คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 852

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 480 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ การฟ้องรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับแล้ว
ปรากฎตามคำฟ้องว่า ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องมาก่อนวันที่โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยตามเอกสารหมาย ล.6 แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อนวันทำเอกสารหมาย ล.6 ให้ถือตามข้อความที่ตกลงกันไว้ในเอกสารฉบับดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออื่นให้แก่โจทก์จำนวน 41,072.75 บาท และโจทก์ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องประโยชน์หรือสิทธิอื่นใดจากจำเลยอีก เช่นนี้ข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.6 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ ที่มีข้อพิพาทอยู่ก่อนวันทำข้อตกลงดังกล่าวเป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ล.6 ตามมาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับไปแล้วตามกฎหมายขึ้นมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แม้แต่ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องมาก่อนวันที่โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยตามเอกสารหมาย ล.6 แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อนวันทำเอกสารหมาย ล.6 ให้ถือตามข้อความที่ตกลงกันไว้ในเอกสารฉบับดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออื่นให้แก่โจทก์จำนวน41,072.75 บาท และโจทก์ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องประโยชน์หรือสิทธิอื่นใดจากจำเลยอีก เช่นนี้ข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.6จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ ที่มีข้อพิพาทอยู่ก่อนวันวันทำข้อตกลงดังกล่าวเป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ล.6 ตามมาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับไปแล้วตามกฎหมายขึ้นมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การรับช่วงสิทธิ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สัญญาประกันภัย, และการประเมินความเสียหาย
ดวงตราที่ประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์เหมือนกับที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ต่างกันแต่เพียงขนาด เมื่อไม่ปรากฎว่ามีระเบียบข้อบังคับของกรมทะเบียนการค้าว่าดวงตราที่ประทับจะต้องมีขนาดเท่ากับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องประทับในใบแต่งทนาย ทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายใหม่มีกรรมการลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับต่อศาล และให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ดำเนินไปแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาต การยื่นฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5จึงต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การรับช่วงสิทธิ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สัญญาประนีประนอมยอมความ, และการพิสูจน์หลักฐาน
ดวงตราที่ประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์เหมือนกับที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ต่างกันแต่เพียงขนาด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับของกรมทะเบียนการค้าว่าดวงตราที่ประทับจะต้องมีขนาดเท่ากับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องประทับในใบแต่งทนาย ทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายใหม่มีกรรมการลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับต่อศาล และให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ดำเนินไปแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาต การยื่นฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 867วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620
การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าและการเลิกสัญญาเช่าเมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน ผู้เช่ามีสิทธิไม่ชำระค่าเช่าได้หากมีเหตุอันสมควร
จำเลยเช่าอาคารรวมทั้งอุปกรณ์เครื่องครัวใช้ในการประกอบธุรกิจค้าอาหารจากโจทก์ ต่อมาเจ้าของที่ดินได้ฟ้องขับไล่โจทก์ จำเลยและผู้เกี่ยวข้องออกจากที่เช่าโดยอ้างว่า ที่ดินและอาคารที่เช่าเป็นของตน จำเลยจึงได้นำค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางเพราะไม่สามารถหยั่งรู้สิทธิอันแท้จริงของเจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิรับชำระหนี้ได้ แม้ต่อมาอธิบดีกรมบังคับคดีมีคำสั่งให้คืนเงินค่าเช่าแก่จำเลย โดยมีความเห็นว่า เจ้าพนักงานไม่ควรรับการวางทรัพย์จำเลยได้รับคืนและนำไปวางต่อศาลชั้นต้นในคดีที่เจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ และคดีดังกล่าวเจ้าของที่ดินได้ถอนฟ้อง โดยมีข้อตกลงว่าเจ้าของที่ดินยอมชำระเงินชดเชยสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ผู้เกี่ยวข้องและจำเลยยอมให้ทรัพย์สินทั้งหมดในที่เช่าเป็นของเจ้าของที่ดิน ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาต่อกันข้อตกลงในการถอนฟ้องของโจทก์และจำเลยในคดีฟ้องขับไล่นั้น หากจะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในคดีนี้ด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่มีข้อตกลงอันใดระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าเจตนาให้ข้อพิพาทในคดีนี้ระงับหรือเสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องว่าจำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าสัญญาเลิกกันให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจึงต้องพิเคราะห์ว่า จำเลยผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายหรือไม่ เมื่อจำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์เพราะถูกเจ้าของที่ดินกล่าวหาว่าอยู่ที่เช่าโดยละเมิดและฟ้องขับไล่และต่อมาได้นำไปวางต่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเช่นนี้จะถือว่าเป็นการผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าอันจะเป็นเหตุให้สัญญาเช่าเลิกกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5491/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาระงับข้อพิพาทเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าระงับ แม้ไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็นในคำให้การ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้
สัญญาระงับข้อพิพาทมีข้อตกลงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการเช่าห้อง โดยจำเลยที่ 1ยินยอมขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องเช่าและโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนการขนย้ายให้แก่จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องตามสัญญาเช่าห้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นระหว่างการสืบพยานจำเลยหลังจากโจทก์ฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การแล้วเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้แม้ไม่มีการกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อคู่ความยอมรับว่าได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจริง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสัญญาเช่าดังกล่าว ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้มิได้เป็นประเด็นแห่งคดี แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทไม่ได้เป็นประเด็นแห่งคดีมาแต่ต้นจำเลยจึงไม่ต้องยื่นบัญชีระบุอ้างพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จำเลยทั้งหมดเป็นลูกหนี้ร่วมและหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดเป็นหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ระงับจำเลยอื่นย่อมได้รับประโยชน์คือหลุดพ้นจากหนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6359/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกา: ประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างขาดนัดยื่นคำให้การ จึงไม่มีประเด็นในปัญหาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1และโจทก์ทำให้หนี้ในมูลละเมิดระงับลงอันมีผลทำให้จำเลยที่ 2ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 ปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานที่ผิดกฎหมายแต่มีการตกลงประนีประนอม ทำให้ไม่อาจเลิกจ้างได้
การนัดหยุดงานของผู้คัดค้านในระหว่างที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกำลังปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมอยู่ เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 34(2) จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หลังจากที่ได้หยุดงานแล้ว สหภาพแรงงานกับผู้ร้องตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่ โดยผู้ร้องตกลงไม่กลั่นแกล้งพนักงานทุกคนที่นัดหยุดงาน อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือได้ว่าผู้ร้องจะไม่เอาเหตุที่ผู้คัดค้านได้นัดหยุดงานนั้นเป็นเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้าน ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขัดแย้งกับสัญญาประนีประนอมยอมความ การยึดทรัพย์โดยมิชอบ
ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่าที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดมาใน คดี นี้เป็นของผู้ร้อง ต่อมาโจทก์และผู้ร้องทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความและศาลพิพากษาตามยอมให้ผู้ร้องชำระเงิน แก่ โจทก์ หาก ผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดียึดที่ดินดังกล่าว และทรัพย์อื่น ๆ ของผู้ร้องโจทก์และผู้ร้องได้ลงชื่อในสัญญา ประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลจึงเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ เมื่อ ผู้ร้องผิดสัญญาโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ยึดทรัพย์ดังที่ตกลงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความมาบังคับคดีได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอและศาลได้ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งศาล ที่ยึดไว้ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการบังคับคดีตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ถือได้ว่าเป็นการยึดและขายทอดตลาด ทรัพย์โดยมิได้ออกหมายบังคับคดีจึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งเมื่อสารบัญจดทะเบียนไม่ได้ระบุ
โจทก์และจำเลยทั้งหกทำบันทึกข้อตกลงขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4แบ่งแยกที่ดินออกไป และโจทก์ยอมรับส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกโดยยอมรับว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 เช่นนี้ การรังวัดแบ่งแยกที่ดินย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่เหลือ เมื่อสารบัญจดทะเบียนมิได้ระบุเนื้อที่ดินส่วนของโจทก์ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องสันนิษฐานว่าโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 มีส่วนคนละเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357.
of 48