผิดพลาด บกพร่อง ไม่ใช้ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ต้องตรวจสอบแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรกด้วยความระมัดระวังว่าสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์เหมาะสมที่จะใช้กับสะพานที่มีพื้นผิวเป็นเหล็กหรือไม่ แต่กลับไม่ทำการตรวจสอบให้ดีแม้ผู้รับเหมาจะได้ทักท้วง แต่วิศวกรผู้ควบคุมงานก็ยังคงยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ และให้ผู้รับเหมาส่งตัวอย่างวัสดุพร้อมแผนงานเพื่อตรวจสอบ ยังคงเป็นสารกันน้ำซึมได้ เพียงแต่ต้องปรับปรุงบ้าง และในเดือนเมษายน 2530 ต่อมาจึงยอมรับว่ามาสติค แอสฟัลท์ไม่เหมาะสม รวมระยะเวลาที่เสียไปถึง 9 เดือน ทำให้เกิดความล่าช้าแก่โครงการก่อสร้างโดยเฉพาะระยะเวลาการทดสอบหาสารกันน้ำซึมชนิดใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสม ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 บกพร่องต่อหน้าที่ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นเช่นกัน
การว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบและให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานนั้นมุ่งประสงค์ให้การก่อสร้างสะพานสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ตามความมุ่งหมาย ที.อี.ยู. โดยความเห็นชอบของวิศวกรดังกล่าว แต่ทั้งวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งทราบดีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้วมิได้ทำการทดสอบให้แน่ชัด เมื่อสาเหตุของความเสียหายทั้งหมดเกิดจากความบกพร่องในการออกแบบและควบคุมงานเกี่ยวกับการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน วิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย การที่ผู้ออกแบบจะเลือกใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง ผู้ออกแบบควรที่จะต้องทราบถึงคุณสมบัติของวัสดุนั้นว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ หากไม่แน่ใจก็ควรจะทดสอบให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะกำหนดให้ใช้วัสดุนั้น การกำหนดใช้วัสดุให้ถูกต้องกับการคิดค้นประดิษฐ์วัสดุขึ้นใหม่เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 รับออกแบบ จำเลยที่ 1 ก็ต้องกำหนดหรือหาวัสดุที่จะใช้งานได้กับแบบที่ออกมาหากไม่สามารถหาวัสดุดังกล่าวได้เพราะไม่มีในประเทศไทยหรือไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการทดสอบการใช้งาน จำเลยที่ 1 ก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบและปรึกษาหาทางแก้ไขมิใช่กำหนดวัสดุหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุโดยเพียงแต่เข้าใจว่าน่าจะใช้งานได้หรือทำการทดสอบผิวเผิน แล้วทำการก่อสร้างไปจนเกิดความเสียหายขึ้น
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ออกแบบและควบคุมงานให้งานก่อสร้างสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ เมื่อการออกแบบกำหนดให้ใช้สารกันน้ำซึมครั้งแรกไม่ถูกต้องแล้วมีการเปลี่ยนมาใช้สาร ที.อี.ยู. โดยวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานเห็นชอบโดยไม่ตรวจสอบหรือทดสอบให้แน่ชัดเสียก่อน จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นคนเลือกสรร ที.อี.ยู. และมีการรับประกันโดยบริษัทผู้ผลิตเพื่อให้ตนเองพ้นผิดได้ ส่วนการที่โจทก์ไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิต ที.อี.ยู. ก็เป็นสิทธิในส่วนของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เนื่องจากเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยทั้งหกก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยทั้งหกจึงมีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกหลังจากผ่านขั้นตอนอนุญาโตตุลาการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแล้วได้ และการฟ้องคดีของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทวงถามการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นนิติบุคคลตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 2 ซึ่งตามข้อ 17 บัญญัติว่า "ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย..." หมายถึง ผู้ว่าการเป็นผู้แทนโจทก์ในการกระทำกิจการต่าง ๆ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลย ผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 70วรรคสอง (มาตรา 75 เดิม)
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ออกแบบผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายขึ้น และฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างธรรมดาคือออกแบบและควบคุมงานผิดพลาด ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.1 และจ.2 ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งสองฉบับระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.1 และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จะร่วมกันทำงานและร่วมรับผิดชอบตามข้อกำหนดในสัญญา และในสัญญาไม่มีข้อความตอนใดแบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนไว้ แต่กลับเรียกชื่อคู่สัญญาฝ่ายจำเลยทุกคนรวมกันว่า "วิศวกร" ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการจัดองค์การทำงานระหว่างจำเลยด้วยกันเองเป็นเรื่องภายในกลุ่มของจำเลยเอง ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนต่อโจทก์ได้
ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้ทั้งทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์อย่างดีที่สุดและเป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพวิศวกรด้วยความชำนาญ เอาใจใส่ ขยันหมั่นเพียรและจะต้องดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุดในการออกแบบสะพานให้สามารถก่อสร้างและใช้งานได้เป็นอย่างดี และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในงานควบคุมการก่อสร้างที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างดีที่สุดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทางด้านวิชาชีพนานาชนิด ต้องดำเนินงานด้วยความชำนาญเอาใจใส่ขยันหมั่นเพียร และเป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุด โดยต้องตรวจสอบแบบก่อสร้างข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ นำไปใช้ในงานก่อสร้างได้สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย ในกรณีที่ปรากฏข้อผิดพลาดในการออกแบบ ต้องเสนอแนะต่อโจทก์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบและข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะต้องศึกษาถึงคุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้งานก่อสร้างสำเร็จลุล่วงใช้ประโยชน์ได้สูงสุดการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้มาสติค แอสฟัลท์เป็นสารกันน้ำซึมบนพื้นผิวสะพานที่เป็นเหล็กนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ควรที่จะศึกษาถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุณหภูมิที่จะทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูป เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนและพื้นผิวสะพานที่ออกแบบไว้ก็เป็นเหล็กอากาศร้อนย่อมมีโอกาสที่จะทำให้ความร้อนที่สะสมบนพื้นผิวสะพานที่ทำด้วยเหล็กสูงขึ้นจนทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปได้ แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้ศึกษาโดยละเอียดถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์ แต่กลับยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ จนผู้รับเหมาต้องทักท้วงหลายครั้ง จึงได้ทำการทดสอบและยอมรับว่ามาสติคแอสฟัลท์ ไม่สามารถใช้เป็นวัสดุกันน้ำซึมบนสะพานได้ นอกจากนั้นหัวหน้าวิศวกรประจำจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยังมีหนังสือถึงผู้อำนวยการโครงการของโจทก์ มีข้อความเกี่ยวกับความเหมาะสมของมาสติค แอสฟัลท์ ว่าเมื่อพิจารณาถึงการรับน้ำหนักและความลาดชันของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานครแล้ว เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ของการอ่อนตัวของมาสติค แอสฟัลท์ซึ่งจะทำให้ผิวทางเกิดเป็นคลื่นอย่างรุนแรงและแตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นในฤดูร้อนแรกของการเปิดใช้งาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้สารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์โดยไม่ได้ศึกษาให้ดีเกี่ยวกับคุณสมบัติที่แท้จริงของวัสดุ โดยเฉพาะอุณหภูมิที่จะทำให้วัสดุนั้นอ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปรวมทั้งการคำนวณเกี่ยวกับความร้อนสะสมของโครงสร้างสะพานที่เป็นเหล็กในประเทศที่มีอากาศร้อนเช่นประเทศไทยว่าสมควรจะใช้วัสดุนั้นเป็นสารกันน้ำซึมหรือไม่ ย่อมเป็นความผิดพลาด บกพร่อง ไม่ใช้ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ต้องตรวจสอบแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรกด้วยความระมัดระวังว่าสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์เหมาะสมที่จะใช้กับสะพานที่มีพื้นผิวเป็นเหล็กหรือไม่ แต่กลับไม่ทำการตรวจสอบให้ดีแม้ผู้รับเหมาจะได้ทักท้วง แต่วิศวกรผู้ควบคุมงานก็ยังคงยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ และให้ผู้รับเหมาส่งตัวอย่างวัสดุพร้อมแผนงานเพื่อตรวจสอบ ยังคงเป็นสารกันน้ำซึมได้ เพียงแต่ต้องปรับปรุงบ้าง และในเดือนเมษายน 2530 ต่อมาจึงยอมรับว่ามาสติค แอสฟัลท์ไม่เหมาะสม รวมระยะเวลาที่เสียไปถึง 9 เดือน ทำให้เกิดความล่าช้าแก่โครงการก่อสร้างโดยเฉพาะระยะเวลาการทดสอบหาสารกันน้ำซึมชนิดใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสม ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 บกพร่องต่อหน้าที่ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นเช่นกัน
การว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบและให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานนั้นมุ่งประสงค์ให้การก่อสร้างสะพานสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ตามความมุ่งหมาย ที.อี.ยู. โดยความเห็นชอบของวิศวกรดังกล่าว แต่ทั้งวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งทราบดีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้วมิได้ทำการทดสอบให้แน่ชัด เมื่อสาเหตุของความเสียหายทั้งหมดเกิดจากความบกพร่องในการออกแบบและควบคุมงานเกี่ยวกับการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน วิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย การที่ผู้ออกแบบจะเลือกใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง ผู้ออกแบบควรที่จะต้องทราบถึงคุณสมบัติของวัสดุนั้นว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ หากไม่แน่ใจก็ควรจะทดสอบให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะกำหนดให้ใช้วัสดุนั้น การกำหนดใช้วัสดุให้ถูกต้องกับการคิดค้นประดิษฐ์วัสดุขึ้นใหม่เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 รับออกแบบ จำเลยที่ 1 ก็ต้องกำหนดหรือหาวัสดุที่จะใช้งานได้กับแบบที่ออกมาหากไม่สามารถหาวัสดุดังกล่าวได้เพราะไม่มีในประเทศไทยหรือไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการทดสอบการใช้งาน จำเลยที่ 1 ก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบและปรึกษาหาทางแก้ไขมิใช่กำหนดวัสดุหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุโดยเพียงแต่เข้าใจว่าน่าจะใช้งานได้หรือทำการทดสอบผิวเผิน แล้วทำการก่อสร้างไปจนเกิดความเสียหายขึ้น
