พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และความรับผิดในหนี้สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย.และนางสาวอ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริงโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นโจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้วจำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีละเมิดและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 บัญญัติให้นายจ้างได้รับการชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่นายจ้างได้ชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำไว้เท่านั้นค่าฤชาธรรมเนียมในคดีก่อนที่ผู้เสียหายฟ้องนายจ้างและลูกจ้างให้ร่วมกันรับผิดในละเมิดที่ศาลพิพากษาให้คู่ความชดใช้แก่กันนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161ส่วนค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้นศาลวินิจฉัยให้รับผิดชดใช้กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 428 ถึง 447 ซึ่งมิได้กล่าวถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความจะต้องชดใช้กันในคดีละเมิดไว้ ดังนั้นจะถือว่าค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชดใช้ให้ผู้เสียหายในคดีก่อนเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดไม่ได้ นายจ้างจึงฟ้องขอให้ลูกจ้างชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเป็นจำนวนทั้งหมดไม่ได้ แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวมีผลทำให้นายจ้างและลูกจ้างเป็นลูกหนี้ร่วมของผู้เสียหาย ความรับผิดในระหว่างลูกหนี้ร่วมจะต้องเป็นไปตามมาตรา 296 ซึ่งบัญญัติให้ต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันในกรณีนี้นายจ้างจึงมีสิทธิให้ลูกจ้างชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่ชำระเกินไปกว่าความรับผิดคืนจากลูกจ้างได้ตามส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ร่วมกันในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า โดยมิได้ตกลงเรื่องค่าใช้จ่าย
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียวดังนี้ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: ลูกหนี้ร่วม, สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดู
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน
สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้
สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันจากการยักยอกเงินและสิทธิในการไล่เบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ ไป ต้องร่วมกันรับผิดชอใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นแก่สหกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคแรก ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่จะต้องรับผิดยิ่งหย่อนกว่ากันจึงต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันตามมาตรา 432 วรรคสาม เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินที่ยักยอกให้สหกรณ์ฯ ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของสหกรณ์ฯ มาไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 229 (3), 266 การที่โจทก์ใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ฯ ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ฯ จากจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ได้ชำระให้ไปแล้ว มิใช่ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกมา จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นการมาศาลด้วยมืออันไม่บริสุทธิ์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับสหกรณ์ฯ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นต่อสหกรณ์ฯ นี้เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ จึงใช้สิทธิของสหกรณ์ฯ บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในการยักยอกทรัพย์ การรับช่วงสิทธิ และการบังคับค้ำประกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ฯไป ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นแก่สหกรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคแรก ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่จะต้องรับผิดยิ่งหย่อนกว่ากันจึงต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกันตามมาตรา 432 วรรคสาม เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินที่ยักยอกให้สหกรณ์ฯ ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของสหกรณ์ฯ มาไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 229(3),226การที่โจทก์ใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ฯ ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ฯ จากจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ได้ชำระให้ไปแล้วมิใช่ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกมาจึงไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นการมาศาลด้วยมืออันไม่บริสุทธิ์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับสหกรณ์ฯ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นต่อสหกรณ์ฯ นี้เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ จึงใช้สิทธิของสหกรณ์ฯ บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมประกันตัว จำเลยหลบหนี ศาลปรับ โจทก์ชำระแทน มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันประกันตัวจำเลยในคดีอาญาแล้วผิดสัญญาถูกศาลสั่งปรับ ศาลได้บังคับคดีเอาที่ดินที่โจทก์นำมาประกันขายทอดตลาด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าปรับในนามของโจทก์กับจำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดคนละส่วนเท่าๆ กันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หนึ่งในสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมกันชำระหนี้: สิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันและการบังคับคดี
ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อเจ้าหนี้ โจทก์ผู้ค้ำประกันคนหนึ่งชำระหนี้ไปแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันร่วมกันใช้ส่วนที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดได้ ในคดีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานค้ำประกันร่วมกันนี้ มีผู้ค้ำประกันหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 3 โจทก์บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ได้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 3 จะขอให้โจทก์บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1,ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เดิมก่อน ตาม มาตรา 688,689
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าและการแบ่งสินสมรส กรณีหมิ่นประมาทบุพการีและการหักหนี้ร่วม
จำเลยด่าโจทก์และมารดาโจทก์ว่ามารดาโจทก์เป็นคนดอกทองและโจทก์เป็นลูกคนดอกทอง มารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นคนดอกทอง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493ได้นิยามคำว่า "ดอกทอง" ไว้ว่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี คำด่าดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการด่ามารดาโจทก์เป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณีและมารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยา ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อน จึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยา ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อน จึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทบุพการีเป็นเหตุฟ้องหย่า และหลักการแบ่งสินสมรสเมื่อมีหนี้ร่วม
จำเลยด่าโจทก์และมารดาโจทก์ว่ามารดาโจทก์เป็นคนดอกทองและโจทก์เป็นลูกคนดอกทอง มารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นคนดอกทอง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493ได้นิยามคำว่า 'ดอกทอง' ไว้ว่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี คำด่าดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการด่ามารดาโจทก์เป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณีและมารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยาให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนจึงจะ แบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยาให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนจึงจะ แบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้