คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 852

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 480 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลผูกพันทางกฎหมาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดินให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความในบันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยบันทึกข้อตกลงและการใช้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการ แสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดิน ให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความใน บันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ. ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดย สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผล บังคับได้ ตามมาตรา 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการฟ้องหย่า: ความสมัครใจแยกกันอยู่
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจท์และจำเลยเป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรง โดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกัน และโจทก์ยอมจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนี-ประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 ย่อมทำให้ประเด็นเนื่องการหย่าซึ้งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไปตามมาตรา 852 อีกทั้งในสัญญาประนีประนอม-ยอมความก็ไม่มีข้อความใดระบุว่า จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์หรือแปลสาเหตุการทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ว่าเกิดจากโจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันด้วยเหตุที่โจทก์ได้ บ.เป็นภริยาอีกคนหนึ่งจนจำเลยประสงค์จะหย่าจากโจทก์แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้ เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้น แม้จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความแล้ว โจทก์จำเลยก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ไปอยู่กับ บ.เช่นเดิม โดยจำเลยไม่ติดใจเรื่องหย่ากับโจทก์หรือฟ้องร้อง บ.ตามที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอม-ยอมความเท่านั้น และในสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่มีข้อใดที่ระบุห้ามมิให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลยนับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะแยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องหย่า ไม่ถือเป็นความสมัครใจแยกกันอยู่ เหตุฟ้องหย่าไม่สมบูรณ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรงโดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะ ไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกัน และโจทก์ยอมจ่ายเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ย่อมทำให้ประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไปตามมาตรา 852 ในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้ เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่ โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้น แม้จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์จำเลย ก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลย นับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้ ก็ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะ แยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่ วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ ของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค การระงับสิทธิเรียกร้อง
การที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คฉบับพิพาททั้งสามฉบับต่อมา ช.ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท ผ.ได้นำเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวไปขายลดให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ แต่เมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ได้ฟ้องบริษัท ผ.และ ช.กับพวกเป็นคดีแพ่งที่ศาลแพ่งให้ชำระหนี้เงินกู้และหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน และคดีดังกล่าวคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว แม้จำเลยจะมิได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้นด้วยก็ตาม ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับระงับสิ้นไป และโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 852และถือว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อความผิดฐานออกเช็คไร้ค่า คดีอาญาจึงระงับ
การที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คฉบับพิพาททั้งสามฉบับ ต่อมา ช. ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท ผ. ได้นำเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวไปขายลดให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ แต่เมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ได้ฟ้องบริษัท ผ.และช. กับพวกเป็นคดีแพ่งที่ศาลแพ่งให้ชำระหนี้เงินกู้และหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและคดีดังกล่าวคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว แม้จำเลยจะมิได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้นด้วยก็ตาม ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับระงับสิ้นไป และโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามแผนที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 และถือว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันตามคำพิพากษา และสิทธิบังคับคดีเมื่อผิดนัด
เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุว่า กรณีที่โจทก์ผิดนัดให้เลิกสัญญาได้ ทั้งโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามจำเลยก็ไม่อาจเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์ได้เพราะเป็นกรณีนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นสาระสำคัญแห่งคำพิพากษาตามยอม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและมิได้มีการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีถึงที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นเป็นเรื่องของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยจึงมีเฉพาะสิทธิขอให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาตามยอมที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผิดนัดยินยอมให้บังคับคดีได้ทันทีโดยการยึดทรัพย์ของโจทก์มาชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายซึ่งจำเลยก็ได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีแก่โจทก์ และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไปแล้ว และเมื่อโจทก์นำเงินที่จะต้องชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความมาวางศาล โจทก์ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิกระทำได้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมให้ตนหลุดพ้นจากหนี้ตามคำพิพากษาได้ โจทก์นำเงินตามจำนวนที่คำพิพากษาตามยอมระบุไว้มาวางต่อศาลภายหลังโจทก์ผิดนัดแล้ว เป็นผลเพียงทำให้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่นำมาวางศาลนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่นำเงินตามคำพิพากษาตามยอมมาวางศาลในอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่สัญญา แม้ฝ่ายหนึ่งผิดนัด สิทธิบังคับคดีตามสัญญา
เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุว่า กรณีที่โจทก์ผิดนัดให้เลิกสัญญาได้ ทั้งโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้นโดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์ได้ เพราะเป็นกรณีนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นสาระสำคัญแห่งคำพิพากษาตามยอม
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและมิได้มีการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีถึงที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นเป็นเรื่องของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยจึงมีเฉพาะสิทธิขอให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาตามยอมที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมความอย่างชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผิดนัดยินยอมให้บังคับคดีได้ทันทีโดยการยึดทรัพย์ของโจทก์มาชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยก็ได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีแก่โจทก์ และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไปแล้ว และเมื่อโจทก์นำเงินที่จะต้องชำระตามสัญญา-ประนีประนอมยอมความมาวางศาล โจทก์ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิกระทำได้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมให้ตนหลุดพ้นจากหนี้ตามคำพิพากษาได้
โจทก์นำเงินตามจำนวนที่คำพิพากษาตามยอมระบุไว้มาวางต่อศาลภายหลังโจทก์ผิดนัดแล้ว เป็นผลเพียงทำให้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่นำมาวางศาลนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่นำเงินตามคำพิพากษาตามยอมมาวางศาลในอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครอบคลุมมูลละเมิดอื่น โจทก์ยังมีสิทธิฟ้อง
หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือร้องเรียนครอบครัวของโจทก์ทั้งสองต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นมูลละเมิดในคดีนี้แล้ว โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท และโจทก์ที่ 2 ก็ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เปิดทางระบายน้ำที่หน้าบ้านของจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดมีนบุรีในที่สุดคดีดังกล่าวได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อความข้อแรกว่าจำเลยที่ 1จะทำการดัดแปลงซีเมนต์ที่ก่อไว้หน้าบ้านจำเลยที่ 1 ให้เป็นร่องตรงท่อระบายน้ำให้พอทำความสะอาดได้และเอาเหล็กตะแกรงวางตรงร่องนั้น ข้อสอง จำเลยที่ 2 ไปถอนคำร้องเรียนโจทก์ที่ 1 ต่อกองทัพบกและขอโทษโจทก์ที่ 1 ต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ข้อสามโจทก์ที่ 1 ไปถอนคำร้องทุกข์ที่กล่าวหาจำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยตอนท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความคู่ความตกลงกันว่าจะไม่กล่าวร้ายกันอีก เห็นได้ว่าในข้อแรกเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติเพื่อระงับข้อพิพาทในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ในข้อสองเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ร้องเรียนโจทก์ที่ 1 ต่อกองทัพบก โดยฝ่ายโจทก์ก็จะถอนคำร้องทุกข์ที่ได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 หมิ่นประมาทเป็นการตอบแทนตามข้อสาม อันเป็นการยุติข้อพิพาทเฉพาะคดีอาญา โดยในสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดเลยที่ระบุว่าคู่ความจะไม่ดำเนินคดีหรือฟ้องร้องต่อกันในทางแพ่งอีก คงมีข้อความเพียงว่าคู่ความจะไม่กล่าวร้ายกันอีกเท่านั้น ซึ่งหมายความเพียงว่าจะไม่ทะเลาะด่าว่ากันอีกต่อไป ไม่รวมถึงการฟ้องร้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมาย ดังนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทในทางแพ่งอันเป็นมูลละเมิดในคดีนี้ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงยังมีสิทธิฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับปฏิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน
of 48