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ออกแบบและควบคุมงานให้งานก่อสร้างสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ เมื่อการออกแบบกำหนดให้ใช้สารกันน้ำซึมครั้งแรกไม่ถูกต้องแล้วมีการเปลี่ยนมาใช้สาร ที.อี.ยู. โดยวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานเห็นชอบโดยไม่ตรวจสอบหรือทดสอบให้แน่ชัดเสียก่อน จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นคนเลือกสรร ที.อี.ยู. และมีการรับประกันโดยบริษัทผู้ผลิตเพื่อให้ตนเองพ้นผิดได้ ส่วนการที่โจทก์ไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิต ที.อี.ยู. ก็เป็นสิทธิในส่วนของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เนื่องจากเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยทั้งหกก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยทั้งหกจึงมีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกหลังจากผ่านขั้นตอนอนุญาโตตุลาการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแล้วได้ และการฟ้องคดีของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทวงถามการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของบริษัทในเครือจากการซื้อขายต่อเนื่อง แม้ชื่อนิติบุคคลต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จโดยตกลงราคาและสถานที่ส่งมอบตามชนิดและปริมาตรโดยให้เครดิตแก่จำเลยทั้งสาม 60 วัน ตามสัญญาซื้อขาย การส่งมอบและเรียกเก็บเงินจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้โจทก์ออกบิลเรียกเก็บในนามบริษัทจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ได้ส่งสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสามหลายครั้งตามรายละเอียดในฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 613,122.84 บาท ครบกำหนดชำระเงินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์ทวงถามหลายครั้งจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้จำเลยทั้งสามชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับการซื้อขายและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่ระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อเป็นการซื้อขายที่กระทำต่อเนื่องกันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมต่อสู้ได้ว่า มิได้สั่งซื้อหรือได้ชำระราคาส่วนใดไปแล้วเท่าใด
บริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับจ้างก่อสร้างโรงงาน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีที่อยู่ที่เดียวกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกของจำเลยที่ 3 ด้วย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินกิจการร่วมกันมาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างความเป็นนิติบุคคลแยกจากกันมาปฏิเสธความรับผิดได้
บริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับจ้างก่อสร้างโรงงาน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีที่อยู่ที่เดียวกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกของจำเลยที่ 3 ด้วย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินกิจการร่วมกันมาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างความเป็นนิติบุคคลแยกจากกันมาปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทน ผู้ซื้อ และผู้ค้ำประกัน ในการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้ โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3 แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ จำเลยที่ 2ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ จำเลยที่ 2ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนซื้อขายที่ดินและขอบเขตความรับผิดของตัวแทน ผู้รับสภาพหนี้ และผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉยตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวน ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วยโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวน ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วยโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมโดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลย คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วน ก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะ ร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป โจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย จึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและการบังคับคดี ยึดทรัพย์เกินความจำเป็น
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคหนึ่งการที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไปโจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องลูกหนี้หลายคน และการรับฟังพยานสำเนาเอกสาร
