พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,014 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเป็นต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์ลูกจ้างและทางการที่จ้าง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์มีส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัย แต่ตามคำเบิกความของ ส.พยานโจทก์ไม่ได้ความว่าทราบความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ตามที่เบิกความมาในทางใด เป็นเพียงแต่เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นสนับสนุน แม้แต่ร้อยตำรวจโทจ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งผู้สอบสวนและผู้รับแจ้งเหตุคดีนี้ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้เลยดังนั้นข้อนำสืบของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและได้กระทำการในทางที่จ้างของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมี หน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัย ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียวศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย - การพิสูจน์ความสัมพันธ์และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์มี ส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประภันภัย แต่ตามคำเบิกความของ ส.พยานโจทก์ไม่ได้ความว่าทราบความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตามที่เบิกความมาในทางใด เป็นเพียงแต่เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นสนับสนุน แม้แต่ร้อยตำรวจโทจ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งผู้สอบสวนและผู้รับแจ้งเหตุคดีนี้ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้เลยดังนั้น ข้อนำสืบของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้าง และได้กระทำการในทางที่จ้างของจำเลยที่ 2
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายจากเหตุรถชน
แม้พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ. 2464มาตรา 72 จะบัญญัติว่า "เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้วางรางคู่กำกับเพื่อให้มีช่องพอครีบล้อรถผ่านไป มาได้ กับให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน หรือทางนั้น ๆ ตามสมควรแก่การ" ก็ตาม แต่ได้มีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 73 ว่า "เมื่อถนนที่ต้องผ่านข้ามไปนั้นไม่สู้สำคัญพอถึงกับต้องทำประตูกั้นแล้ว ให้พนักงานขับรถจักรเปิดหวีดก่อนที่รถจะผ่านข้ามถนนนั้นกับให้ทำเครื่องหมายสัญญาณอย่างถาวรปักไว้ให้แจ้งบนทางและถนนนั้นเพื่อให้พนักงานขับรถจักรและประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามาใกล้ทางรถไฟที่ผ่านข้ามถนน" แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจโจทก์เป็นผู้พิจารณาว่า ทางรถไฟผ่านข้าม ถนนสายใดสำคัญหรือไม่ ถ้าเป็นทางสำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 72ถ้าเป็นทางไม่สู้สำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 73 หาได้บังคับให้โจทก์จำต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนบรรดาที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกแห่งไม่ ได้ความว่าถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟที่เกิดเหตุเป็นถนนสุขาภิบาลห้วยราช อยู่ห่างจากสถานีรถไฟห้วยราชประมาณ 800 เมตร อยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งไม่ได้ความว่าเป็นท้องที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นหรือมีการจราจรคับคั่งเพียงใดเมื่อคำนึงถึงสภาพของท้องที่เกิดเหตุในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเพียงกิ่งอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์แล้ว เชื่อว่าถนนที่เกิดเหตุเป็นเพียงถนนในเขตสุขาภิบาลเล็ก ๆ ซึ่งมีการจราจรไม่คับคั่งนัก ถนนที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ถนนสำคัญอันโจทก์มีหน้าที่จะต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนตามที่กฎหมายบังคับไว้ ส่วนการทำเครื่องหมายสัญญาณอื่นเพื่อเตือนให้พนักงานขับรถจักรหรือประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามาใกล้ทางรถไฟที่ผ่านข้ามถนนซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำตามมาตรา 73 นั้น โจทก์นำสืบว่าก่อนถึงที่เกิดเหตุประมาณ 500 เมตร พนักงานขับรถไฟของโจทก์ได้เปิดหวีดเตือน พร้อมปิดคันบังคับการและลดความเร็วลงตามระเบียบแล้วและในบริเวณที่เกิดเหตุก็ได้ติดตั้งสัญญาณจราจรระวังรถไฟและสัญญาณจราจรหยุดไว้ที่ข้างถนนเพื่อให้ประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามาใกล้ทางรถไฟที่ผ่านข้ามถนนแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใดจึงฟังได้ว่า โจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรา 73 แล้ว ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ตัดต้นไม้และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมหรือปิดบังทางรถไฟและพนักงานของโจทก์ขับรถไฟด้วยความเร็วสูงนั้นโจทก์นำสืบว่าถนนบริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางโล่งและพนักงานของ โจทก์ขับรถไฟในอัตราความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใดเช่นเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยที่ 1และที่ 2 เลื่อนลอย ขัดต่อเหตุผล ทั้งเจือสมกับพยานหลักฐานของโจทก์ จึงมีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าเหตุรถชนกันเกิดเพราะความประมาทของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วม กิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานจากทาง ราชการเพื่อประโยชน์ของตน ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 จะให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อไปก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในรถเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุให้จำเลยที่ 2 นำไปวิ่งส่งผู้โดยสารในเส้นทางสัมปทานของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่เปลี่ยนชื่อผู้ร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3แล้วจำเลยที่ 2 ให้ ว. ลูกจ้างเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวเมื่อเกิดเหตุชนกันจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปเจรจาค่าเสียหายกับผู้บาดเจ็บ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ว. ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของ ว. ซึ่งทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการมอบหมายให้พนักงานขับรถแทน
