คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 362

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความที่มีการแบ่งผลประโยชน์จากผลคดี เป็นโมฆะ ฝ่าฝืนจริยธรรมทนายความ
การที่จำเลยทั้งสามทำบันทึกคำมั่นจะให้รางวัลแก่โจทก์อีกร้อยละ 5 ของเงินส่วนที่จำเลยทั้งสามได้รับเกินกว่า 80,000,000 บาท มีมูลเหตุมาจากปัญหาการกำหนดจำนวนทรัพย์มรดกที่โจทก์รับจะฟ้องให้จำเลยทั้งสาม โดยโจทก์ต้องการกำหนดค่าตอบแทนในการว่าความเพิ่มเติม ซึ่งมีเงื่อนไขที่โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม 2 ข้อ กล่าวคือ จำเลยทั้งสามชนะคดีฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกที่โจทก์รับว่าความให้และเป็นผลให้จำเลยทั้งสามได้รับทรัพย์มรดกเกินกว่า 80,000,000 บาท ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับดังกล่าวย่อมเกิดจากการว่าความให้จำเลยทั้งสามจนชนะคดี กรณีเป็นการกำหนดค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างว่าความตามปกติ แม้จะเป็นบันทึกข้อตกลงที่จำเลยทั้งสามทำให้โจทก์หลังจากทำสัญญาจ้างว่าความแล้วอีกฉบับหนึ่งต่างหากก็ตาม ก็ไม่มีผลลบล้างลักษณะของนิติกรรมที่จำเลยทั้งสามทำไว้แก่โจทก์ แม้บันทึกที่ทำขึ้นภายหลังจะใช้คำว่า คำมั่นจะให้รางวัล กรณีก็ไม่อาจบังคับตามหลักกฎหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 362 บันทึกคำมั่นจะให้รางวัลดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่งเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่า ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับว่าจำเลยทั้งสามจะได้รับทรัพย์มรดกเกินกว่า 80,000,000 บาทหรือไม่ หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือได้รับไม่เกินกว่า 80,000,000 บาท โจทก์จึงจะไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากจำเลยทั้งสาม ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความ แม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสามจะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้โดยชัดแจ้ง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตามบัตรรางวัล แม้สลากหาย ผู้มีสิทธิยังคงได้รับรางวัลตามคำมั่น
จำเลยได้ออกสลากรางวัล โดยมีข้อความแสดงคำมั่นจะให้รางวัลแก่ผู้ถูกรางวัล จำเลยจึงต้องผูกพันตาม คำมั่นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 362 เมื่อโจทก์เป็นผู้ถูกรางวัล ถึงแม้โจทก์จะได้ทำสลากดังกล่าวหายไป โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้มีสิทธิได้รับรางวัลตามคำมั่นของจำเลย ส่วนการที่สลากรางวัลดังกล่าว มีข้อความว่า ผู้ถือสลากเท่านั้น จึงจะมีสิทธิรับรางวัลได้ ก็เป็นเพียงเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพื่อให้จำเลยมีหลักฐานในการจ่ายรางวัลให้แก่ผู้ถูกรางวัลเท่านั้น เงื่อนไขดังกล่าวจะนำมาจำกัดตัดสิทธิโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับรางวัลตามกฎหมายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับรางวัลจากจำเลยตามคำมั่นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761-3765/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการบังคับตามสัญญา แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่อาจจัดการให้เช่าต่อได้ การฟ้องขับไล่จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
สัญญาเช่าระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า 12 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยตรงต่อไป" ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไป เมื่อปรากฏว่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยแจ้งความประสงค์ที่จะเช่าต่อ กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญา โจทก์ต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าต่อไป แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่ากรรมสิทธิในตึกพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยเช่ากับกรมวิสามัญศึกษาโดยตรงได้ โจทก์ก็คงผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าตึกพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์กลับฟ้องขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินรางวัลสลากกินแบ่ง แม้สลากหายหรือถูกทำลาย สัญญาผู้ซื้อ-สำนักงานสลากผูกพัน
การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ในสลากกินแบ่งทุกฉบับว่า เงินรางวัลจะจ่ายให้แก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลนำมาขอรับนั้น เงื่อนไขดังกล่าวแม้จำเลยจะกำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 ก็ตาม แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพียงเพื่อให้จำเลยมีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถูกรางวัลเท่านั้น ไม่ใช่ข้อกำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหายหรือถูกไฟไหม้ และเห็นว่าการที่จำเลยจัดให้มีการออกสลากกินแบ่ง ก็โดยมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งว่า จะแบ่งเงินที่ได้จากการขายสลากให้แก่ผู้ถูกสลากตามจำนวนที่กำหนดไว้จำนวนเงินที่กำหนดนี้ถือได้ว่า เป็นสัญญาอันมีผลผูกพันระหว่างผู้จัดการออกสลากกินแบ่งกับผู้ถูกรางวัล ดังนั้นเมื่อโจทก์มีหลักฐานเชื่อได้ว่าโจทก์ถูกรางวัล แต่สลากถูกไฟไหม้โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถูกสลากแม้สลากหาย/ไฟไหม้ จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินรางวัลตามวัตถุประสงค์สลาก
การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ในสลากกินแบ่งทุกฉบับว่าเงินรางวัลจะจ่ายให้แก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลนำมาขอรับนั้นเงื่อนไขดังกล่าวแม้จำเลยจะกำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพ.ศ.2517ก็ตามแต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพียงเพื่อให้จำเลยมีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถูกรางวัลเท่านั้นไม่ใช่ข้อกำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหายหรือถูกไฟไหม้และเห็นว่าการที่จำเลยจัดให้มีการออกสลากกินแบ่งก็โดยมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งว่าจะแบ่งเงินที่ได้จากการขายสลากให้แก่ผู้ถูกสลากตามจำนวนที่กำหนดไว้จำนวนเงินที่กำหนดนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาอันมีผลผูกพันระหว่างผู้จัดการออกสลากกินแบ่งกับผู้ถูกรางวัลดังนั้นเมื่อโจทก์มีหลักฐานเชื่อได้ว่าโจทก์ถูกรางวัลแต่สลากถูกไฟไหม้โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จรางวัล: จำเลยผูกพันตามระเบียบที่วางไว้จนกว่าจะแก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลงอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้างเมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่าง ๆดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งนี้ สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จ: จำเลยผูกพันตามกฎเกณฑ์เดิมตราบเท่าที่ยังมิได้แก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลง อันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้าง เมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่างๆ ดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ทั้งนี้สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว จำเลย ก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นจะจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมสรรพสามิตเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 และต้องมีเหตุผลชอบที่ควรในการไม่จ่าย
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่นของกรมสรรพสามิตที่มีข้อความระบุให้ข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจผู้กำกับการตำรวจ นายอำเภอหรือปลัดกิ่งอำเภอมีอำนาจรับแจ้งความจากผู้ขอรับเงินรางวัลนำจับได้นั้น เมื่อได้ส่งไปยังกรมศุลกากรและกรมตำรวจ จนกระทั่งกรมตำรวจได้ออกแจ้งความต่อไปอีกนั้น ไม่เพียงแต่เป็นระเบียบภายในเท่านั้น แต่เป็นการออกโฆษณาภายนอกซึ่งคำมั่นที่จะจ่ายเงินรางวัลตอบแทนให้แก่ผู้ช่วยเหลือราชการในการจับฝิ่น เข้าลักษณะออกโฆษณาให้คำมั่นจะให้รางวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 แล้ว
คำมั่นจะให้รางวัลตามระเบียบนี้ ถ้าจะไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบแล้ว จะต้องมีเหตุผลที่ชอบที่ควร หาใช่ว่าสุดแล้วแต่ใจโดยไม่มีเหตุที่ชอบที่ควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นจ่ายเงินรางวัลนำจับฝิ่นตามระเบียบกรมสรรพสามิตเข้าข่ายสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 362 และมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่นของกรมสรรพสามิตที่มีข้อความระบุให้ข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ ผู้กำกับการตำรวจ นายอำเภอหรือปลัดกิ่งอำเภอ มีอำนาจรับแจ้งความจากผู้ขอรับเงินรางลัลนำจับได้นั้น เมื่อได้ส่งไปยังกรมศุลการกรและกรมตำรวจ จนกระทั่งกรมตำรวจได้ออกแจ้งความต่อไปอีกนั้น ไม่เพียงแต่เป็นระเบียบภายในเท่านั้นแต่เป็นการออกโฆษณาภายนอกซึ่งคำมั่นที่จะจ่ายเงินรางวัลตอบแทนให้แก่ผู้ช่วยเหลือราชการในการจับฝิ่น เข้าลักษณะออกโฆษณาให้คำมั่นจะให้รางวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 แล้ว
คำมั่นจะให้รางวัลตามระเบียบนี้ ถ้าจะไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบแล้ว จะต้องมีเหตุผลที่ชอบที่ควร หาใช่ว่าสุดแล้วแต่ใจโดยไม่มีเหตุที่ชอบที่ควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าจากการขายสินค้า: ระเบียบของบริษัทถือเป็นสัญญาผูกพัน
ผู้อำนวยการบริษัทจำกัดได้มีหนังสือแจ้งถึงพนักงานขายของของบริษัทว่าจะให้ค่านายหน้าแก่พนักงานซึ่งขายของได้ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในหนังสือเช่นนี้ไม่ใช่เป็นสัญญาให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 พนักงานย่อมอาศัยหนังสือนี้ฟ้องร้องบริษัทให้จ่ายค่านายหน้าขายของได้ไม่ต้องรอให้มีการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523
of 2