โจทก์ได้ทำหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเพื่อเป็นการค้ำประกันสัญญาซื้อขายหัวกระเทียมแห้งระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หากห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ปฏิบัติผิดสัญญา โจทก์ยินยอมใช้เงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในวงเงินฉบับละ 1,000,000 บาท รวม 3 ฉบับ เป็นเงิน 3,000,000 บาท การที่โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันดังกล่าว น. และ ว. กับจำเลยต่างทำสัญญายอมรับผิดชอบชำระเงินรวมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ต้องจ่ายเงินแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไปตามหนังสือค้ำประกัน ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผิดสัญญาต่อองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรแล้วฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลาย และศาลได้พิพากษาให้บุคคลทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ในกรณีเจ้าหนี้มีลูกหนี้หลายคนนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้คนใด และหากฟ้อง จะฟ้องอย่างไรย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเลือกกระทำได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลายโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยด้วย ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลายดังกล่าว ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยในอันที่จะไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย และแม้ต่อมาลูกหนี้คนอื่น ๆ จะตกเป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม จำเลยก็หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ และจะเสียสิทธิในการไล่เบี้ยเอาจากบุคคลทั้งสามดังกล่าวหรือไม่ เพราะการไล่เบี้ยเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเอง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนทางทะเล: การส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คดีนี้ฟังได้ว่า การขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย คือเจ้าของสินค้านำตู้สินค้าไปบรรจุเอง รวมทั้งตรวจนับและปิดผนึก หน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งจะเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง และจะสิ้นสุดต่อเมื่อตู้สินค้าได้ถูกส่งมอบที่ท่าเรือปลายทาง และตามระเบียบของท่าเรือโยโกฮาม่า การขนส่งแบบ ซีวาย/ซีวาย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ท่าเรือดังกล่าว จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่ง ได้ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้แก่ท่าเรือปลายทาง ณ ลานพักสินค้าของท่าเรือโยโกฮาม่า อันเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบตามสัญญารับขนของทางทะเลและตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 40 (3) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2535 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายของสินค้าที่รับขนอันเนื่องมาจากการรับขนของทางทะเลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 4 ได้ส่งมอบสินค้าพิพาทโดยชอบแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8076/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีประกันภัยขนส่งระหว่างประเทศ และความรับผิดร่วมของลูกจ้าง
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งสินค้ารับผิดต่อโจทก์ และฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยประมาทในทางการที่จ้างชนกำแพงทำให้รถยนต์คันนั้นเสียหาย และคู่ความขอให้โอนคดีไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยมีการสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการประกันภัยที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งระหว่างประเทศอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้เดียวกันและเกี่ยวข้องกับที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญารับขนดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้เบิกเกินบัญชี ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้สัญญาไม่ได้กำหนดดอกเบี้ย
ผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สัญญาถึงกำหนดวันที่ 1เมษายน 2532 ไม่ได้เสนอขอชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดในช่วงเวลาที่สัญญาถึงกำหนด เพิ่งเสนอขอชำระเมื่อถูกโจทก์ฟ้อง ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ว่าสัญญาค้ำประกันจะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมาย เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า 100,000 บาทตามวงเงินในสัญญาค้ำประกัน ในวันที่ 5 เมษายน 2533 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ของต้นเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6เมษายน 2533 เป็นต้นไปจนกว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะเลิกกัน แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตั้งแต่วันที่ดังกล่าว โจทก์ไม่อุทธรณ์และต่อมาฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นอย่างอื่นเกินไปกว่าที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 2 รับผิด