คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน: อำนาจของอธิบดีกรมแรงงานในการแก้ไขคำสั่ง
ลูกจ้างไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน ได้ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา โดยทำการล้างหินอัดหินตามทางรถไฟซึ่งเป็นที่กลางแจ้ง ต้องก้ม ๆ เงย ๆ พอถึงเวลา 10.30 นาฬิกา อากาศร้อนอบอ้าว เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยตรง การที่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมแรงงานสั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่พนักงานเงินทดแทนสั่งโดยที่ นายจ้างแต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาล จึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก ไปใช้บังคับหรือเทียบเคียงมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่าสิ่งที่พนักงานเงินทดแทนสั่งไปผิดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองแรงงาน: การตายจากการทำงานถือเป็นการประสบอันตราย นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน
ลูกจ้างไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน ได้ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา โดยทำการล้างหินอัดหินตามทางรถไฟซึ่งเป็นที่กลางแจ้ง ต้องก้ม ๆ เงย ๆ พอถึงเวลา 10.30 นาฬิกา อากาศร้อนอบอ้าว เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยตรง
การที่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่พนักงานเงินทดแทนสั่งโดยที่นายจ้างแต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาล จึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก ไปใช้บังคับหรือเทียบเคียงมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่าสิ่งที่พนักงานเงินทดแทนสั่งไปผิดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนสิทธิการเช่าและการนำสืบพยานนอกฟ้อง ศาลฎีกาพิจารณาจากเจตนาที่แท้จริงของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิการเช่าตึกพิพาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โจทก์ให้จำเลยทำการค้าในตึกนี้ ต่อมาจำเลยได้ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้จำเลยแล้วนำไปยื่นคำขอต่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โอนสิทธิการเช่าเป็นของจำเลย แล้วจำเลยยื่นคำขอโอนสิทธิการเช่าให้แก่ผู้มีชื่อ ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอดังกล่าว ฟ้องของโจทก์เช่นนี้แปลความได้ว่า โจทก์ไม่มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยดังที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจนั้น จำเลยให้การโต้แย้งว่า โจทก์มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าตึกเป็นของจำเลยหรือไม่ ดังนี้ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะนำสืบว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยสำคัญผิด ก็เป็นการสืบแสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยตามฟ้องหาใช่นำสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนสิทธิการเช่าที่โจทก์มีอยู่จากจำเลยผู้อาศัย แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยถอนคำขอที่จำเลยขอโอนสิทธิการเช่าแก่ผู้อื่น. ก็มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาบังคับแก่คดีไม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติเพียงว่า คำฟ้องต้องมีคำขอบังคับ แต่มิได้บัญญัติถึงขนาดว่าคำขอบังคับจะต้องให้ปรากฏไว้เฉพาะในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น คดีนี้โจทก์มีคำขอไว้ในคำฟ้องชัดแจ้งว่าขอให้ศาลพิพากษาให้สิทธิการเช่ากลับคืนมาเป็นของโจทก์ ถือได้ว่ามีคำขอบังคับในข้อนี้ไว้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการประมูลหรือขายทอดตลาดเมื่อตกลงแบ่งกันไม่ได้ และอำนาจฟ้องในกรณีแบ่งมรดกโดยจำเลยไม่แบ่งให้ทายาท
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้แบ่งทรัพย์ระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ทายาทและจำเลยประมูลกันเอง ถ้าไม่ตกลงกันให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน และจำเลยยังมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์แบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้อีก ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก เพราะโจทก์ฟ้องเรียกเป็นเงินและให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ไม่ได้
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินเป็นประกันหนี้ การแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครอง และสิทธิในการเรียกคืน
กู้เงิน ทำหนังสือกู้กันเองตกลงให้ผู้ให้กู้ ครอบครองที่นาไว้เป็นประกัน และทำต่างดอกเบี้ย การที่ผู้ให้กู้เอาที่นานั้นแจ้งการครอบครองแบบ ส.ค. 1 ว่าเป็นของตนเสียนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
ผู้ให้กู้รับมอบนาพิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้เบี้ยประกันหนี้และทำต่างดอกเบี้ยโดยตกลงกันเองมิได้ทำให้ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการประกันด้วยทรัพย์ ย่อมไม่มีผลทำให้เกิดทรัพย์สิทธิเหนือนาพิพาทอันจะทำให้มีอำนาจยึดหน่วงนาพิพาทตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์มาตรา 241 วรรค 2 ผู้ให้กู้ต้องคืนนาพิพาทให้ผู้กู้
ผู้กู้เป็นโจทก์ฟ้องผู้ให้กู้ขอให้รับชำระหนี้ 280 บาทและคืนที่นาที่มอบไว้เป็นประกันและทำต่างดอกเบี้ยตามสัญญาที่ทำกันเอง ผู้ให้กู้ให้การว่า หนี้จำนวน 1,000 บาท แต่ไม่ได้ฟ้องแย้งเข้ามา ศาลคงบังคับให้ผู้กู้ชำระหนี้เท่าที่กล่าวในฟ้อง ส่วนจำนวนหนี้ยังค้างอยู่เป็นเรื่องที่ผู้ให้กู้จะต้องไปว่ากล่าวเอากับผู้กู้เพื่อให้ชำระจนสิ้นเชิงในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 214 เป็นอีกเรื่องต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อโกงและการบังคับคดี: สิทธิของเจ้าหนี้ในการขอเพิกถอนนิติกรรมได้พร้อมกับการเรียกร้องเงินกู้
บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปซื้อสวน จำเลยที่ 1ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์โดยลงไว้ในสัญญาว่าเอาที่สวนนั้นเป็นประกันจำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินกู้โจทก์ทวงให้ชำระหรือมิฉะนั้นก็ให้โอนที่สวนให้โจทก์จำเลยบิดพลิ้วแล้วโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่สวนนั้นให้จำเลยที่ 2 โจทก์จึงรู้สึกว่าจำเลยทั้งสองทำการสมยอมกันฉ้อโกงโจทก์ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนนิติกรรมนั้นเป็นการตั้งประเด็นขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ไว้แล้ว (จำเลยอ้างว่ามิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 เป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์เสียเปรียบ)
คำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้เงินต้นและดอกเบี้ยถ้าไม่สามารถชำระเงินก็ให้จำเลยโอนที่สวนที่เอาเป็นประกันให้โจทก์ตามสัญญาโดยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหรือทำลายนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยทั้งสองเสียศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงิน กับให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่สวนให้ระหว่างจำเลยทั้งสอง นั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ เพราะคำขอท้ายฟ้องนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินก่อนเมื่อไม่สามารถชำระเงินแล้วจึงจะเพิกถอนนิติกรรมได้
of 4