พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิลูกหนี้ร่วมและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)และมาตรา1087จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า50,000บาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันทีมิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89แต่ทางเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและสิทธิในการฟ้องล้มละลาย: หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันที มิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 แต่ทางเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนจากโจทก์ไปศึกษาที่ต่างประเทศ มีสัญญาตกลงว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับเข้ารับราชการ ถ้าผิดสัญญายอมใช้เงินค่าปรับ3 เท่าของเงินเดือนและค่าใช้จ่าย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1ผิดสัญญาไม่กลับเข้ารับราชการและไม่ชำระหนี้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกัน ตามสัญญาค้ำประกันสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปดูงานหรือส่งไปศึกษา แม้จะมีถ้อยคำระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมใช้เงินทั้งสิ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับการทวงถาม และจำเลยที่ 2 ยอมรับใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถามก็ตาม โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ผูกพันตนในลักษณะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ: การรับผิดของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด
จำเลยที่1ได้รับทุนจากโจทก์ไปศึกษาที่ต่างประเทศมีสัญญาตกลงว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับเข้ารับราชการถ้าผิดสัญญายอมใช้เงินค่าปรับ3เท่าของเงินเดือนและค่าใช้จ่ายมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันต่อมาจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่กลับเข้ารับราชการและไม่ชำระหนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันตามสัญญาค้ำประกันสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปดูงานหรือส่งไปศึกษาแม้จะมีถ้อยคำระบุว่าจำเลยที่2ยอมใช้เงินทั้งสิ้นภายในกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ได้รับการทวงถามและจำเลยที่2ยอมรับใช้แทนจำเลยที่1จนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถามก็ตามโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้ผูกพันตนในลักษณะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะเรียกให้จำเลยที่2ชำระหนี้ได้ต่อเมื่อจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา686
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีการชำระหนี้บางส่วนโดยลูกหนี้อื่น
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลูกหนี้ที่2ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่1และจำเลยอื่นในต้นเงิน40,000,000บาทพร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่2จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองและมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน16,774,820บาทแต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้นจึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่1ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน76,321,642.55บาทส่วนที่ลูกหนี้ที่2ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่2ต้องรับผิดเลยเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น แม้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ลูกหนี้ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่ 1 และจำเลยอื่นในต้นเงิน 40,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนอง และมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน 16,774,820 บาท แต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้น จึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน 76,321,642.55 บาท ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดเลย เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเอกอัครราชทูตต่อความเสียหายจากการยักยอกเงินของลูกน้อง เนื่องจากการละเลยควบคุมดูแล
การที่จำเลยที่2ได้มอบหมายให้จำเลยที่1ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดซึ่งจำเลยที่1มีหน้าที่จัดทำบัญชีแต่มิได้จัดทำไว้ตามระเบียบและจำเลยที่2ก็มิได้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่1ปฏิบัติให้ถูกต้องหากจำเลยที่2ควบคุมดูแลจะทราบได้ว่ามีการปลอมเอกสารและจำเลยที่1ยักยอกเงินไปแม้จำเลยที่2จะได้แต่งตั้งให้จ. ควบคุมดูแลอีกชั้นหนึ่งเมื่อจำเลยที่2เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยที่2พ้นความรับผิด ส่วนความเสียหายที่จำเลยที่1ปลอมลายมือชื่อจำเลยที่2ลงในเช็คแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารนั้นความเสียหายของโจทก์ทั้งสองย่อมเกิดขึ้นแล้วส่วนเงินจำนวนดังกล่าวแม้จะมีคนต้องรับผิดหลายคนโจทก์ทั้งสองจะเลือกฟ้องให้บางคนรับผิดก็เป็นสิทธิที่จะทำได้เมื่อจำเลยที่2ประมาทเลินเล่ออันเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ไม่ทำให้จำเลยที่2พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้มอบหมายหน้าที่และการประมาทเลินเล่อทางการเงิน
การที่จำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมด ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดทำบัญชี แต่มิได้จัดทำไว้ตามระเบียบและจำเลยที่ 2 ก็มิได้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้อง หากจำเลยที่ 2 ควบคุมดูแลจะทราบได้ว่ามีการปลอมเอกสารและจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินไป แม้จำเลยที่ 2 จะได้แต่งตั้งให้ จ.ควบคุมดูแลอีกชั้นหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด
ส่วนความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อจำเลยที่ 2ลงในเช็คแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารนั้น ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนเงินจำนวนดังกล่าวแม้จะมีคนต้องรับผิดหลายคน โจทก์ทั้งสองจะเลือกฟ้องให้บางคนรับผิดก็เป็นสิทธิที่จะทำได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่ออันเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด
ส่วนความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อจำเลยที่ 2ลงในเช็คแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารนั้น ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนเงินจำนวนดังกล่าวแม้จะมีคนต้องรับผิดหลายคน โจทก์ทั้งสองจะเลือกฟ้องให้บางคนรับผิดก็เป็นสิทธิที่จะทำได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่ออันเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุน: การแยกพิจารณาอายุความของลูกหนี้ร่วม และการใช้บังคับอายุความตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความ1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผู้รับประกันภัยค้ำจุนและลูกหนี้ร่วมกัน: ผลกระทบต่อจำเลยแต่ละคน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่งจะนำอายุความ 1 ปี ในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 ซึ่งตามมาตรา295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น แม้ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887