พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกเสียภาษีเงินได้จากเงินที่นายจ้างจ่ายเมื่อออกจากงาน ต้องรวมเงินจากทุกแหล่งแล้วคำนวณตามหลักเกณฑ์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 (5) และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน 2535 ข้อ 1
หากโจทก์จะเลือกเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 (5) โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ทุกรายการที่เข้าลักษณะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานในปีภาษีนั้นรวมกัน จากนั้นจึงคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (5) เมื่อปรากฏว่า ในปีภาษี 2546 เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่โจทก์ได้รับจำนวน 1,234,280 บาท เป็นเงินได้ตามข้อ 1 (ง) ส่วนเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 606,449.93 บาท เป็นเงินได้ตามข้อ 1 (ข) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว การที่โจทก์นำเงินจำนวน 1,234,280 บาท ไปแยกคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามใบแนบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2546 หนึ่งฉบับ และแยกเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 606,449.93 บาท ไปคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามใบแนบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2546 อีกหนึ่งฉบับ ย่อมไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
หากโจทก์จะเลือกเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 (5) โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ทุกรายการที่เข้าลักษณะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานในปีภาษีนั้นรวมกัน จากนั้นจึงคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (5) เมื่อปรากฏว่า ในปีภาษี 2546 เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่โจทก์ได้รับจำนวน 1,234,280 บาท เป็นเงินได้ตามข้อ 1 (ง) ส่วนเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 606,449.93 บาท เป็นเงินได้ตามข้อ 1 (ข) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว การที่โจทก์นำเงินจำนวน 1,234,280 บาท ไปแยกคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามใบแนบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2546 หนึ่งฉบับ และแยกเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 606,449.93 บาท ไปคำนวณค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีตามใบแนบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2546 อีกหนึ่งฉบับ ย่อมไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกเสียภาษีจากเงินชดเชยการเลิกจ้างและเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ไม่ใช่ผู้จ่ายรายเดียวกัน
โจทก์ได้รับเงินเพราะเหตุออกจากงาน 2 ประเภท คือ เงินชดเชยการเลิกจ้างซึ่งเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก ไม่ใช่นายจ้างของโจทก์เป็นผู้จ่าย เงินทั้งสองประเภทดังกล่าวจึงไม่ใช่ผู้จ่ายรายเดียวกันตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 2 (ข) เมื่อโจทก์ได้รับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีภาษี 2542 ซึ่งเป็นคนละปีภาษีกับที่โจทก์ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้าง โจทก์จึงชอบที่จะนำเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับในปีภาษี 2542 มาเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48 (5) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกเสียภาษีเงินได้จากเงินชดเชยการเลิกจ้างและเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จ่ายต่างปี
โจทก์ได้รับเงินเพราะเหตุลาออกจากงาน 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่งเป็นเงินชดเชยการเลิกจ้างที่นายจ้างโจทก์จ่ายให้โจทก์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ประเภทที่สองเป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้โจทก์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 ผู้จ่ายเงินจำนวนนี้เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากไม่ใช่นายจ้างของโจทก์เป็นผู้จ่าย ดังนี้เงินชดเชยการเลิกจ้างกับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพผู้ที่จ่ายเงินให้แก่โจทก์ไม่ใช่ผู้จ่ายรายเดียวกัน จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่ง ป.รัษฎากรฯ ได้เฉพาะเงินได้ที่จ่ายในปีแรกที่มีการจ่ายเงินได้เท่านั้นตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 2 (ข) ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีภาษี 2542 ซึ่งเป็นคนละปีกับที่โจทก์ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้าง โจทก์จึงชอบที่จะนำเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น. จำนวน 1,527,855 บาท ที่ได้รับในปี 2542 มาเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48 (5) แห่ง ป.รัษฎากรฯ ได้