พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,014 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมรถและการไม่เป็นตัวแทน: จำเลยไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ตัวการกระทำเอง
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุ โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้นายนิดยืมเงิน 5,000 บาท โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ. และ บ.ถึงแก่ความตาย เมื่อการที่ น.นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย แต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้ น.จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น.ได้กระทำไปดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของกิจการขนส่งต่อการละเมิดของคนขับรถ แม้ไม่ใช่เจ้าของรถโดยตรง
ข. เจ้าของรถนำรถบรรทุกมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบการขนส่ง โดยพ่นตัวหนังสือชื่อย่อของจำเลยที่ 1 ไว้ข้างรถบรรทุก ขณะเกิดเหตุมีจำเลยที่ 2 ซึ่ง ข. จัดหาเป็นผู้ขับรถบรรทุกดังกล่าว เพื่อบริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าหรือจะไปในที่แห่งใด ย่อมอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่ง ข. ไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2 ไม่ให้ขับรถบรรทุกต่อไปได้หากเห็นว่าไม่สมควรที่จะให้ทำหน้าที่ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสั่งการบังคับบัญชาจำเลยที่ 2 และมีอำนาจหักเอาเงินผลประโยชน์ส่วนแบ่งของ ข. มาจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 ได้อีกด้วย นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ ข. โดยได้รับส่วนแบ่งจากการให้บริการขนสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราย ๆ กรณีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง กรณีมีอำนาจสั่งการ ควบคุมดูแล และจ่ายค่าจ้าง
ข. เจ้าของรถนำรถบรรทุกมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 1 โดยพ่นตัวหนังสือชื่อย่อจำเลยที่ 1 ไว้ข้างรถบรรทุก และในขณะเกิดเหตุมีจำเลยที่ 2 ซึ่ง ข. จัดหาไปขับรถบรรทุกสินค้าเป็นผู้ขับเพื่อบริการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ใช้บริการโดยการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ให้บริการแก่ลูกค้าคนใดหรือจะไปในที่แห่งใดย่อมอยู่ในการควบคุมดูแลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่ง ข. ไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องได้ จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2 ไม่ให้ขับรถบรรทุกต่อไปได้ หากเห็นไม่สมควรที่จะให้ทำหน้าที่ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสั่งการบังคับบัญชาจำเลยที่ 2และมีอำนาจหักเอาเงินผลประโยชน์ส่วนแบ่งของ ข. มาจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ด้วย นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ ข. โดยได้รับส่วนแบ่งจากการให้บริการขนสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราย ๆ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คห้ามเปลี่ยนมือที่ถูกนำไปขึ้นเงินโดยมิชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ดูแลงานของธนาคารจำเลยที่ 1สาขาดังกล่าวทุก ๆ ด้าน มีอำนาจหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาพนักงานทุกคนในสาขาต้องคอยควบคุมดูแลให้พนักงานทุกคนทำงานด้วยความเรียบร้อยและถูกต้องมิให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและบุคคลภายนอก ไม่อาจปัดความรับผิดชอบให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นพนักงานและพนักงานคนอื่น การที่ปล่อยให้จำเลยร่วมนำเช็คพิพาทที่ห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคำว่าผู้ถือออก ซึ่งโจทก์ออกให้เพื่อชำระหนี้แก่บุคคลอื่นเรียกเก็บเงินและนำเข้าบัญชีเงินฝากของตนโดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบแล้วเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินไป โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าตนใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยร่วมและพนักงานที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว ต้องถือว่าได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
ส่วนการที่จำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับ รวมทั้งเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งโจทก์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลทั้งสองฐานฉ้อโกงและยักยอก แล้วต่อมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญา ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หามีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งมีมูลจากการละเมิดและไม่ได้ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความด้วยไม่
ส่วนการที่จำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับ รวมทั้งเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งโจทก์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลทั้งสองฐานฉ้อโกงและยักยอก แล้วต่อมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญา ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หามีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งมีมูลจากการละเมิดและไม่ได้ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้เช่าซื้อกรณีเกิดละเมิดจากคนขับ รวมถึงการประเมินค่าเสียหายที่เหมาะสม
รถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และผู้ประกอบการขนส่ง แม้จำเลยที่ 3 จะให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อดังกล่าวไป แต่จำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้เสียภาษีในการใช้รถยนต์ประกอบการขนส่งประเภทส่วนบุคคลตลอดมาทุกปีและยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกสิบล้อไปประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบการขนส่ง โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างและในการประกอบการขนส่งอันเป็นธุรกิจที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 อยู่ในสภาพพังยับเยิน แม้จะทำการซ่อมแซมอย่างดีแล้วก็ไม่สามารถทำให้คืนดีเหมือนเดิมได้ ทำให้รถยนต์เสื่อมราคาไปจากการใช้ตามปกติ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าเสื่อมราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 อีก จึงหาใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าซ่อมและเปลี่ยนอะไหล่ไม่
ความเสียหายจากการกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำละเมิดได้รับอันตรายสาหัสและต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่างไปตลอดชีวิต นอกจากผู้ถูกกระทำละเมิดจะได้รับชดใช้ค่าเสียความสามารถประกอบการงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย ที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจจากการทุพพลภาพไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 446 วรรคหนึ่ง อีกด้วย และค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยส่วนนี้กับค่าเสียความสามารถประกอบการงาน เป็นค่าเสียหายคนละอย่างแตกต่างกัน และไม่ซ้ำซ้อนกัน
ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นศาลที่รับแต่งตั้งจากศาลจังหวัดสีคิ้วให้สืบพยานหลักฐานของจำเลยแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 102 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด หาใช่กระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐานของจำเลยตามที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับแต่งตั้งให้กระทำแทนศาลจังหวัดสีคิ้วไม่ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ โดยให้โจทก์ไปยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาคดีจึงชอบแล้ว และการที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมิได้รับคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไว้แล้วส่งไปศาลจังหวัดสีคิ้วเพื่อพิจารณาสั่งนั้น ก็หาเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วที่พิจารณาคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับจำเลยต่อมาทั้งหมดจึงชอบด้วยกฎหมาย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 อยู่ในสภาพพังยับเยิน แม้จะทำการซ่อมแซมอย่างดีแล้วก็ไม่สามารถทำให้คืนดีเหมือนเดิมได้ ทำให้รถยนต์เสื่อมราคาไปจากการใช้ตามปกติ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าเสื่อมราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 อีก จึงหาใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าซ่อมและเปลี่ยนอะไหล่ไม่
ความเสียหายจากการกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำละเมิดได้รับอันตรายสาหัสและต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่างไปตลอดชีวิต นอกจากผู้ถูกกระทำละเมิดจะได้รับชดใช้ค่าเสียความสามารถประกอบการงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย ที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจจากการทุพพลภาพไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 446 วรรคหนึ่ง อีกด้วย และค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยส่วนนี้กับค่าเสียความสามารถประกอบการงาน เป็นค่าเสียหายคนละอย่างแตกต่างกัน และไม่ซ้ำซ้อนกัน
ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นศาลที่รับแต่งตั้งจากศาลจังหวัดสีคิ้วให้สืบพยานหลักฐานของจำเลยแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 102 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด หาใช่กระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐานของจำเลยตามที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับแต่งตั้งให้กระทำแทนศาลจังหวัดสีคิ้วไม่ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ โดยให้โจทก์ไปยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาคดีจึงชอบแล้ว และการที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมิได้รับคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไว้แล้วส่งไปศาลจังหวัดสีคิ้วเพื่อพิจารณาสั่งนั้น ก็หาเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วที่พิจารณาคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับจำเลยต่อมาทั้งหมดจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8076/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีประกันภัยขนส่งระหว่างประเทศ และความรับผิดร่วมของลูกจ้าง
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งสินค้ารับผิดต่อโจทก์ และฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยประมาทในทางการที่จ้างชนกำแพงทำให้รถยนต์คันนั้นเสียหาย และคู่ความขอให้โอนคดีไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยมีการสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการประกันภัยที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งระหว่างประเทศอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้เดียวกันและเกี่ยวข้องกับที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญารับขนดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องได้ถึงที่สุดโดยพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งฟังยุติแล้วว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดการลงข่าวดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยการเผยแพร่โฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจนำสืบพิสูจน์ว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดที่ใส่ความโจทก์นั้นเป็นความจริงหรือเป็นการเสนอข่าวสารอันจำเลยที่ 2 มิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง ศาลฎีกาจะฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2ด้วยตามมาตรา 425
โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2ด้วยตามมาตรา 425
โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้าง กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินของ อ. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัย วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลป้องกันรักษาทรัพย์สินของ อ. ทุกชนิดไม่ว่าเป็น อาคาร พาหนะ และทรัพย์สินใด ตลอดจนตรวจตราป้องกันการทำให้ทรัพย์สินของ อ. เสียหาย ดังที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับ อ. การที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้ของ อ. ไปหาเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถตู้ด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์อื่นเป็นเหตุให้รถตู้ของ อ. คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยต่อการกระทำของลูกจ้างระหว่างปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินของ อ. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัยวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลป้องกันรักษาทรัพย์สินของ อ.ทุกชนิด ไม่ว่าเป็น อาคาร พาหนะ และทรัพย์สินใด ตลอดจนตรวจตราป้องกันการทำให้ทรัพย์สินของ อ.เสียหาย ดังที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับ อ.การที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้ของ อ.ไปหาเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่จำเลยที่ 1เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถตู้ด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์อื่นเป็นเหตุให้รถตู้ของ อ.คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและตัวการจากการดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้า
จำเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าดังกล่าว จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และจำเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังทำหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไปดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่าที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจำเลยที่ 2 ที่ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจำเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการด้วย
การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์