พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนและค่าฤชาธรรมเนียมจากลูกจ้างของนายจ้างที่กระทำละเมิด
จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนนาง ศ. ถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ตายฟ้องโจทก์แต่ผู้เดียวในฐานะนายจ้างให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้รับชดใช้จากลูกจ้าง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกจึงชอบที่จะได้รับชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ได้ใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเท่านั้น สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ชดใช้ให้แก่ทายาทของผู้ตายเป็นความรับผิดตามคำพิพากษา อันเกิดจากการดำเนินคดีระหว่างโจทก์กับทายาทของผู้ตายและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้าง/ทายาท: ต้องชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ บ.ผู้ตายจะเรียกให้ บ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ บ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปนั้น จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ชดใช้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วคืนจากลูกจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยในฐานะทายาทของ บ. ชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทายาทลูกจ้างได้ต่อเมื่อนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกแล้ว
นายจ้างจะเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ลูกจ้างก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ นายจ้างจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวคืนจากลูกจ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 426 นายบุญธรรมผู้ตายเป็นลูกจ้างโจทก์ขับรถส่งสินค้าโดยประมาท ทำให้ทรัพย์สินบุคคลภายนอกเสียหาย ศาลพิพากษาให้โจทก์และผู้ตายใช้ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของผู้ตายชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรอการชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างและทายาท
ป.พ.พ. มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามมาตรา 426 ลูกจ้างขับรถของนายจ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเสียหาย แต่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างยังไม่สามารถตกลงจำนวนค่าเสียหายและยังไม่ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เป็นลูกจ้างที่กระทำละเมิดตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทและจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกจ้างชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากละเมิดของลูกจ้าง: สิทธิไล่เบี้ยต้องรอการชำระค่าเสียหายก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามมาตรา 426 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างยังไม่ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่ถูก ช.ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเงินจำนวนดังกล่าวจาก ช. ตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทและจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ค้ำประกันของ ช. ชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมรถและการไม่เป็นตัวแทน: จำเลยไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ตัวการกระทำเอง
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุ โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้นายนิดยืมเงิน 5,000 บาท โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ. และ บ.ถึงแก่ความตาย เมื่อการที่ น.นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย แต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้ น.จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น.ได้กระทำไปดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมรถและการรับผิดในละเมิด: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากผู้ยืมไม่ได้เป็นตัวแทน
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุโดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้ น. ยืมเงิน โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ.ผู้ขับขี่ และ บ. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายมากับรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายแต่การที่ น. นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลย มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย หากแต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้น. จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น. ได้กระทำไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8157/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ละเมิด
จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายจำเลยที่2มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคหนึ่งดังนั้นแม้ว.จะเป็นผู้จ่ายแทนโจทก์โดยว.ไม่ได้เรียกร้องเงินนี้และโจทก์ไม่ได้ชำระเงินจำนวนนี้แก่ว.ก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากจำเลยที่2ได้ จำเลยที่2เป็นนายจ้างของจำเลยที่1มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่1ไม่ให้กระทำการใดๆอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นเมื่อจำเลยที่2ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในผลแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425แต่จำเลยที่2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่1ได้ตามมาตรา426 หนี้ละเมิดจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา206จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7ครึ่งต่อปีตามมาตรา224วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8157/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของลูกจ้าง-นายจ้าง, ค่าปลงศพ, ความรับผิดร่วม, ดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพให้โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ ว.จะเป็นผู้จ่ายแทนโจทก์โดย ว.ไม่ได้เรียกร้องเงินนี้และโจทก์ไม่ได้ชำระเงินจำนวนนี้แก่ ว.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ไม่ให้กระทำการใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เมื่อจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 426
หนี้ละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ไม่ให้กระทำการใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เมื่อจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 426
หนี้ละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิในการฟ้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ที่ได้บัญญัติบังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่บุคคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้ โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้ชอบจะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ส.เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ส.ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือ ส.คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวก็ได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 1จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ส.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 นั้น ก็ชอบที่จะกระทำได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องรอให้โจทก์ฟ้อง ส.ให้รับผิดเสียชั้นหนึ่งก่อนดังนี้ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส.ผู้ที่ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง แต่กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ ส.ให้รับผิดนั้นจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 291 แล้ว