คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 425

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,014 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6359/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงานต่อเนื่อง
ผู้ตายได้ขับรถยนต์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของกรมส่งเสริม-การเกษตรจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นนายจ้าง นำยุวเกษตรกรไปเข้าค่ายที่ศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เมื่อเสร็จงานแล้วผู้ตายขับรถนำยุวเกษตรกรเดินทางกลับ จากนั้นได้ขับรถออกไปรับประทานอาหารต่อที่จังหวัดนครปฐมเป็นการส่วนตัวกับเพื่อน หลังจากรับประทานเสร็จผู้ตายได้ขับรถไปส่งเพื่อนผู้ตายที่บ้าน แล้วผู้ตายขับรถมุ่งหน้าไปอำเภอสามพรานโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้รถชนกับรถบรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้ แม้ผู้ตายจะขับรถในความครอบครองของจำเลยที่ 4 นำยุวเกษตรกรเดินทางกลับเสร็จแล้วและหลังจากนั้นผู้ตายขับรถออกไปรับประทานอาหาร จนเกิดเหตุอุบัติเหตุรถชนกับรถบรรทุกตอนขากลับแต่ผู้ตายยังต้องนำรถของทางราชการจำเลยที่ 4 ไปเก็บที่สำนักงานของจำเลยที่ 4ตามหน้าที่ ดังนั้นการขับรถของผู้ตายดังกล่าวยังเป็นเวลาและการกระทำต่อเนื่องเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของผู้ตาย ซึ่งถือได้ว่าการกระทำของผู้ตายยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติงานตามหน้าที่การงานของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ผู้ตายได้ก่อขึ้นต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6359/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่อผลละเมิดของลูกจ้าง: การปฏิบัติงานต่อเนื่องแม้หลังเลิกงาน
แม้ผู้ตายจะขับรถในความครอบครองของจำเลยที่ 4 เดินทางกลับ จากไปราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเสร็จแล้วหลังจากนั้นผู้ตายได้ขับรถออกไปรับประทานอาหารและส่งเพื่อนจนเกิดอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกตอนขากลับ ซึ่งผู้ตายยังต้องนำรถไปเก็บที่สำนักงานของจำเลยที่ 4 ถือว่าการกระทำของผู้ตายยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติตามหน้าที่การงาน จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ผู้ตายได้ก่อขึ้นต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องจำเลยนายจ้างร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง และผลของการประนีประนอมยอมความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย อันเป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 นายจ้างให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างตามป.พ.พ. มาตรา 425 คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก.อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาศาลก็จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มูลละเมิดต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิด - ความรับผิดทางละเมิด - ค่าเสียหาย
แม้เกิดเหตุแล้วโจทก์ยังสามารถสอนหนังสือได้แต่การที่โจทก์ต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไปจึงทำได้แต่เพียงสอนหนังสืออย่างเดียวทั้งๆที่ความรู้ความสามารถของโจทก์สามารถก้าวหน้าไปในทางวิชาการและดำรงตำแหน่งผู้บริหารได้ถือได้ว่าโจทก์สูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคตแล้วและการที่โจทก์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องรักษาตัวไปตลอดชีวิตไม่สามารถสมรสและมีบุตรได้อนาคตทางการงานไม่อาจเจริญก้าวหน้าไปตามปกติโจทก์ต้องได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสทั้งร่างกายและจิตใจไปตลอดชีวิตจึงได้รับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าทุกข์ทรมานอีกส่วนหนึ่งด้วย หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา206ดังนั้นจำเลยที่1และที่2จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแม้ค่าเสียหายบางส่วนจะเป็นค่าเสียหายในอนาคตก็ตาม จำเลยที่2มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุที่จำเลยที่2เป็นเจ้าของไปส่งของโดยจำเลยที่1ได้รับค่าจ้างจากจำเลยที่2เป็นค่าตอบแทนในการทำงานเมื่อจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกตามคำสั่งของจำเลยที่2ไปชนโจทก์เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสถือได้ว่าจำเลยที่1ลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างจำเลยที่2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถไฟ
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่า เมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 57 (8) จึงบัญญัติว่า ห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า 15 เมตรแต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 เมตร หรือ 1 เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ผิด กรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223 วรรคหนึ่ง, 438 วรรคหนึ่ง และ 442 ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่น พนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไป ส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ 20 เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 10 เมตร เห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน ช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้น ซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้ว ปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ 50 เมตร ในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ 3 ปี ก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำ และพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา 18 นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น การที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้า แสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้ พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่า เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับ เป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่า ในส่วนของความประมาทเลินเล่อศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: การจอดรถกีดขวางทางรถไฟ และความประมาทของผู้ขับรถไฟ
