พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,014 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12849/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของอาคารต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของบริษัทรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้า ซ. จัดลานจอดรถเพื่อให้บริการแก่ร้านค้าที่มาเช่าพื้นที่และลูกค้าของร้านค้าเพื่อจอดรถยนต์ขณะเข้าไปใช้บริการยังร้านค้าที่เช่าพื้นที่ในอาคารศูนย์การค้าและมอบให้บริษัท น. เป็นผู้จัดการให้บริการด้านสาธารณูปโภคทั้งหมดรวมทั้งการรักษาความปลอดภัยภายในอาคารและนอกอาคารโดยมีการแบ่งผลประโยชน์จากการจัดเก็บรายได้จากร้านค้าที่เช่าพื้นที่และรับบริการ จำเลยที่ 2 กับบริษัท น. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้อาคารศูนย์การค้า ซ. ร่วมกัน โดยจำเลยที่ 2 จัดเก็บค่าเช่าพื้นที่อาคาร ส่วนบริษัท น. จัดเก็บค่าบริการด้านสาธารณูปโภค การที่บริษัท น. เข้าทำสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลรักษาความปลอดภัยที่อาคารศูนย์การค้าจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่อาคารศูนย์การค้า จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้าจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้าย่อมแสดงให้ผู้มาใช้บริการที่อาคารศูนย์การค้าเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า พฤติการณ์ของบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบการค้าร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 เป็นตัวการด้วยกันในการทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 รักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้า เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9481/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัย: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากไม่ทราบความสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับผู้เอาประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 31-0857 กรุงเทพมหานคร และหมายเลขทะเบียน 31-4326 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยสารไม่ประจำทางหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ในทางการที่จ้างหรือตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เอาประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 เวลา 16.40 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันดังกล่าวออกจากหน้าบริษัท ท. แล้วเลี้ยวซ้ายเพื่อตรงออกปากซอยนิคมอุตสาหกรรมบางพลีซอย 7 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนด้วยความเร็วสูงและไม่สามารถหยุดห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับพุ่งเข้าชนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ที่จอดดับเครื่องยนต์อยู่ริมถนนหน้าบริษัท ด. เพื่อรอรับคนงานจนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1 ขับ ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย อันมีลักษณะเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถโดยสารคันดังกล่าว ซึ่งการรับประกันภัยค้ำจุนนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง แต่คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ขับรถในฐานะใดหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีโอกาสทราบว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเหตุใด อันจะทำให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7379/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกประเด็น: ศาลวินิจฉัยความรับผิดนายจ้างเกินขอบเขตที่จำกัดโดยประเด็นชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ผู้ที่กระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ โดยไม่มีคู่ความโต้แย้งในการกำหนดประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนกระทำต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันภัยต่อบุคคลภายนอกกรณีผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
ตามฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถซึ่งขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองด้วยดังนั้น แม้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ก็ยังจะต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชอบสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งก็คือจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยรถที่โจทก์รับประกันภัยและต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของห้างฯมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยรถลูกค้า การเปลี่ยนรูปแบบบัตรจอดรถเป็นเหตุให้เกิดละเมิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุได้จัดให้มีที่จอดรถสำหรับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าโดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยแจกบัตรจอดรถให้กับผู้มาใช้บริการที่ทางเข้าและรับบัตรจอดรถคืนที่บริเวณทางออกของห้างสรรพสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ย่อมทำให้ผู้ที่มาใช้บริการที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าจัดให้บริการรักษาความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ของผู้มาใช้บริการที่จะนำเข้ามาจอดในที่จอดรถขณะเข้าไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยและจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมในการดูแลรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดยังที่จอดรถของจำเลยที่ 2 ด้วย
ในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยแจกบัตรจอดรถที่ทำจากกระดาษแข็งชนิดอ่อนเคลือบด้วยพลาสติกใส ไม่ระบุวันเดือนปีและเวลารถเข้าออก ไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าในห้าง เพียงแต่ระบุหมายเลขประจำบัตรจอดรถเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบัตรจอดรถไปจากบัตรเดิมที่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถให้ตรงกับบัตรได้ การนำบัตรจอดรถซึ่งไม่ระบุรายละเอียดรถที่แล่นผ่านเข้าห้างมาใช้เช่นนี้ จำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นได้ว่าบุคคลอื่นอาจนำบัตรจอดรถดังกล่าวมาใช้เพื่อนำรถคันอื่นๆ ออกจากที่จอดรถในบริเวณห้างจำเลยที่ 2 ได้โดยง่าย พฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองผ่อนปรนการใช้ความระมัดระวังในการตรวจตรารถซึ่งผ่านเข้าออกห้างจำเลยที่ 2 ด้วยการจัดให้นำบัตรที่ไม่ระบุวันเดือนปี เวลาและหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าห้างจำเลยที่ 2 มาใช้ในวันเกิดเหตุ โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบใดๆ เพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นผลโดยตรงทำให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป ถือว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นการกระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 นายจ้าง และจำเลยที่ 2 ตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
ในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยแจกบัตรจอดรถที่ทำจากกระดาษแข็งชนิดอ่อนเคลือบด้วยพลาสติกใส ไม่ระบุวันเดือนปีและเวลารถเข้าออก ไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าในห้าง เพียงแต่ระบุหมายเลขประจำบัตรจอดรถเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบัตรจอดรถไปจากบัตรเดิมที่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถให้ตรงกับบัตรได้ การนำบัตรจอดรถซึ่งไม่ระบุรายละเอียดรถที่แล่นผ่านเข้าห้างมาใช้เช่นนี้ จำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นได้ว่าบุคคลอื่นอาจนำบัตรจอดรถดังกล่าวมาใช้เพื่อนำรถคันอื่นๆ ออกจากที่จอดรถในบริเวณห้างจำเลยที่ 2 ได้โดยง่าย พฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองผ่อนปรนการใช้ความระมัดระวังในการตรวจตรารถซึ่งผ่านเข้าออกห้างจำเลยที่ 2 ด้วยการจัดให้นำบัตรที่ไม่ระบุวันเดือนปี เวลาและหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าห้างจำเลยที่ 2 มาใช้ในวันเกิดเหตุ โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบใดๆ เพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นผลโดยตรงทำให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป ถือว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นการกระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 นายจ้าง และจำเลยที่ 2 ตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องขาดสาระสำคัญประเด็นความรับผิดร่วม ละเมิด ไม่แจ้งชัด ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
ตามคำฟ้องเป็นการฟ้องคดีในมูลละเมิด แม้จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 รับขนส่งช่วง จำเลยที่ 3 นำเรือไปบรรทุกโดยให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมเรือ ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การว่าจำเลยที่ 2 เช่าเรือไปจากจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 คำฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และมาตรา 427 คำฟ้องโจทก์จึงไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้ในทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ และศาลจะพิพากษาคดีให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะขับรถ แม้หลังเลิกงาน หากยังไม่ได้ส่งคืนรถ
ความหมายของคำว่า "ในทางการที่จ้าง" มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในเวลาทำงานของนายจ้างหรือระหว่างเวลาที่ต่อเนื่องคาบเกี่ยวใกล้ชิดกันกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างดังที่จำเลยที่ 3 กล่าวอ้างมาเท่านั้น หากแต่เมื่อลูกจ้างที่มีหน้าที่ขับรถและได้กระทำไปในทางการที่จ้างแล้ว หลังจากนั้นแม้ลูกจ้างจะได้ขับรถไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือประการใดก็ตาม ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้นำรถกลับคืนสู่ความครอบครองของนายจ้าง ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระหว่างทางการที่จ้างหรือต่อเนื่องกับทางการที่จ้างซึ่งนายจ้างยังคงต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุคดีนี้จะเป็นเวลา 2 นาฬิกา นอกเวลาทำงานปกติและ ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุออกไปเที่ยว ก็ถือได้ว่า ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของ ว. นั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4317/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากเหตุสุดวิสัยน้ำท่วม และความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและผู้รับประกันภัย
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการสืบหาที่อยู่ของจำเลยที่ 1 เพื่อส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ใหม่ และแถลงต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 เดือน โดยปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาถึง 3 เดือนเศษ แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับภัยพิบัติน้ำท่วม ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลสั่งได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ โจทก์สามารถสื่อสารกับศาลชั้นต้นได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าทางโทรศัพท์ หรือทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1
เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เท่ากับหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดมากไปกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่โจทก์เนื่องจากเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้
เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เท่ากับหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดมากไปกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่โจทก์เนื่องจากเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของตัวการและตัวแทนจากการประมาททางรถยนต์
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้าง หรือตัวแทน หรือผู้ถูกจ้างวานใช้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยในขณะกระทำการในทางที่จ้างให้จำเลยที่ 2 หรือกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้กระทำการแทน และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าตนเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนขับรถยนต์ไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมายให้กระทำ และถือเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้ เช่นนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาท จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์คู่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าการกระทำละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่นายจ้างว่าจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แต่การที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จะต้องได้ความว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏไว้เลยว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างหรือไม่ อย่างไร ในอันที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถือว่าฟ้องโจทก์ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในอันที่จะให้จำเลยที่ 2 รับผิด กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1