พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากคำร้องและข้อเท็จจริงเฉพาะหน้า ไม่ต้องวินิจฉัยความถูกต้องของพินัยกรรม
คดีมีปัญหาเพียงว่าสมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 หรือ น.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น เมื่อในพินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างไม่มีข้อความกำหนดแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยไปถึงว่าพินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่ฟ้องร้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีมิได้คิดเป็นเวลา 5 ปี 7 เดือนตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระให้โจทก์ปัญหานี้แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไว้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 โจทก์ฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีเป็นเงิน 90,000 บาท แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับจากวันที่ 1 เมษายน 2535 จนกว่าจะชำระเงินให้โจทก์เสร็จ ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า5 ปีนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน คำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันคำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้อง: แม้คำขอท้ายฟ้องผิดพลาด ศาลสามารถบังคับตามสภาพแห่งข้อหาที่บรรยายไว้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็คและจำเลยที่ 2 ที่ 3สลักหลังเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่เป็นผู้สั่งจ่ายและสลักหลังเช็ค โดยให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงเป็นการกล่าวถึงสภาพแห่งข้อหาและคำขอให้บังคับแก่จำเลยทั้งสามตลอดมาแม้คำขอท้ายฟ้องจะกล่าวว่าให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คก็เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด ซึ่งเมื่อรวมใจความย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์นั่นเองศาลบังคับจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ออกเช็คและผู้สลักหลังเช็ค แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุจำนวนจำเลยไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็คและจำเลยที่ 2 ที่ 3 สลักหลังเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่เป็นผู้สั่งจ่าย และสลักหลังเช็ค โดยให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงเป็นการกล่าวถึงสภาพแห่งข้อหาและคำขอให้บังคับแก่จำเลยทั้งสามตลอดมาแม้คำขอท้ายฟ้อง จะกล่าวว่าให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คก็เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด ซึ่งเมื่อรวมใจความย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์นั่นเองศาลบังคับจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์มิได้พิสูจน์ความเสียหายตามฟ้อง
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้อง รับผิดใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้ รับความเสียหายตาม จำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตาม สมควร โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดย กำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อ ศาลภายใน 30 วันหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์พิสูจน์ความเสียหายไม่ได้ทั้งหมด
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตามสมควร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มจากภาษีอากร: การใช้ดุลพินิจเรียกเก็บเงินเพิ่มตามกฎหมายศุลกากร และข้อยกเว้นดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้าแก่จำเลย ให้จำเลยนำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด 30 วันตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 112 ทวิ มิฉะนั้นจะถูกเรียกเงินอีกร้อยละ 20 ของค่าอากรที่ต้องชำระหรือชำระเพิ่มเติมมาตรา 112 ตรี จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว ไม่นำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด กรมศุลกากรมีคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 3/2525 ข้อ 1.5 มีใจความว่า ถ้าผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินภาษีอากรมาชำระเกินกำหนด 3เดือน ขึ้นไปนับแต่วันที่ครบกำหนด 30 วัน จากวันที่ได้รับแจ้งให้เรียกเงินเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ ทุกรายคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรดังกล่าว อธิบดีกรมศุลกากรก็ต้องเป็นผู้ออกคำสั่งนั้นทั้งตามมาตรา 112 ตรี ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าให้อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ต้องทำเป็นหนังสือเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากผู้นำของเข้าโดยตรงทุกรายดังนั้น การส่งแบบแจ้งการประเมินดังกล่าว ฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ทั้งไม่ปรากฏว่า การใช้ดุลพินิจของพนักงานประเมินที่กระทำในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นการไม่ชอบ และทางฝ่ายจำเลยก็มิได้มีพฤติการณ์อย่างใดที่สมควรจะให้งดเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรที่ต้องนำมาชำระตามมาตรา 112จัตวา จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละ 20
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มอากรศุลกากร: การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี และการไม่อุทธรณ์ดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้าแก่จำเลย ให้จำเลยนำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด 30 วันตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 112 ทวิ มิฉะนั้นจะถูกเรียกเงินอีกร้อยละ 20 ของค่าอากรที่ต้องชำระหรือชำระเพิ่มเติมมาตรา 112 ตรี จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว ไม่นำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด กรมศุลกากรมีคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 3/2525 ข้อ 1.5 มีใจความว่า ถ้าผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินภาษีอากรมาชำระเกินกำหนด 3เดือน ขึ้นไปนับแต่วันที่ครบกำหนด 30 วัน จากวันที่ได้รับแจ้งให้เรียกเงินเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ ทุกรายคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรดังกล่าว อธิบดีกรมศุลกากรก็ต้องเป็นผู้ออกคำสั่งนั้นทั้งตามมาตรา 112 ตรี ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าให้อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ต้องทำเป็นหนังสือเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากผู้นำของเข้าโดยตรงทุกรายดังนั้น การส่งแบบแจ้งการประเมินดังกล่าว ฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ทั้งไม่ปรากฏว่า การใช้ดุลพินิจของพนักงานประเมินที่กระทำในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นการไม่ชอบ และทางฝ่ายจำเลยก็มิได้มีพฤติการณ์อย่างใดที่สมควรจะให้งดเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรที่ต้องนำมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละ 20
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น 290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น 290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.