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนก้นพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วและเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223วรรคหนึ่ง,438วรรคหนึ่งและ442ปรากฎว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าค้นอื่นพนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไปส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ20เมตรเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้นซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว15กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ50เมตรในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ3ปีก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำและพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา18นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นการที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้าแสดงว่าการที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าเพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่าในส่วนของความประมาทเลินเล่อของศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการให้การเกี่ยวกับลายมือชื่อ ทำให้ถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ให้การและนายจ้างต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชีของจำเลยที่1ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าบุคคลธรรมดาการที่จำเลยที่2ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คคล้ายลายมือโจทก์ย่อมถือเป็นการยืนยันว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นลายมือชื่อของโจทก์นั่นเองคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่2จึงเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์หาใช่เกิดจากดุลพินิจในการพิจารณาพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนตามลำพังไม่การกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยลงลายมือชื่อเป็นพยานพร้อมประทับตราของจำเลยที่1กำกับไว้และเบิกความตอบคำถามค้านรับว่าตนให้การในฐานะที่เป็นพนักงานของจำเลยที่1ซึ่งจำเลยที่1ก็มิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นคำให้การของจำเลยที่2ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในตำแหน่ง หน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายจากจำเลยที่1ฉะนั้นการที่จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่1จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วย การที่จำเลยที่2ได้ให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนจนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาต้องถูกออกหมายจับและถูกควบคุมตัวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เสรีภาพและชื่อเสียงของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงระยะเวลาที่โจทก์ถูกจับและถูกควบคุมตัวจนถึงได้รับการประกันตัวเป็นเวลาเพียงประมาณ5ถึง6ชั่วโมงประกอบกับหลังเกิดเหตุถูกจับแล้วโจทก์ซึ่งเป็นนักธุรกิจก็ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศนักธุรกิจดีเด่นแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่2กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้นมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงนักที่โจทก์ขอค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสื่อมเสียเสรีภาพ1,000,000บาทและเกี่ยวกับชื่อเสียงอีก1,000,000บาทนั้นสูงเกินไปเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายทั้งสองส่วนนี้ให้รวม300,000บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีละเมิด: การวินิจฉัยประมาทเลินเล่อในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การฟังข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญา หากคดีอาญาไม่พบความประมาท คดีแพ่งก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่1เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่1มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่1มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่1ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ขายต่อความเสียหายของสินค้าที่อยู่ระหว่างการส่งมอบหลังการชำระเงิน และการรับช่วงสิทธิ
น.ซื้อสินค้าจำพวกวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ที่ 2 เป็นเงิน31,300 บาท ได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์ที่ 2 จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น. โจทก์ที่ 2 จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 1บรรทุกสินค้าดังกล่าวไปส่งให้ตามที่ตกลง ระหว่างทางถูกรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 1 ขับมาในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชน ทำให้สินค้าที่ น.ซื้อมาได้รับความเสียหาย โจทก์ที่ 2 จึงชำระราคาสินค้าให้แก่ทายาทของ น.ไป เมื่อโจทก์ที่ 2 ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าที่ น.ซื้อจากโจทก์ที่ 2 ไปยังภูมิลำเนาของ น.ตามที่ตกลงไว้ ดังนั้นแม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้ตกเป็นของ น.ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น. ณ ภูมิลำเนาของ น. เมื่อสินค้าไปไม่ถึงเพราะเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อน จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ที่ 2 ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น.ไปโจทก์ที่ 2 จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 227 มาฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1กระทำไปในทางการที่จ้างได้
of 102