คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 852

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 480 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกยุติลงหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในการเป็นผู้จัดการมรดก
ณ. เคยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยคำสั่งศาลมาก่อน ต่อมาผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรผู้ตายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน ณ. จากการเป็นผู้จัดการมรดกแล้วถอนฟ้อง โดยตกลงกันให้ ณ. ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป ซึ่ง ณ. ยอมแบ่งเงินจากกองมรดกของผู้ตายจำนวน 180,000 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกอื่นใดอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งทำให้การเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 852 ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีก จึงมาร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636-6637/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาถูกระงับจากการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง แม้มีข้อยกเว้น
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายที่ได้สละนั้นระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก ดังนั้น หนี้ตามเช็คจึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า การยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา ข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 แต่ข้อตกลงนั้นสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงอื่น ๆ ได้หาทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ประนีประนอมยอมความ: สิทธิหน้าที่จะยังคงมีผลบังคับใช้ แม้มีการทำสัญญาใหม่
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะต้อง โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อเมื่อ ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน แต่เมื่อห้างผู้เช่าซื้อ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด จนโจทก์มอบให้ทนายความ มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้างผู้เช่าซื้อแล้ว กลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ ต่อไป แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหาได้มีข้อความใด กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ไม่ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้น ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ ต่อมาอีกด้วย เห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมโอน กรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ห้างผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ การที่โจทก์ยอมให้ ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้างผู้เช่าซื้อเมื่อจำเลย ผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิม ยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญา เช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมดคงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอม ยอมความดังกล่าวจึงมิได้ทำให้สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ระงับไปและไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ประกอบมาตรา 852 คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้างผู้เช่าซื้อ ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้อง เอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใดจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ สมควรให้โอกาสแก่โจทก์ไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบสิทธิสัญญาเช่าซื้อเดิม ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภ. โดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ ต่อมาห้าง ภ. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้าง ภ. แล้ว ต่อมากลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้นห้าง ภ. และจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อมาอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบแล้ว โจทก์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์นั้นให้แก่ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้ห้าง ภ. และจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอนกรรมสิทธ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้าง ภ. เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญาเช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมด คงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ประกอบกับ มาตรา 852 อันจะทำให้สิทธิหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมระงับไป แต่คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ ส่วนสิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใด เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะไปฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: สิทธิในการฟ้องอาญาและข้อยกเว้นที่โมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความคดีเช็ค: ระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา แม้มีข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อคดีอาญาเช็ค - หนี้ระงับเมื่อยอมความ
โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาทในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเรียกให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุไว้ชัดว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์(โจทก์ร่วมคดีนี้)จนเสร็จสิ้นก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ตกลงกันในคดีแพ่งแก่โจทก์(โจทก์ร่วมคดีนี้)จนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: หนี้ระงับ สิทธิฟ้องอาญาเลิก
โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาทในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเรียกให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุไว้ชัดว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ตกลงกันในคดีแพ่งแก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเช็คหมดอายุเมื่อมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งแล้ว คดีอาญาจึงระงับ
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลแพ่งและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีนี้มีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามา ฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและบุตร
ช. ต้องการแบ่งทรัพย์สินแก่บุตรไว้ก่อนถึงแก่กรรม เนื่องจาก ช. เป็นคนต่างด้าวไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ จึงใส่ชื่อจำเลยบุตรคนหนึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โจทก์ภรรยาของ ช. กับ ช. ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยมีรายละเอียดระบุให้บุตรคนใดถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวห้องใดและกำหนดค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ค่ารังวัดแบ่งแยกและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้คู่สัญญาที่จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ต่อไปเป็นผู้ออกเอง เพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ผลของสัญญาทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามมาตรา 852 โจทก์จึงมาฟ้องเรียกที่ดินและตึกแถวจากจำเลยมาเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวไม่ได้
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 11 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง แต่ก็ได้ให้การไว้แล้วว่าโจทก์และ ช. ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นส่วนสัดเรียบร้อยแล้วตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
of 48