พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานและข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย
ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 นั่งรถยนต์มากับจำเลยที่ 1 และได้รู้เห็นจำเลยที่ 3 ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 3 มัด ให้แก่สายลับภายในรถยนต์ของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 4 มัด แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสรู้เห็นการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยที่ 1 กับสายลับ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นอกจากพบเงินจำนวน 50,000 บาท ที่สายลับใช้ล่อซื้อแล้วยังพบเงินอีก 20,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นค่าเมทแอมเฟตามีนอยู่ในช่องเก็บของข้างที่นั่งคนขับ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้มาซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 มัด รวม 2,000 เม็ด จากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ครอบครองเมทแอมเฟตามีนที่จะซื้อเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังจะส่งมอบ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 พยายามมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ด ไว้ในครอบครอง เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ต้องด้วยข้อสันนิษฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 2,000 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ผู้ต้องหามีสิทธิขอชันสูตรซ้ำหรือไม่
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน นอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้วพนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ขอบเขตและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนนอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้ว พนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุที่ต้องขออนุญาตฝากขังด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนในการสอบปากคำ และการรับรองถ้อยคำ
การที่จะไห้ผู้ไห้ถ้อยคำสาบานหรือปติญานตนเสียก่อนหรือไม่ไนการสอบสวนนั้น เปนอำนาดของพนักงานสอบสวน ฉนั้นแม้จะไม่ไห้สาบานหรือปติญานตนก็ไม่ทำไห้การสอบสวนเสียไป
การที่พนักงานสอบสวนเรียกผู้ไห้ถ้อยคำมาแล้วอ่านถ้อยคำที่นายตำหรวดผู้อื่นได้ถามและจดไว้ไห้ฟังและสอบถามผู้ไห้ถ้อยคำเพื่อไห้รับรอง และสอบถามเพิ่มเติมนั้น ถือได้ว่าเปนการสอบสวนที่ถูกต้อง
การที่พนักงานสอบสวนเรียกผู้ไห้ถ้อยคำมาแล้วอ่านถ้อยคำที่นายตำหรวดผู้อื่นได้ถามและจดไว้ไห้ฟังและสอบถามผู้ไห้ถ้อยคำเพื่อไห้รับรอง และสอบถามเพิ่มเติมนั้น ถือได้ว่าเปนการสอบสวนที่ถูกต้อง