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารชนรถจักรยานยนต์โจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจะระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งผู้โดยสาร โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 4 พนักงานขับรถ ใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารขับรถยนต์โดยสารไปส่งผู้โดยสารแทนนั้น เป็นการแสดงออกชัดว่าจำเลยที่ 4 ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนตนในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 , 425 , 427 , 797 และ 820 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5638/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้รับประกันภัยในกรณีละเมิดจากการขับรถประมาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโดยคำสั่งและในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และขับโดยประมาทชนรถยนต์โดยสารซึ่งโจทก์โดยสารมา ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์มาด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ซึ่งโจทก์โดยสารมาได้รับความเสียหายมีผู้โดยสารได้รับอันตรายสาหัสและเสียชีวิตโดย ว.ประมาทแต่ฝ่ายเดียว ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 อุทธรณ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุ ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทแต่ฝ่ายเดียวและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้เมื่อนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ.มาตรา 425 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจึงอาจจะฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างคนใดก็ได้ และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ไว้ชัดแจ้งครบถ้วนแล้วว่า ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างและข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด และเมื่อจำเลยที่ 2ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5638/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ผู้ขับไม่ใช่ลูกจ้างโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโดยคำสั่งและในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และขับโดยประมาทชนรถยนต์โดยสารซึ่งโจทก์โดยสารมา ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสและศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุ ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์มาด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ซึ่งโจทก์โดยสารมาได้รับความเสียหายมีผู้โดยสารได้รับอันตรายสาหัสและเสียชีวิตโดย ว.ประมาทแต่ฝ่ายเดียวชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 อุทธรณ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุ ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2ด้วยความประมาทแต่ฝ่ายเดียวและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดังนี้เมื่อนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจึงอาจจะฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างคนใดก็ได้ และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ไว้ชัดแจ้งครบถ้วนแล้วว่า ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างและข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดและเมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงาน และการแบ่งความรับผิดในละเมิดจากหน้าที่การงาน
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่น เป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้วเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ 1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291, 296, 297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 425, 427, 430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่น เป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้วเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ 1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291, 296, 297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 425, 427, 430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้างานต่อการยักยอกเงินของลูกน้อง: ประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2 ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่นเป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291,296,297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนและการร่วมรับผิดในคดีละเมิด
จำเลยร่วมที่ 2 ถูกเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันพิพาท ซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง ดังนี้ มูลความแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่มิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้หรือมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดั่งนั้นโดยชัดแจ้ง อีกทั้งคดีนี้มีโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ส่วนการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันนั้นก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกเท่านั้น จึงมิได้เป็นเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลความแห่งคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้หรือไม่แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2คงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียว กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 ได้กระทำการแทนโจทก์อื่นด้วย
โจทก์ที่ 4 ได้ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในคดีและได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนในรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ที่ 4 และโจทก์อื่นด้วย อีกทั้งยังมีการแถลงรับในชั้นสืบพยานของศาลชั้นต้นอีกว่าจำเลยร่วมที่ 2 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยคนละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์อื่นอีกด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการขอหมายเรียกของโจทก์ที่ 4 ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อื่นด้วยชอบแล้ว
โจทก์ที่ 4 ได้ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในคดีและได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนในรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ที่ 4 และโจทก์อื่นด้วย อีกทั้งยังมีการแถลงรับในชั้นสืบพยานของศาลชั้นต้นอีกว่าจำเลยร่วมที่ 2 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยคนละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์อื่นอีกด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการขอหมายเรียกของโจทก์ที่ 4 ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อื่นด้วยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ และขอบเขตการรับผิดต่อโจทก์แต่ละราย
จำเลยร่วมที่ 2 ถูกเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันพิพาท ซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง ดังนี้ มูลความแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่มิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้หรือมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดั่งนั้นโดยชัดแจ้ง อีกทั้งคดีนี้มีโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ส่วนการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันนั้นก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกเท่านั้น จึงมิได้เป็นเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลความแห่งคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้หรือไม่แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 คงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวกรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 ได้กระทำการแทนโจทก์อื่นด้วย โจทก์ที่ 4 ได้ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในคดีและได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนในรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ที่ 4 และโจทก์อื่นด้วยอีกทั้งยังมีการแถลงรับในชั้นสืบพยานของศาลชั้นต้นอีกว่าจำเลยร่วมที่ 2 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยคนละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์อื่นอีกด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการขอหมายเรียกของโจทก์ที่ 4 ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2รับผิดเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อื่นด้วยชอบแล้ว